Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

ม.วลัยลักษณ์ จัด “นาฏยคีตาอาเซียน” สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน นักวิชาการจาก 5 ประเทศเข้าร่วม

อัพเดท : 09/09/2559

4824

 

 

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ร่วมกับศูนย์ศึกษาภาษา วัฒนธรรม และสังคมอาเซียน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ และส่วนวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดสัมมนา “นาฏยคีตาอาเซียน : การเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และพลังสร้างสรรค์” เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการในระดับนานาชาติ ด้านศิลปะและวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนให้มีความเข้มแข็ง โดยมีนักวิชาการพร้อมชุดการแสดงจากประเทศเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และประเทศไทยเข้าร่วม ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี

 


โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานเปิดงานพร้อมกล่าวนำสู่การสัมมนาฯ รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ ผู้อำนวยการอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ กล่าวรายงานการสัมมนา โดยมี Mr. TriyogoJatmiko กงสุลใหญ่อินโดนีเซียประจำจังหวัดสงขลา ให้เกียรติบรรยายพิเศษ

ศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตระหนักถึงความสำคัญในบทบาททางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมิติทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมไปเชื่อมโยงกับประเด็นการพัฒนาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดพลังในการนำความรู้และภูมิปัญญาด้านศิลปะและวัฒนธรรมไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาสังคมในระดับต่าง ๆ ซึ่งการจัดสัมมนาวิชาการนานาชาติ สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน“นาฏยคีตาอาเซียน : การเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และพลังสร้างสรรค์” ในครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยมีความตั้งใจให้เกิดพลังการขับเคลื่อนทางสังคมโดยใช้มิติทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมเป็นพลังในการสร้างสรรค์ และประสานความเข้าใจในการดำรงอยู่ร่วมกันของคนในสังคม ซึ่งในอนาคตทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะดำรงอยู่และปรับตัวให้เข้ากับยุคไร้พรมแดน และการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)ได้เป็นอย่างดี

 

 

รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ กล่าวว่า มิติทางวัฒนธรรมจะมีส่วนสำคัญในการสร้างความเป็นหนึ่งและความเข้มแข็งให้แก่ประคมอาเซียน อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์จึงคิดโครงการที่จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องอาทิโครงการ “สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน” โดยหวังว่าโครงการดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยสามารถแสดงบทบาททางวิชาการที่จะก่อให้เกิดการบูรณาการทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะมีส่วนสำคัญต่อเป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียนดังกล่าว และจะมีการจัดสัมมนาในมิติทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศในประชาคมอาเซียนเป็นระยะ ในปีนี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในหัวข้อ “นาฏยคีตาอาเซียน : การเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และพลังสร้างสรรค์” โดยมีการตอบรับจากประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนร่วมส่งนักวิชาการและชุดการแสดงในการจัดสัมมนาครั้งนี้รวม 5 ประเทศ คือ ประเทศเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีในความร่วมมือทางวิชาการในระดับนานาชาติของกลุ่มประเทศอาเซียนด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น


สำหรับการสัมมนาดังกล่าวยังมี การเสวนาหัวข้อ “ไทยนาฏยคีตาอาเซียน” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ชวน เพชรแก้ว ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์อาจารย์พิทยา บุษรารัตน์ ม.ทักษิณ อาจารย์วาที ทรัพย์สิน ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช นายบัญชร วิเชียรศรี นักจัดรายการและเจ้าของรายการสารคดี สถานีวิทยุกระจายเสียง ม.สงขลานครินทร์ ดำเนินรายการเสวนาโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ

การเสวนา “จตุรนาฏยคีตาอาเซียน” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย 1. Mr.ImranSyafiq Bin MohdAffandi Lecturer, Faculty of Dance AkademiSeniBudayadanWarisan&Kebangsaan, Malaysia 2. Ms.Phạm Thu Hiền Department of International Cooperation and Training - Haiphong University, Vietnam 3. Suparmi, M.Pd. PusatPengembangan Bahasa, Universitas Islam NegeriMaulanaMalik Ibrahim Malang, Indonesia 4. Nyan Lin aung, Myamar Myanmar Traditional Dancer and Puppet Group ดำเนินรายการเสวนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ชยานุวัชร

นอกจากนี้ในช่วงกลางคืนของวันดังกล่าวยังมี กิจกรรมศิลปะการแสดงสาธิต “นาฏยคีตาอาเซียน” โดยมีการแสดงจำนวน 9 ชุดการแสดง ประกอบด้วย

1.  “ASEAN: The Lands of Color” / Colours of ASEAN Cultures
Performance by students from the ASEAN Studies Program, School of Liberal Arts, Walailak University 
2. Performance of Thailand, “Nadhaya Puja Pratat” – an artistic dance in worship of the Buddha Relics or
Pratat  by College of Dramatic Arts, Nakhon Si Thammarat
3. Performance of Indonesia tari Bedayam Malangan”
4. Performance of Malaysia “Tapestry of Malaysia”
5. Performance of Vietnam1 Lotus  Presenter: To Lan & Dieu Linh
6. Performance of Myanmar 1 San Daw Chain”
7. Performance of Thailand, Silpacheep Performance showing Local Art Crafts, Lifestyle, and Local Wisdom in ​Nakhon Si Thammarat by Walailak University 
8. Performance of Thailand, “Kaek Daeng Kiew Yayi”
a dance showing courtship of men in Kaek Daeng clan by College of Dramatic Arts, Nakhon Si Thammarat
9. Performance of Vietnam2 Câytrúcxinh Presenter: To Lan
10. Performance of Myanmar 2 “Male solo dance”
11 Performance of Thailand, “Manora Jamnai”
12. Performance of Thailand, “Manora Sattha” – a contemporary Manora dance of Songkla city, Thailand
13. Performance of Vietnam 3 Performance 3:  Meo Traditional dance 
14. Performance of Myanmar 3 “ U shao yoe daw comedic dance”

 

ข่าวโดยนายธีรพงศ์ หนูปลอดส่วนประชาสัมพันธ์
ภาพโดยส่วนประชาสัมพันธ์และศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา