Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

การประชุมวิชาการระดับชาติ “ศิลปศาสตร์วิจัยวลัยลักษณ์” ครั้งที่ 3

อัพเดท : 05/04/2561

1583



เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ได้จัดประชุมวิชาการระดับชาติ “ศิลปศาสตร์วิจัยวลัยลักษณ์” ครั้งที่ 3 ขึ้น ซึ่งการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพการวิจัยของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยมีเป้าหมายให้นักศึกษาได้พัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำวิจัยมากขึ้น และให้สามารถพัฒนาผลงานวิจัยของนักศึกษาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่หรือนำเสนอในเวทีวิชาการต่างๆ ได้ด้วย ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ได้มีนักศึกษาจากมหาวิทยาทักษิณ และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เข้าร่วมนำเสนอบทความวิจัยด้วย

การประชุมในครั้งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.บุญยงค์ เกศเทศ ปาฐกถาเรื่อง “นักศึกษากับการสร้างงานวิจัยในยุคไทยแลนด์ 4.0” และได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต คณบดีสำนักวิชาศิลปศาสตร์ กล่าวเปิดการประชุม

การประชุมได้แบ่งกลุ่มนำเสนอออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มภาษา วรรณกรรม และการศึกษา กลุ่มประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และชุมชนท้องถิ่น และกลุ่มการท่องเที่ยว สื่อ และวัฒนธรรมสมัยนิยม รวมบทความที่เข้าร่วมนำเสนอทั้งหมด 31 บทความ และสำนักวิชาศิลปศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่ได้รับรางวัล ดังต่อไปนี้

กลุ่มที่ 1 กลุ่มภาษา วรรณกรรม และการศึกษา

รางวัลบทความยอดเยี่ยม ได้แก่
An Analysis of Pronoun ‘I’ in Thai Translated Version of ‘Thepajao Hang Sing Lek Lek (2007)’
โดย นางสาวพรวรินท์ พาหนะ และนางสาวเวธกา พูลนิล จากหลักสูตรภาษาอังกฤษ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

รางวัลบทความดีเด่น ได้แก่
การใช้ภาษาพาดหัวข่าวในเว็บไซต์ www.sanook.com
โดย นางสาววรวรรณ ทิพย์อุดมลักษณ์ จากสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

รางวัลนำเสนอยอดเยี่ยม ได้แก่
The Changing of Contemporary Yaoi in Character
โดย นางสาวพิมายรัตน์ หวานนวล จากหลักสูตรภาษาอังกฤษ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

รางวัลนำเสนอดีเด่น ได้แก่
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบการใช้หนังสือแบบเรียน Pop-up เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านคำศัพท์ภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โดย นางสาวธัญพัฒน์ ขาวทุ่ง และอาจารย์ถิรายุ อินทร์แปลง จากสาขาวิชาการสอนภาษาจีน สำนักวิชาจีนวิทยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

กลุ่มที่ 2 กลุ่มประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และชุมชนท้องถิ่น

รางวัลบทความยอดเยี่ยม ได้แก่
เสื้อคอกระเช้าบ้านหนองฟ้าเลื่อน ฝีจักรขับเคลื่อนแห่งยุคทุนนิยม
โดย นางสาวอรัญญา ภูมิสาขา จากหลักสูตรไทยศึกษาบูรณาการ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

รางวัลบทความดีเด่น ได้แก่
จะทิ้งหม้อแล้วหรือสทิงหม้อ: สถานภาพช่างปั้นหม้อในช่วงทศวรรษ 2510 – ปัจจุบัน
โดย นางสาวรัชนีกร สุวรรณโณ จากหลักสูตรประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

รางวัลนำเสนอยอดเยี่ยม ได้แก่
การเดินทางของควัน: วัฒนธรรมความเป็นชายและนัยยะทางเศรษฐกิจของบุหรี่ในอินโดนีเซียร่วมสมัย
โดย นายชาศร เถาว์สุวรรณ และนายอภินันท์ ชุมนวล จากหลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

รางวัลนำเสนอดีเด่น ได้แก่
การล่ม-สลายของตลาดผีหีบ จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดย นายศักดา ไชยภาณุรักษ์ และ นายชยกร ชูพันธ์ จากสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

กลุ่มที่ 3 กลุ่มการท่องเที่ยว สื่อ และวัฒนธรรมสมัยนิยม

รางวัลบทความยอดเยี่ยม ได้แก่
หมูย่างเมืองตรัง วิถีการบริโภคสู่การท่องเที่ยว
โดย นางสาวนิสาลักษณ์ ยิ้วประพันธ์ และ นางสาวสุธินี อินทศิลา จากหลักสูตรไทยศึกษาบูรณาการ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

รางวัลบทความดีเด่น ได้แก่
ความงามของหญิงไทย: ศึกษาผ่านคอลัมน์นิตยสารฉลาดซื้อ พ.ศ. 2540-2560
โดย นางสาวโชตินภา นำมะม่วง จากหลักสูตรประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

รางวัลนำเสนอยอดเยี่ยม ได้แก่
ภาพพจน์ที่ปรากฏในบทเพลงที่ขับร้องโดยบ่าววี อาร์สยาม
โดย นางสาวอาภาภรณ์ ปลอดปล้อง จากสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

รางวัลนำเสนอดีเด่น ได้แก่
การใช้ภาษาพาดหัวบทโฆษณาในนิตยสารเที่ยวรอบโลก
โดย นางสาวพรพรรณ ลีลาพันธ์ จากสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต