Research News

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มวล. อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (๕ องค์ประกอบ) รุ่นที่ ๑/๒๕๖๓



ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มวล. อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (5 องค์ประกอบ) รุ่นที่ 1/2563 ระหว่างวันที่ 21-24 มกราคม พ.ศ.2563 ณ ห้อง 203 อาคารวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ศราวุธ ปาลิโภชน์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม โดยมี อาจารย์สุธีระ ทองขาว ผู้อำนวยการอุทยานพฤกษศาสตร์ กล่าวรายงานความเป็นมาในการจัดฝึกอบรมครั้งนี้



มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้จัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานทรัพยากรท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ครั้งที่ 6ในปี พ.ศ.2563 ภายใต้การสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 สิงหาคม พ.ศ.2563 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2563 นี้



วันที่ 22 มกราคม 2563 ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนา ประธานอนุกรรมการฯ ฝ่ายประสานงานฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานทรัพยากรท้องถิ่นระดับภูมิภาค ครั้งที่ 6 ในปี พ.ศ.2563 ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนตามโครงการพระราชดำริฯ” ให้กับผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้เข้าร่วมอบรมฯ ในครั้งนี้

การฝึกอบรมฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงาน ตามนโยบาย ทิศทาง และเป้าหมาย ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โดยมีรายละเอียดของการดำเนินงาน คือ องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ องค์ประกอบ ที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆองค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้ และ องค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา สำหรับการจัดฝึกครั้งนี้ ได้จัดกระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยการบรรยายทำความเข้าใจในแนวคิด แนวทาง วิธีการการดำเนินงาน ปฏิบัติการภาคสนาม และการนำเสนอ โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้น 4 วัน มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษา เขต 3 และเขต 4 ผู้อำนวยการโรงเรียน ตลอดจนครู และบุคลากร รวมจำนวนทั้งสิ้น 94 คน จาก 58 โรงเรียน และจาก 11 จังหวัดในภาคใต้ (กระบี่ ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา ระนอง สุราษฏร์ธานี ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส)









ประมวลภาพ

TOP