Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ม.วลัยลักษณ์ ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนปฏิบัติการสู่ ‘พังงาแห่งความสุข’

อัพเดท : 21/03/2561

953



เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ ในฐานะผู้ประสานงานสถาบันการศึกษาเพื่อให้ความช่วยเหลือทางวิชาการสนับสนุนการปฏิบัติการสู่ ‘พังงาแห่งความสุข’ ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนปฏิบัติการสู่ ‘พังงาแห่งความสุข’ ณ กระทะทอง กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา อ.เมือง จ.พังงา โดยมี นางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รศ.ร.อ. ชูวิทย์ สุจฉายา รองอธิการบดีฝ่ายบริการสังคม สถาบันอาศรมศิลป์ ดร.สมนึก จงมีวศิน อาจารย์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร นายสมเกียรติ รัตนรังษิวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดพังงา และ นายสุทธิโชค ทองชุมนุม หอการค้าจังหวัดพังงา ร่วมลงนาม

อนึ่ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ประสานความร่วมกับสถาบันการศึกษาประกอบด้วย สถาบันอาศรมศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อร่วมสนับสนุนการปฏิบัติการสู่ ‘พังงาแห่งความสุข’ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) ซึ่งสนับสนุนการขับเคลื่อนงานในพื้นที่โดยใช้หลักการสำคัญคือ การใช้พื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา (Area-Based Development-ABD) และ คำนึงถึงสุขภาพในทุกนโยบายของชุมชนท้องถิ่น (Health in All Policies-HiAP) กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงานในภาพรวมของจังหวัด อันนำไปสู่การจัดการสุขภาวะเฉพาะประเด็นระดับเครือข่ายและจังหวัด และได้สนับสนุนผ่านโครงการขับเคลื่อนแนวคิดก้าวสู่พังงาแห่งสุขภาวะ ด้วย “พังงาแห่งความสุข” ที่มีหอการค้าจังหวัดพังงา เป็นผู้รับผิดชอบ

เพื่อให้ปฏิบัติการที่ตั้งไว้บรรลุตามเป้าหมาย ด้วยตระหนักว่าการดำเนินการตามยุทธศาสตร์นั้นหากดำเนินการโดยลำพังจากภาคเอกชนและประชาสังคมอาจทำให้การดำเนินการไม่สมบูรณ์พร้อม ทั้งนี้เพราะปฏิบัติการจำเป็นต้องอาศัยความรู้จากฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงได้วิเคราะห์ร่วมกันกับหอการค้าจังหวัดพังงาและภาคีว่างานวิจัยที่จะเกิดขึ้นควรเป็นงานวิจัยที่ดำเนินการควบคู่ไปกับการปฏิบัติการ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งฝ่ายวิชาการก็จะได้เรียนรู้จากปฏิบัติการของจังหวัดพังงา กลายเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน