Research News

อาจารย์สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ในพื้นที่ลุ่มน้ำกลาย



เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562 สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิสาขะ อนันธวัช ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ฝ่ายบริหารโครงการและกิจกรรมพิเศษ โดยมี นางสาวพุทธพร ชุมแก้ว ธราพรสกุลวงศ์ และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง นำโดย อาจารย์ ดร.ธิดารัตน์ จุทอง (เทคโนโลยีชีวภาพ) และ อาจารย์ ดร.ปริศนา วงศ์ล้อม (เทคโนโลยีชีวภาพ พืช) ร่วมลงพื้นที่เพื่อสำรวจความต้องการของชุมชนในพื้นที่รายล้อมมหาวิทยาลัย แก่เกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ในพื้นที่ลุ่มน้ำกลาย ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน พื้นที่ย่านนี้เคยเป็นแหล่งผลิตโกโก้สำคัญของนครศรีธรรมราช ระยะเวลาผ่านไปโกโก้มีราคาตกต่ำ เกษตรกรส่วนใหญ่ตัดสินใจโค่นโกโก้ทิ้งหันไปปลูกพืชอย่างอื่นที่มีราคาขายดีกว่า เช่น ยางพารา มังคุด ทุเรียน ทำให้การผลิตโกโก้สดของลุ่มน้ำกลาย ลดน้อยลงไป จนกระทั้งเมื่อ 5 ปีที่ผ่านไป จากต้นโกโก้ที่มีพื้นที่ปลูกอยู่แบบแซมพืชสวนอื่นกลายเป็นผลผลิตที่มีราคาดีขึ้น และไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดที่กำลังขยายตัว โกโก้จึงถูกให้ความสนใจอีกครั้ง เนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมเป็นพืชทดแทนยางพารา

จากนโยบายที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกโกโก้ นั้น ซึ่งจากเดิมในอดีตนั้นโกโก้ ลุ่มน้ำกลาย เป็นพืชยืนต้นที่ปลูกกันมากและมีบริษัทมารับซื้อ จนกระทั่งรัฐบาลไม่ได้ส่งเสริม บางส่วนถูกปลูกทิ้ง เลี้ยงปล่อยตามสวนของเกษตกร บางก็ถูกโค่นทิ้งเหลืออยู่ไม่มาก ในระยะนี้มีผู้สนใจปลูกโกโก้เพิ่มมากขึ้น เพราะมีราคาดีขึ้นมาก และมีจุดรับซื้อสำคัญหลายจุดในประเทศไทย เช่น เชียงใหม่ ลำปาง เกาะสมุย ทุ่งสง รัฐบาลจึงกลับมาสนใจอีกครั้ง ปัจจุบันราคาในขณะนี้ผลสดต่อ 1 ผลมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกกรัม ราคากิโลกรัมละ 25 บาท เมล็ดแห้งราคากิโลละกรัมละ ประมาณ 250 - 300 บาท โกโก้ปลูกง่าย ให้มีผลผลิตแทบทั้งปีจะมีผลชุกช่วงหน้าฝน เก็บเกี่ยวได้ทั้งปี

การลงพื้นที่ดังกล่าว ในการการสำรวจความต้องการ ระดมความคิดเห็น บริการให้คำปรึกษา และจัดทำแผนบริการวิชาการร่วมกับชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัย ครั้งนี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ ในการเพิ่มคุณภาพผลผลิตสินค้าเกษตร ช่วยพัฒนาเกษตรกรให้เพาะปลูกโกโก้แบบยั่งยืน ประหยัดต้นทุน ผลผลิตคุณภาพ ได้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม เชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต มุ่งสร้างภาพสังคมรายรอบมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบ โดยอยู่บนการผลิตแบบยั่งยืน

กิจกรรมในวันนี้ ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ลงพื้นที่ทำข่าวประชาสัมพันธ์ และร่วมให้การต้อนรับคณะจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์กรมหาชน) หรือ สสปน.ซึ่ง คณะฯ เดินทางมาเยี่ยมชมในพื้นที่ ประกอบไปด้วย สมาคมธุรกิจภายในประเทศ(สทน.)สมาพันธ์สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(TFOPTA) ผู้แทนท่องเที่ยวและกีฬา นักข่าว สื่อมวลชน ตลอดจนสมาคมอื่นๆ ที่เล็งเห็นศักยภาพและความโดนเด่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่สามารถรองรับงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การประชุมวิชาชีพ และการแสดงสินค้าที่จะเข้ามาในประเทศ

ทั้งนี้ สสปน.ได้จัดโปรแกรม " 7 MICE Maganificent Themes Journey" ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม 2562 ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา เพื่อเป็นอุตสาหกรรมไมซ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่ง สวนโกโก้ลุ่มน้ำกลาย และ Rose cocoa Garden ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา เป็นหนึ่งในเส้นทางการท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดทั้งบ้านแหลมโฮมสเตย์ อำเภอท่าศาลา สิชลคาบาน่า และสวนส้มโอทับทิมสยาม อำเภอปากพนัง สามารถสร้างถในการแข่งขัน สร้างรายได้ให้กับพื้นที่และชุมชนตามนโยบายของรัฐบาล ต่อไป


More details : http://cas.wu.ac.th/
TOP