Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

รศ. ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี บรรยายพิเศษเรื่อง ระบบเซนเซอร์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและโบราณสถาน

08/07/2558

2070

รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ บรรยายพิเศษเรื่อง ระบบเซนเซอร์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและโบราณสถาน ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 7 ภายใต้แนวคิด Research for Digital Economy เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2558 ณ ห้องประชุม อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี ได้บอกเล่าถึง Digital economy ที่ล้าสมัย เช่น archive, CD ROM และ Prints ซึ่งเป็น Digital Media based ที่ไม่ interactive โดยยกตัวอย่าง Steve Job ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายเรื่อง ที่ว่าเราไม่ได้เป็น user เพียงอย่างเดียว แต่สามารถทำเองได้ด้วย และความสำเร็จของ facebook ที่ใช้ได้ง่าย เนื่องจากมี device หลากหลายในการใช้งาน

การเกิดของ Web 2.0 ซึ่งเป็นคำเรียกของเวิลด์ไวด์เว็บในปัจจุบัน มีผลกระทบในหลายๆ อย่าง ทำให้กลุ่มผู้ใช้งานสามารถปฏิสัมพันธ์และร่วมมือกันในลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์ โดยกลุ่มผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างเนื้อหาขึ้นเอง เช่น เกิด social network, smart devices, smart sensors และ medical implication โดย Web 2.0 เป็นการเชื่อมโยงบริการ ทำให้เกิดบริการใหม่ๆ เช่น facebook ที่สำคัญคือ เป็นบริการที่ทำให้เกิดรายได้

จากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณะเดช ได้บอกเล่าถึง งานของศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ ที่ได้ดำเนินการในปัจจุบัน เช่น ทำ sensor network เพื่อใช้กับทะเลไทย โดยนำเซนเซอร์สำหรับตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบอัตโนมัติไปติดตั้งที่แนวปะการังใต้ทะเล โดยส่งข้อมูลตามสายเคเบิ้ลและส่งข้อมูลต่อเข้าระบบ cloud server ประมวลผลแล้วส่งต่อไปยัง social media การทำ e-science โดยนำข้อมูลต่างๆ ไปใส่ไว้ (เรื่องเกี่ยวกับยุง การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ฯลฯ) Soundscape Technology ซึ่งเป็นการติดตั้งอุปกรณ์บันทึกเสียงในป่าประ ข้อมูลเสียงที่บันทึกอัตโนมัติ 24 ชั่วโมงนี้สามารถบ่งบอกเกี่ยวกับฤดูกาลได้ การทำ digital magazine การทำ smart farming มีการติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศและตรวจวัดความชื้นในดินแบบอัตโนมัติ ส่งข้อมูลแบบ near-realtime ข้อมูลที่วัดได้ ทำให้เกษตรกรสามารถนำมาใช้ประมวลผลเพื่อจัดการฟาร์มแบบใช้ความรู้ เป็นการประหยัดต้นทุนในการรดน้ำในแปลงเกษตร ลดโอกาสในการเกิดเชื้อโรคจากราและแมลง และได้ผลผลิตที่รสชาติดีคุณภาพสูงผลผลิตดกออกสู่ท้องตลาด ได้ดำเนินการทำ Smart farming ในพืชหลากหลายชนิด เช่น ป่าจาก ส้มโอทับทิมสยาม ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ข้าวโพดและกาแฟ รวมทั้งทำ application warning system สำหรับฟาร์มหอยนางรมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และระบบ sensor เพื่อศึกษาในการศึกษา climate change, tsunami และ storm surge

ในตอนท้าย รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณะเดช ยังได้บอกเล่าถึงภารกิจที่ดำเนินการของศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฟื้นฟูระบบนิเวศต่างๆ เช่น การฟื้นฟูแนวปะการังรอบเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะเฮ จังหวัดภูเก็ต และ หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ระบบลากูนที่บริเวณหาดป่าตอง เป็นต้น และกำลังจะดำเนินการระบบนิเวศบริการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดภูเก็ต พังงาและกระบี่ อีกด้วย

สมพร อิสรไกรศีล ข่าว
นันทพร ขันธศุภหิรัญ ภาพ