Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

“กาญจนดิษฐ์โมเดล” โมเดลการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกเชิงระบบในอำเภอขนาดใหญ่ ของจังหวัดสุราษฏร์ธานี

27/11/2560

1809



“กาญจนดิษฐ์โมเดล” โมเดลการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกเชิงระบบในอำเภอขนาดใหญ่ จาก 117 หมู่บ้าน ของ 13 ตำบล อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ในโครงการ “การพัฒนาระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน กรณีอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏฐ์ธานี ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว

รองศาสตราจารย์ ดร.จรวย สุวรรณบำรุง ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก กล่าวว่า โครงการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนฯ ได้รับความร่วมมือจาก 1) เครือข่ายสุขภาพอำเภอกาณจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี นำโดยนายอำเภอกาญจนดิษฐ์ สาธารณสุขอำเภอกาญจนดิษฐ์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ ผู้นำท้องที่ (อบต. อบท.) ผู้นำท้องถิ่น ( กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ) อสม. และประชาชน 2) เครือข่ายสุขภาพอำเภอทั้ง 19 อำเภอในจังหวัดสุราษฏร์ธานี 3) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฏร์ธานี จังหวัดสุราษฏร์ธานี และ 4) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนการจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม ภายใต้โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2560 ซึ่งเป็นครั้งแรกของการบริหารจัดการของการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในอำเภอที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ด้านสาธารณสุขอำเภอกาญจนดิษฐ์ นายเชิด ทองสุก กล่าวว่า อำเภอกาญจนดิษฐ์มีปัญหาไข้เลือดออกมาตลอด จึงต้องการแก้ปัญหาด้วยวิธีการใหม่และพิสูจน์การเป็นต้นแบบของอำเภอที่มีขนาดใหญ่ว่าสามารถดำเนินการเชิงระบบในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกได้ หากทุกคนทุกฝ่ายมี 5 จ. คือ ใส่ใจ ตั้งใจ พร้อมใจ จริงใจ และร่วมใจ

กิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ ประกอบด้วย 1) ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนของอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ความพร้อมของศูนย์เฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายระดับตำบลและอำเภอ จัดโปรแกรมคำนวณดัชนีลูกน้ำ (Laval Indices Model) อำเภอกาญจนดิษฐ์ จำนวน 18 ศูนย์ 3) การติดตั้งระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลาย (Larval indices Surveillance system) ทุกหมู่บ้านถึงระดับอำเภอ 4) การประเมินผลและติดตามการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังดัชนีลูกยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนกรณีอำเภอกาญจนดิษฐ์ 5) การประเมินและการกระตุ้นการสร้างสมรรถนะชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน(Community capacity building for sustainable dengue problem solution) มีการสร้างสมรรถนะฯ ระดับตำบล 6) การพัฒนางานประจำเป็นงานวิจัยเชิงพื้นที่ ตัวแทนโซนๆ ละ 1 รพ.สต. (Best Practice) ใช้แนวคิดของการพัฒนางานประจำที่เป็นงานป้องกันโรคไข้เลือดออกให้เป็นงานวิจัยเชิงพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงกับชุมชน โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการ 15 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ถึงเดือนธันวาคม 2561

กลุ่มเป้าหมายที่ดำเนินการ ได้แก่ 1) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 2,340 คน 2) ภาคีเครือข่ายอำเภอกาญจนดิษฐ์ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกาญจนดิษฐ์ โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และแกนนำชุมชน จำนวน 172 คน 3) จำนวนครัวเรือน 40,746 ครัวเรือน

“ เบื้องต้นในการดำเนินการ ได้มีการเปิดโครงการและติดตั้งระบบทุกหมู่บ้าน ที่รับผิดชอบของแต่ละ รพ.สต. ทั้ง 17 รพ.สต. และ 1 ศูนย์สุขภาพชุมชน เกิดการตื่นตัวของพื้นที่และพี่น้อง อสม. มีการเตรียมความพร้อม การพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้และดัชนีลูกน้ำยุงลายของ อสม. รวมทั้งมีการติดตั้งระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายทั้ง อำเภอ โดยกำหนดให้วันที่ 25 ของทุกเดือน เป็นวันสำคัญในสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ของอำเภอกาญจนดิษฐ์ โดยทุกคน ใส่ใจ ตั้งใจ พร้อมใจ จริงใจ และร่วมใจ เริ่ม D-Day ครั้งแรก ในวันที่ 25 ธันวาคม 2560” รองศาสตราจารย์ ดร.จรวย สุวรรณบำรุง กล่าว

ประมวลภาพ