Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

Update of Melioidosis diagnosis in Southern Thailand

อัพเดท : 28/03/2561

2216

ศูนย์ความเป็นเลิศการวิจัยโรคเมลิออยโดสิส (Center of excellence research for Melioidosis; CERM) ร่วมกับหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ University of Florida, University of California Los Angeles และ University of Oxford จัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยโรคเมลิออยโดสิส และวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ในช่วง 7 มีนาคม 2561 ถึง 9 มีนาคม 2561 ดังนี้

1. วันที่ 7 มีนาคม 2561
หารือและประชุมร่วมนักวิจัยเมลิออยโดสิส โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ Prof. Dr. David A.B Dance สังกัด University of Oxford, Assist. Dr.Todd French สังกัด University of California Los Angeles และ Assist Dr.Apichai Taunyok สังกัด University of Florida ประชุมร่วมกับ รักษาการคณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ รศ.ดร.จิตรบรรจง ตั้งปอง หัวหน้าสาขาเทคนิคการแพทย์ รศ.ดร.สหพัฒน์ บรัศรักษ์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศการวิจยโรคเมลิออยโดสิส (CERM) ผศ.ดร.วิยดา กวานเหียน นักวิจัยของ CERM เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าและความเป็นมาของโครงการวิจัย และหารืองานวิจัยที่จะทำร่วมกันต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนางานวิจัยโรคเมลิออยโดสิส โดยมีความเห็นร่วมกันว่า โรคเมลิออยโดสิสซึ่งเป็นโรคของทั้งคนและสัตว์ มีอัตราการตายสูงมีสาเหตุจากแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ที่พบได้ในสิ่งแวดล้อมและพื้นที่ประเทศไทยเป็นพื้นที่ระบาด อย่างไรก็ตามข้อมูลการพบเชื้อในสิ่งแวดล้อม และในผู้ป่วยในภาคใต้ของประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลที่ขาดหายไปเนื่องจากถูกละเลย CERM ที่เป็นศูนย์วิจัยในพื้นมีหน้าที่ในการศึกษารวบรวมข้อมูลทั้งจากสิ่งแวดล้อม คน และสัตว์ ต้องทำการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงระบาดวิทยาดังกล่าวให้มากขึ้น และต้องพัฒนาการวิจัยร่วมกัน เพื่อหาวิธีการวินิจฉัยโรคให้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องผลักดันนโยบายให้ลงสู่ภาคปฏิบัติเพื่อให้การรายงานสอบสวนโรคเมลิออยโดสิสมีข้อมูลที่ถูกต้อง และควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเครือข่ายวิจัยมีข้อตกลงร่วมกันในการจะประชุมเครือข่ายการวิจัยนี้อย่างต่อเนื่อง

2. วันที่ 8 มีนาคม 2561
ประชุมวิชาการเครือข่ายการวิจัยโรคเมลิออยโดสิส เรื่อง “update of Melioidosis in Southern Thailand” มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญคือ Assist Dr.Apichai Taunyok สังกัด University of Florida ร่วมกับคณะนักวิจัยจาก คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 11 สำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 12 รวมทั้งตัวแทนของที่เป็นสถาบันร่วมวิจัย โรงพยาบาลตรัง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต โรงพยาบาลสุราษฎรธานี โรพงยาบาลทุ่งสง เป็นต้น โดยศูนย์ความเป็นเลิศการวิจัยโรคเมลิออยโดสิสได้มีการวิจัยร่วมโดยใช้โรงพยาบาลและ สคร. เป็นแหล่งตัวอย่างเชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วย และข้อมูลโรค ที่สามารถนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง

3. วันที่ 9 มีนาคม 2561
อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Workshop on Bioinformatics for Microbiologist” วิทยากรผู้เชี่ยวชาญคือ Assist Dr.Apichai Taunyok สังกัด University of Florida และมีผู้ร่วมการอบรมคือ Assist. Dr.Todd French สังกัด University of Florida และคณะนักวิจัยจาก คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยทักษิณ รวมทั้งนักศึกษาบัณฑิตศึกษาของทั้ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ ความรู้ที่ได้สามารถนำไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน และการวิจัยโดยเฉพาะการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์

โรคเมลิออยโดสิส (Melioidosis) เป็นโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Burkhol deria pseudomallei ที่มีแหล่งโรคอยู่ในสิ่งแวดล้อมคือ ดินและน้ำ สามารถเกิดโรคได้ในคนและสัตว์ ผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคเป็นเกษตรกรที่ต้องสัมผัสกับดินและน้ำโดยตรง อย่างไรก็ตาม คนที่มีอาชีพนั้นๆ ก็มีรายงานว่า มีการติดโรค โดยติดจากสิ่งแวดล้อม และโดยอุบัติเหตุ โรคเมลิออยโดสิสมีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 50 เป็นโรคที่ถูกระบุว่า ประเทศไทย ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางเหนือของออสเตรเลีย เป็นแหล่งระบาดของโรค ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ทำให้การวิจัยโรคนี้ได้รับการใส่ใจ และสนใจจากประเทศทั่วโลก ทั้งอเมริกา ยุโรป และ ตะวันออกกลาง เนื่องจากเป็นโรคที่มีความเสี่ยงในการนำไปเป็นอาวุธชีวภาพ และการติดโรคของประชาชนในประเทศเหล่านั้นสามารถเกิดจากการท่องเที่ยว ทำงานในประเทศแหล่งระบาด และเชื้อสามารถหลบอยู่ในเซลล์ของร่างกาย แมคโครฟาจน์ของร่างกาย และก่อโรคได้ในที่สุด นอกจากนี้การที่โรคนี้ก่อโรคได้ในคนและสัตว์ จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเนื่องจากปัจจุบันให้ความสำคัญของ One Health คือสุขภาพคนและสัตว์เป็นหนึ่งเดียว โรคที่เกิดในคนและสัตว์ต้องได้รับการดูแลและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพได้