Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

สาขาวิชาศึกษาทั่วไปจัดประชุมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

อัพเดท : 09/06/2560

1601



เมื่อเร็วๆ นี้ สาขาวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ได้จัดการประชุมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป “มุมมองและประสบการที่ณ์การทำหลักสูตรศึกษาทั่วไป ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยตรศาสตร์” โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การวางรากฐานวิชาศึกษาทั่วไปเพื่อเข้าใจความเป็นพลเมืองโลก” และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปกป้อง จันวิทย์ ในหัวข้อ“ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : TU 101 “โลก อาเซียน และไทย” โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการประเทศ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของรายวิชาศึกษาทั่วไปที่ทางมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญและมีการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง โดยในอนาคตจะจัดให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเล็ก และนำระบบผู้ช่วยสอน (TA) มาหนุนเสริมกระบวนการเรียนการสอนร่วมกับอาจารย์ผู้สอน

สำหรับเนื้อหาได้นำเสนอจากวิทยากรทั้งสองท่านนั้น มีความสอดคล้องในแง่หลักปรัชญาและการออกแบบกระบวนการเรียนการสอนที่เอื้อให้นักศึกษาเข้าใจในแง่มุมของความเป็นพลเมืองโลกที่กำลังเป็นแนวโน้มสำคัญของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในสังคมปัจจุบันนี้ โดยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ได้ชี้ให้เห็นแง่มุมเชิงปรัชญาของการมีมุมมองของการเป็นพลเมืองโลกที่ไม่ใช่เพียงการยอมรับความแตกต่างหลากหลายของผู้คนเท่านั้น แต่จะต้องเข้าใจมิติความเป็นมนุษย์ของคนในโลกที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งนี่จะเป็นด้านสุดท้ายของมนุษยศาสตร์ที่ยังมีความสำคัญในอนาคต

ส่วนผู้ช่วยศาสตราจารย์ปกป้อง ได้เล่าประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาศึกษาทั่วไป TU 101 “โลก อาเซียน และไทย สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ต้องสอนห้องใหญ่ ซึ่งมีนักเรียนกว่า 1,000 คน โดยใช้ระบบผู้ช่วยสอนเข้าหนุนเสริมกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การติวหลังชั้นเรียนในห้องย่อย และการตรวจงาน โดยกระบวนการสอนเน้นกระตุ้นและฝึกให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ประเด็นปัญหาร่วมสมัยต่างๆ ในสังคม ในการบรรยายมีการใช้สื่อที่หลากหลายและนำปรากฏการณ์ทางสังคมมาเป็นตัวอย่างในชั้นเรียน โดยมีวิธีนำเสนอผ่านสื่อการสอนรูปแบบต่างๆ และที่สำคัญคือมีการเชิญผู้มีประสบการณ์และมีความรู้ความเชี่ยวชาญจากภายนอกมาบรรยายพิเศษ และพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักศึกษาในชั้นเรียน เพื่อเพิ่มการเปิดกว้างทางมุมมองของนักศึกษาผ่านประสบการณ์ของผู้ที่เป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงในสังคม

ในงานนี้มีคณจารย์ผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดูแลด้านวิชาการและการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปมาร่วมรับฟัง มีการตั้งคำถามถึงความเกี่ยวข้องของรายวิชานี้กับมิติงานด้านการแพทย์และสาธารรณสุข ซึ่งเป็นการทิ้งประเด็นให้คณาจารย์ในสาขาวิชาศึกษาทั่วไปได้คิดต่อไปว่า จะมีรูปแบบการเรียนการสอนและเนื้อหาอย่างไรให้ตอบโจทย์ในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้ตรงประเด็นและเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาทุกกลุ่มสาขาอาชีพ

นอกจากนั้น ในช่วงก่อนเริ่มต้นประชุมวิชการในช่วงบ่ายมีการแสดงรหัสนัยทางวัฒนธรรมในนาฏลีลาบาหลี ชื่อการแสดง “Gabor” โดยอาจารย์กณิศ ศรีเปารยะ อาจารย์สาขามรดกทางวัฒนธรรม Faculty of Creative, Technology and Heritage, Universiti Malaysia Kelantan และนักศึกษาปริญญาเอก สาขาเอเชียศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งการแสดงชุดนี้ได้สื่อให้เห็นการบวงสรวงบูชาเทพเจ้า ที่มีท่วงท่าสื่อถึงความสมดุล หรือ Rwa-Bhineda ตามโลกทัศน์ของชาวบาหลี มีการเคลื่อนไหวที่แสดงถึงทิศ Kaja (มุ่งหน้าสู่ภูเขา) และ Kelod (มุ่งหน้าสู่มหาสมุทร) ซึ่งเป็นตำแหน่งแห่งที่ที่กหนดกิจวัตรและวิถีชีวิตของชาวบาหลี การนำการแสดงนี้เข้าร่วมนำเสนอในงานประชุม เพื่อชี้ให้เห็นความหลากหลายของวัฒนธรรมที่ไม่เพียงปรากฏในพื้นที่สังคมเท่านั้น แต่พื้นที่การแสดงก็สามารถนำไปสู่ความเข้าใจในมิติดังกล่าวได้ด้วย

ประมวลภาพ