Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

ผู้บริหารม.วลัยลักษณ์ได้รับเชิญเป็น Invited Speaker ในงาน World Diabetes Congress 2015

อัพเดท : 30/12/2558

2711

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลา ตันตโยทัย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ อดีตคณบดีสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ ได้รับเชิญเป็น Invited Speaker ใน Symposium เรื่อง Successful IDF Translational Research worldwide : strategies and tools to improve diabetes prevention and care และเข้าประชุม Meeting on reversal to normal glucose during prevention studies ใน World Diabetes Congress 2015 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน –4 ธันวาคม 2558 mี่ผ่านมา ณ Vancouver Convention Centre เมือง Vancouver ประเทศแคนาดา

การประชุม World Diabetes Congress เป็นการประชุมวิชาการด้านสุขภาพระดับนานาชาติขนาดใหญ่ที่จัดขึ้นทุก 2 ปี โดย International Diabetes Federation (IDF) ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยนักวิชาการ นักปฏิบัติในสาขาวิชาชีพต่างๆ ผู้ที่ทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) อาสาสมัคร ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาและการป้องกันโรคเบาหวาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลา ตันตโยทัย กล่าวว่า การได้รับเชิญในครั้งนี้เนื่องจากได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานเครือข่ายจัดการความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานหรือเครือข่ายเบาหวานที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และเป็น Principal Investigator ของโครงการวิจัยเรื่อง Community-based Diabetes Prevention Program in Thai Population ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ BRIDGES ของ International Diabetes Federation (IDF) เป็นระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และมูลนิธิเพื่อพัฒนาการบริบาลผู้ป่วยเบาหวาน เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งเมื่อส่ง Finalreport ไปยัง IDF BRIDGESได้รับคำชื่นชมว่าผลงานมีความน่าสนใจ ควรที่จะให้ประเทศอื่นได้เรียนรู้ด้วย

โครงการวิจัยเรื่อง Community-based Diabetes Prevention Program in Thai Population เป็นTranslational research ที่ใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management, KM) ในการสร้างโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเบาหวานคือผู้ที่มีภาวะ impaired glucose tolerance (IGT)และใช้แนวคิด Participatory learning ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเสี่ยงดำเนินการ ณ พื้นที่ 8 จังหวัด ใน 4 ภาคของประเทศที่มีแกนนำของเครือข่ายเบาหวานทำงานอยู่คือ นครราชสีมา นครพนม พิษณุโลก แพร่ นครนายก สมุทรสาคร นครศรีธรรมราช และ ตรัง

การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการคัดกรองประชาชนด้วยการทำ 75g OGTT จำนวนมากถึง 11,449 คน ซึ่งพบว่ามีความผิดปกติ 5,232 คน (45.7%) โดยเป็นผู้ที่มี impaired fasting glucose (IFG) 1,409 คน (12.3%) impaired glucose tolerance (IGT) 1,372 คน (12.0%) มีทั้ง IFG และ IGT 1,009 คน (8.8%) และเป็นเบาหวาน 1,442 คน (12.6%)มีผู้ที่เป็น IGT และ IFG+IGT สมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวน 1,926 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 883 คน และกลุ่มทดลอง 1,043 คน ขณะนี้ทีมวิจัยในจังหวัดต่างๆ กำลังทยอยปิดโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด ผลงานวิจัยชิ้นแรกของโครงการได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Diabetes Research ซึ่งมี Impact factor = 2.164 สามารถอ่านและ download เอกสารได้ที่ http://www.hindawi.com/journals/jdr/2015/396505/