Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ต้อนรับปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมประชุมหารือการจัดการขยะชุมชนและขยะติดเชื้อ

12/10/2560

1185



ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศาสตราจารย์ ดร. ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้การต้อนรับ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในโอกาสเข้ารับพระราชทานปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ประจำปีการศึกษา 2559 เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 5 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และร่วมประชุมหารือการดำเนินการจัดการขยะชุมชนและของเสียอันตรายจากชุมชน ในพื้นที่มหาวิทยาลัย โดยมี นายไพรวัลย์ เกิดทองมี ผู้จัดการ โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย ขยะอันตรายและขยะทั่วไป นำเสนอการดำเนินงานด้านการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยแก่ที่ประชุม ณ ห้องประชุมโมคลาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ดำเนินการจัดการของเสียแบบครบวงจร โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากยุทธศาสตร์จังหวัด ในการดำเนินโครงการโรงเผาขยะติดเชื้อ พร้อมให้บริการชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงและรองรับการจัดการของเสียจากโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ในอนาคต ซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีโครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของมหาวิทาลัย โดยได้จัดสรรพื้นที่กว่า 9,500 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่การศึกษา 4,400 ไร่และใช้ประโยชน์อื่นๆ ทั้งฟาร์มมหาวิทยาลัย การจัดการด้านภูมิทัศน์ พลังงานและของเสีย ทั้งขยะและน้ำ การจัดการน้ำใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมแก่นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งตั้งเป้าหมายไว้ในอนาคต ให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็น 1 ใน 3 มหาวิทยาลัยของประเทศในเรื่องการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่สามารถแข่งขันกับทั่วโลกได้

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีขยะประมาณ 2 ตัน/วัน ที่นำไปจัดการที่โรงเผาขยะซึ่งมีกำลังการกำจัดขยะประมาณ 10 ตัน ฉะนั้นนอกจากการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยแล้ว คาดว่าจะสามารถขยายไปให้การดูแลชุมชนใกล้เคียงและนำผลงานการกำจัดขณะของนักวิจัยไปพัฒนาต่อยอดให้เป็นต้นแบบของการกำจัดขยะที่ถูกต้องตามหลักการวิชาการ เพื่อการใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดทั้งต่อมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯและชุมชนต่อไป ศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ กล่าว

ประมวลภาพ

ข่าว/ภาพ ชลธิชา ปานแก้ว ส่วนสื่อสารองค์กร