Location

0 7567 3000

ข่าวทั่วไป

ระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน ในพื้นที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

อัพเดท : 03/03/2560

1635



จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งพบอัตราการป่วย 115 รายต่อ100,000 ประชากร (โดยมาตรฐานไม่ควรมีอัตราป่วยเกิน 50 รายต่อ 100,000 ประชากร) โดยเฉพาะช่วง เดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 มีนักศึกษาป่วยอย่างต่อเนื่องจำนวน 9 ราย สอดคล้องกับผลการประเมินความเสี่ยงของแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงเมื่อเดือนธันวาคม 2559 พบว่า มีค่าร้อยละของภาชนะที่มีลูกน้ำยุง (Container index: CI) มีค่ามากกว่าค่ามาตรฐานดัชนีลูกน้ำยุงลายในสถานศึกษา (มาตรฐาน CI= 0) โดยลูกน้ำมากที่สุดในกระถางปลูกไม้ประดับ

ดังนั้นคณะทำงานแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยตัวแทนจากหน่วยวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลัษณ์ ส่วนกิจการนักศึกษา ศูนย์คอมพิวเตอร์ งานบริการกลาง งานภูมิทัศน์ และพลักงานทำความสะอาด โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการวิจัยจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2560 เรื่อง “การพัฒนาและการประยุกต์ใช้รูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์”

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2560 ได้มีการประชุมเพื่อติดตั้งระบบเฝ้าระวังฯ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นพนักงานทำความสะอาดและพนักงานส่วนภูมิทัศน์ รวมจำนวน 100 คน เพื่อติดตั้งระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย 1. แบ่งพื้นที่และอาคารของมหาวิทยาลัยเพื่อสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ ออกเป็น 6 โซน ได้แก่ 1) โซนพื้นที่หอพักนักศึกษา 2) โซนที่พักบุคลากร 3) โซนอาคารเรียน 4) โซนศูนย์เครื่องมือ 5) โซนอาคารวิชาการ และ 6) โซนอาคารสนามกีฬาและศูนย์การแพทย์ 2. กำหนดพนักงานทำความสะอาดรับผิดชอบในแต่ละอาคาร พร้อมการทำความเข้าใจและอบรมให้ความรู้ 3. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ทุกวันจันทร์ โดยใช้สมุดบันทึก 4. นำเสนอข้อมูลค่าดัชนีลูกน้ำยุงภาพรวมของพื้นที่ทั้งมหาวิทยาลัยโดยโปรแกรม http://WU-dengue.wu.ac.th/index.php ในวันที่ 30 ของเดือน

นอกจากนี้จะมีการดำเนินการกิจกรรมอื่นๆ เช่น การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยกับศูนการแพทย์ การจัดการสิ่งแวดล้อมในหอพักนักศึกษาร่วมกับส่วนกิจการนักศึกษา และ งานหอพัก การบูรณาการกับการเรียนการสอนในช่วงการเปิดภาคการศึกษา และการสื่อสารช้อมูล ผลการดำเนินการ และอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกโดยช่องทางต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกแก่ประชาคมมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์