Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

3 ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกฟิสิกส์ เข้าร่วมรับพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2256

23/07/2557

2261

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ขอแสดงความยินดีกับผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 3 ท่าน ที่เข้าร่วมรับพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2256 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2557 ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

1) ดร. อนุชิต ฮันเย็ก
ประวัติการศึกษา : วทบ. (ศึกษาศาสตร์ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, วทม. (พอลิเมอร์ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, ปรด. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ศึกษาระหว่างปี 2552-2556)
คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : รศ.ดร. ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล, ผศ.ดร. พิมผกา ฮาร์ดิง และ ผศ.ดร.พงศกร จันทรัตน์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
ทุนผู้ช่วยวิจัย-ผู้ช่วยสอน : ศูนย์วิจัยร่วมเฉพาะทางด้านส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ มหาวิทยาลัยขอนแก่น-ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 510,400 บาท (2552-2553) งบประมาณแผ่นดิน 320,000 บาท (2554) ผู้ช่วยสอนสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ (2555-2556)
หัวข้อวิทยานิพนธ์ : Mechanical and Electromagnetic Properties of Cobalt-Ferrite Polymer Composites เป็นการสังเคราะห์และศึกษาสมบัติของวัสดุประกอบระหว่างแม่เหล็กโคบอลต์เฟอร์ไรต์และพอลิเมอร์สามชนิด วิทยานิพนธ์ได้สะท้อนถึง คุณลักษณะที่โดดเด่นของนักทดลองที่มีวินัยและดำเนินการอย่างเป็นระบบ จนสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องเครื่องมือและอุปกรณ์ ประสานผลงานจากห้องปฎิบัติการใน 7 สถาบัน ได้เป็นผลสำเร็จ
7 ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติตามฐานข้อมูล ISI: Bulletin of Materials Science (2010 อินเดีย), Journal of Ceramic Society of Japan (2011 ญี่ปุ่น), Polymers Plastics Technology and Engineering (2011 สหราชอาณาจักร), Advanced Composites Letters (2011 สหราชอาณาจักร), Materials Science Poland (2012 โปแลนด์), Plastics Rubbers and Composites: Macromolecular Engineering (2013 สหราชอาณาจักร) และ Materiali in Tehnologijie (2013 สโลเวเนีย)
สถานที่ทำงานปัจจุบัน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล

2) ดร. ฉัตร ผลนาค
ประวัติการศึกษา : วทบ. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยศิลปากร, วทม. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ปรด. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ศึกษาระหว่างปี 2553-2556)
คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : รศ.ดร. ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล, ผศ.ดร. สรศักดิ์ ด่านวรพงศ์ และ รศ.ดร. เดวิด เจมส์ ฮาร์ดิง
ทุนผู้ช่วยวิจัย ทุนเพิ่มขีดความสามารถนักวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 240,000 บาท (2553-2554) ทุนเพิ่มขีดความสามารถนักวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 240,000 บาท (2555-2556)
หัวข้อวิทยานิพนธ์ : Fabrication of Octahedral and Sword-Like ZnO by Home-Made Sonoreactors เป็นการศึกษาสมบัติและของซิงค์ออกไซด์ที่สังเคราะห์โดยใช้คลื่นอัลตราซาวด์ร่วมในปฏิกิริยาเคมี วิทยานิพนธ์ได้สะท้อนถึงคุณลักษณะที่โดดเด่นของนักทดลองที่มีความละเอียดรอบคอบ ใส่ใจในทุกรายละเอียด จดบันทึกข้อมูลและข้อสังเกตทุกอย่างโดยถี่ถ้วน จึงสามารถนำมาใช้อภิปรายผล ตอบคำถามจากกรรมการสอบและผู้ประเมินบทความ ได้อย่างชัดเจน
7 ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติตามฐานข้อมูล ISI: Science and Engineering of Composites Materials (2010 อิสราเอล), Journal of Physics and Chemistry of Solids (2011 เนเธอร์แลนด์), Journal of the Ceramics Society of Japan (2012 ญี่ปุ่น), Journal of Optoelectronics and Advanced Materials (2012 โรมาเนีย) Ferroelectrics (2013 สหราชอาณาจักร), Journal of Materials Science: Materials in Electronics (2013 เยอรมนี) และ Materials Research (2014 บราซิล)
สถานที่ทำงานปัจจุบัน: มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

3) ดร. คมกริช โชคพระสมบัติ
ประวัติการศึกษา : วทบ. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, กศม. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปรด. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ศึกษาระหว่างปี 2553 ถึง 2556)
คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : ผศ.ดร. พิมผกา ฮาร์ดิง, รศ.ดร. ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล และ รศ.ดร. รัตติกร ยิ้มนิรัญ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)
ทุนการศึกษา : ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอกจากศูนย์วิจัยร่วมเฉพาะทางด้านส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ มหาวิทยาลัยขอนแก่น-ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 1,300,000 บาท (2553-2556)
หัวข้อวิทยานิพนธ์ : Synthesis and Self-Assembly of Iron-Platinum Nanoparticles เป็นการศึกษาสมบัติอนุภาคแม่เหล็กนาโนเหล็กพลาตินัม และนำไปจัดเรียงบนผิวรอยต่อของของเหลวและอากาศ วิทยานิพนธ์ได้สะท้อนถึงคุณลักษณะที่โดดเด่นของนักอ่านนักทฤษฎีที่จดจ่อกับประเด็นวิจัย จนสามารถนำความรู้จากการอ่านและสืบค้นมาออกแบบการทดลองที่ผสานทั้งทักษะของนักเคมีและนักฟิสิกส์ ได้อย่างลงตัว
7 ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติตามฐานข้อมูล ISI: Journal of Nanomaterials (2012 สหรัฐอเมริกา), Materiali in Tehnologijie (2012 สโลเวเนีย), Indian Journal of Engineering & Materials Sciences (2012 อินเดีย), Revista Mexicana de Física (2013 เม็กซิโก), Nanoscience and Nanotechnology Letters (2013 สหรัฐอเมริกา), Surface Science (2014 เนเธอร์แลนด์) และ Journal of Nanoparticle Research (2014 เยอรมนี)
สถานที่ทำงานปัจจุบัน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่ศาลายา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 มีผู้สำเร็จการศึกษารวมแล้ว 6 คน ลาออกโดยไม่จบการศึกษา 3 คน และอยู่ระหว่างการศึกษา 5 คน สำหรับผู้จบการศึกษาใช้เวลาศึกษาเฉลี่ยประมาณ 4 ปี มีจำนวนบทความตีพิมพ์ในวารสาร ISI เฉลี่ยประมาณ 5 บทความต่อคน โดยการตีพิมพ์ที่มีค่า ISI impact factor สูงสุดคือ 2.50 ใน Journal of Instrumentation โดย ดร. พันธุ์ศักดิ์ เกิดทองมี และ ผศ.ดร. หมุดตอเล็บ หนิสอ อาจารย์ที่ปรึกษา

ขณะนี้ หลักสูตรรับผู้จบการศึกษาปริญญาโท สาขาฟิสิกส์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เข้าศึกษาต่อในภาค 3/2557 (เดือนเมษายน 2558) โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับทุนและหัวข้อวิจัยได้จากประธานหลักสูตร ผศ.ดร. สรศักดิ์ ด่านวรพงศ์ (dsorasak@gmail.com)