Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

สุราษฎร์โมเดล: โมเดลแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกเชิงบูรณาการพื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ด้วย คพชอ.

อัพเดท : 19/04/2561

3707

โดยเครือข่าย

- เครือข่ายสุขภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเครือข่ายสุขภาพอำเภอทั้ง 19 อำเภอจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ “การจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม”ภายใต้โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2560


ความสำคัญและที่มาของปัญหา

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำท้องถิ่นของประเทศต่างๆ มากกว่า 100 ประเทศในแถบ แอฟริกา อเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แปซิฟิกตะวันตก ประมาณ 2,500 ล้านคน อยู่ในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และแสดงอาการและอาการแสดงของติดเชื้อปีละ 50-100 ล้านคน ทุก 100,000 คนที่ป่วยจะมีป่วยตาย 20,000 คน (WHO, 2009, 2012a, 2012b; ศุขธิดา อุบล และ จันทพงษ์ วสี., 2549)  สำหรับประเทศไทย สถานการณ์โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศมามากกว่า 50 ปี โดยพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2501 และมีการระบาดครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2540 และหลายๆ ครั้งในช่วงเวลาต่อมา

ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกที่ทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากไม่มียาที่รักษาเฉพาะ มีเพียงการรักษาตามอาการ ขณะที่วัคซีนในการป้องกันกำลังอยู่ในระยะการพัฒนา (Deen, 2004) และการกำจัดยุงลายตัวแก่ด้วยสารเคมีที่ขาดประสิทธิภาพ (Chua, Chua, Chue, & Chue, 2005; Ponlawat, Scott, & Harrington, 2005)  ตลอดถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้นซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการวงจรชีวิตของยุงที่เจริญเติบโตจากไข่เป็นยุงตัวแก่สั้นลง (Chareonviyaphap, Akratanakul, Nettanomsak, & Huntamai, 2003; Gubler, 2011) ปัจจัยทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ เช่น วิถีชีวิต ความหนาแน่นของประชากร รายได้ และพฤติกรรมของคนในชุมชนจะมีผลต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก (Gubler, 2011; J. Spiegel et al., 2005; J. M. Spiegel et al., 2007)  การป้องกันและควบคุมเรื่องโรคไข้เลือดออกจะเชื่อมโยงกับโยงใยสาเหตุของโรคไข้เลือดออก (Web of causation for dengue) ของคน สิ่งแวดล้อม ยุงลายและเชื้อโรค ตลอดถึงประเด็นทางสังคมเศรษฐกิจตามบริบทของชุมชนมีผลต่อวิทยาการระบาดของโรคไข้เลือดออก (Eco-bio-social) (Arunachalam et al., 2010; Guha-Sapir & Schimmer, 2005; J. M. Spiegel et al., 2007)  

การแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนจำเป็นอย่างยิ่งในเข้าใจโยงใยสาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก ทั้งในระดับส่วนกลางและชุมชนในพื้นที่ การแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกไว้จึงเน้นต้องป้องกันและการควบคุมอย่างทันที่เมื่อพบการติดเชื้อในชุมชนเพื่อลดการระบาดของโรค องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำโครงการควบคุมพาหะแบบบูรณาการ โดยมีองค์ประกอบ 5 อย่าง ได้แก่ 1) ต้องมีการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ระบบบริการสุขภาพและชุมชนมีความเข้มแข็ง 2) มีความร่วมมือระหว่างองค์กรสุขภาพและภาคส่วนอื่นๆ 3) ส่งเสริมให้มีการควบคุมโรคอย่างบูรณาการโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4) มีการตัดสินใจโดยอิงหลักฐานเพื่อให้มีการออกมาตรการที่เหมาะสม และ 5) มีการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์การระบาดในแต่ละที่อยู่เสมอ (WHO, 1999, 2012b)  โดยความยั่งยืนเป็นสิ่งที่สำคัญในการจัดการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนและจำเป็นที่จะต้องพัฒนาสมรรถนะ (Capacity) ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน (J. Spiegel et al., 2005)

ระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายจึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญร่วมกับกิจกรรมอื่นๆ ในการสร้างสมรรถนะชุมชนในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก ระบบจะบูรณาการเข้ากับการจัดการดัชนีลูกน้ำยุงลายที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ สามารถดำเนินการในพื้นที่ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ  ดังต้นแบบของการดำเนินการในอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ระบบเฝ้าระวังจะมีสมุดในการบันทึกผลการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายของ อสม. ประจำบ้าน  สมุดรวบรวมข้อมูลของหัวหน้ากลุ่มบ้าน และสมุดรวบรวมของประธานหมู่บ้าน จัดระบบการส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลของ รพ.สต. ก่อนวันที่ 30 ของทุกเดือน เพื่อลงข้อมูลผลการสำรวจในโปรแกรม http://lim.wu.ac.th  ซึ่งสามารถดำเนินการลงข้อมูลในเวลารวดเร็วประมาณ 1 นาทีต่อ 1 หมู่บ้าน ข้อมูลที่ได้จะนำเสนรายงานจำแนกเป็นรายหมู่บ้าน รพ.สต. ตำบล และภาพรวมของอำเภอ  ทั้งนี้ชุมชนสามารถนำไปเป็นฐานคิดหรือวางมาตรการในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกของแต่ละพื้นที่ (จรวย  สุวรรณบำรุง, ธิดารัตน์  เอกศิรินิมิตร, จันทร์จุรีย์ ถือทอง, สุภาพร ทองจันทร์, & และ สุทธิ ทองขาว, 2557; จรวย  สุวรรณบำรุง et al., 2558) ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่ลดลงเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการป้องกันโรค และสามารถดำเนินการได้ง่ายในพื้นที่ และสามารถใช้ค่าดัชนีในการประมาณความชุกของยุงลายตัวเมียในพื้นที่ต่อ 1 ตารางกิโลเมตรที่สะท้อนความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้ดัชนีลูกน้ำยุงลาย (Aedes Aegypti Larval indices) ที่นิยมใช้จะเป็นตัวชี้วัดที่แสดงผลลัพธ์และความเสี่ยงของปัญหาโรคไข้เลือดออก ประกอบด้วย ค่าบีไอ = BI (Breteau Index) คือ ร้อยละของภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายต่อบ้าน 100 หลังคาเรือน ค่าเอชไอ = HI (House Index)  คือ ค่าร้อยละของบ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย ค่าซีไอ = CI (Container Index) คือ ร้อยละของภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย(Whiteford, 1997)

สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาโรคไข้เลือดออกของจังหวัดสุราษฏร์ธานีซึ่งมีอีก 18 อำเภอที่มีปัญหาโรคไข้เลือดออกที่มีธรรมชาติการระบาดของโรคปีเว้นปี ทั้งนี้ นายแพทย์ขจรศักดิ์ แก้วจรัส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ในฐานะผู้ดูแลสุขภาพภาพรวมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ได้เล็งเห็นความสำคัญและทำข้อตกลงให้ความร่วมมือ สนับสนุนการถ่ายทอดฯ 


วัตถุประสงค์
1. การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากการดำเนินการของ “ไชยาโมเดล” โมเดลการสร้างเครือข่ายระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนแก่ แกนนำอำเภออื่นๆ อีก 18 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
2. สนับสนุนและส่งเสริมการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่นำร่อง 3 อำเภอซึ่งมีบริบทแตกต่างกันของอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอเวียงสระ และอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3. สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการขยายผลการดำเนินการระดับจังหวัดสุราษฎร์ธานีต่อการดำเนินการของเครือข่ายไปยังจังหวัดอื่นๆ ในพื้นที่ภาคใต้

ขอบเขตของโครงการ/การดำเนินงานและกลุ่มเป้าหมาย

1.ขอบเขตของการดำเนินงาน
ดำเนินการถ่ายทอดฯ ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวม 18 อำเภอ ทั้งนี้มี อำเภอไชยาเป็นต้นแบบของการพัฒนาเครือข่ายระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำที่มีแกนนำของของการดำเนินการจากโรงพยาบาลไชยา ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอไชยา เข้าร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำแนกการถ่ายทอดฯ เพื่อครอบคลุมเนื้อหาและพื้นที่ คือ

1) ถ่ายทอดฯ แนวคิดการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน นำเสนอภาพรวมแก่ตัวแทนระดับ สสอ. และ  เทศบาล และ  อบต. ของอำเภอต่างๆ ของจังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยดำเนินการประชุมในภาพรวมของแต่ละอำเภอ  มีแกนนำ 60 คนต่อโซน
2) แนวคิดการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน และการพัฒนาระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายในระดับตำบล และโปรแกรมผู้ถ่ายทอดฯ ซึ่งเป็นทีมวิจัยและตัวแทนจากอำเภอลานสกาและอำเภอไชยา ดำเนินการถ่ายทอดในระดับอำเภอ และตำบลโดยมีตัวแทนที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องไข้เลือดออกของอำเภอนำร่อง 3 อำเภอ คือ อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอเวียงสระ และอำเภอเกาะพะงัน
3) การติดตั้งระบบเฝ้าระวังของอำเภอนำร่อง จะดำเนินการในทุก รพ.สต. และเทศบาล  โดยมี รพช. ไชยา เป็นศูนย์กลางเฝ้าระวังในระดับอำเภอ  และสนับสนุนในการติดตามและปรับปรุงระบบ

2. กลุ่มเป้าหมายที่ดำเนินการ
กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการมุ่งเน้นบุคลากรแกนนำหน่วยงานและผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล รพ./รพ.สต. แบ่งเป็น 4 กลุ่มเป้าหมาย ประมาณ 3,380 คน คือ

กลุ่มที่ 1 กลุ่มวิทยากรพื้นที่ของการดำเนินการจากอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่สนใจจำนวน 10 คนซึ่งเป็นโมเดลต้นแบบที่เป็นตัวแทนจาก 4 กลุ่มคน  จะได้รับการพัฒนาทักษะในการดำเนินการในการถ่ายทอดฯ และการประสานพื้นที่อำเภออื่นๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่มแกนนำระดับจังหวัด เป็นตัวแทนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบเกี่ยวกับการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก จาก รพช.  สสอ. เทศบาล และ รพ.สต. ของทั้งจังหวัด กำหนดจากอำเภอต่างๆใน จำนวน  80 คน ได้รับการชี้แจงแนวคิดทั้ง 7 กิจกรรมของระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลาย  ที่มีการใช้โปรแกรม http://limsurat.wu.ac.th  กิจกรรมการให้ความรู้และความเข้าใจดัชนีลูกน้ำยุงลาย การประเมินความหมู่บ้านเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้กลุ่มแกนนำดังกล่าวจะนำความรู้ที่ได้ไปดำเนินการในพื้นที่ของแต่ละอำเภอ 
กลุ่มที่ 3 กลุ่มแกนนำระดับอำเภอ  เป็นแกนนำตัวแทนของหน่วยงานระดับตำบล และหมู่บ้าน ของแต่ละอำเภอ แก่ ตัวแทน รพ.สต. อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวม 18 อำเภอ รวมประมาณ 1,000 คน
กลุ่มที่ 4  กลุ่มแกนนำของอำเภอนำร่อง  เป็นอำเภอที่มีความพร้อมในการดำเนินการตามอำเภอต้นแบบของ “ไชยาโมเดล” จำนวน 3 อำเภอจะมีการดำเนินในการติดตั้งระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำ  การสนับสนุนการดำเนินการจากทีมวิจัยและอำเภอไชยาในการเป็นพี่เลี้ยง และจะมีการติดตามในเดือนที่ 3 และ 6 โดยการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้ของ อสม. และประเมินสิ่งแวดล้อมของครัวเรือน รวม 3,600 คน

ผลการดำเนินการ
ผลการดำเนินการในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ได้ดำเนินการถ่ายทอดฯ แก่แกนนำสุขภาพได้แก่ นายอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ แพทย์ พยาบาล นักวิชาการ แกนนำท้องที่ แกนนำท้องถิ่นตัวแทนจากเทศบาล และประชาชน จาก 19 อำเภอในจังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยรวมจำนวน 1,000 คน และมีการดำเนินการนำร่องในใช้รูปแบบที่ได้รับการถ่ายทอดฯ โดยพัฒนาระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกครอบคลุมทั้งอำเภอ คือ อำเภอกาญจนดิษฐ์ “กาญจนดิษฐ์โมเดล” และอำเภอเวียงสระ “เวียงสระโมเดล”  โดยดำเนินการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Surat Dengue  (https://limsurat.wu.ac.th) เพื่อคำนวนดัชนีลูกน้ำยุงลายและประเมินหมู่บ้านเพื่อทำนายหมู่บ้านเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก ตลอดถึงการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ “เกาะพะงันโมเดล” และการดำเนินการอย่างต่อเนื่องของอำเภอไชยา “ไชยาโมเดล”

ตารางที่ 1 ผลการดำเนินการในการถ่ายทอดฯ ระดับจังหวัด อำเภอ และอำเภอนำร่อง

ลำดับ

โซนพื้นที่

อำเภอ                 

วันที่ดำเนินการ

หมายเหตุ

1

เหนือ

อำเภอท่าชนะ         

11 มกราคม 61

 

2

เหนือ

อำเภอท่าฉาง         

14 ธันวาคม 60

 

3

เหนือ

อำเภอพุนพิน         

14 ธันวามคม 60

 

4

เหนือ

อำเภอไชยา           

14 และ 18 มกราคม 60

 

5

ตะวันออก

อำเภอเมือง           

12 มกราคม 61

 

6

ตะวันออก

อำเภอเกาะสมุย      

8 กุมภาพันธ์ 61

 

7

ตะวันออก

อำเภอเกาะพงัน      

19 กุมภาพันธ์ 61

กำลังเตรียมความพร้อม

8

ตะวันออก

อำเภอดอนสัก

28 ธันวาคม 60

 

9

ตะวันออก

อำเภอกาญจนดิษฐ์   

7 พฤศจิกายน 60

นำร่องครอบคลุมพื้นที่

10

ตะวันตก

อำเภอตาขุน           

18 มกราคม 61

 

11

ตะวันตก

อำเภอเคียนซา        

28 ธันวาคม 60

 

12

ตะวันตก

อำเภอวิภาวดี          

26 มกราคม 61

 

13

ตะวันตก

อำเภอพนม             

18 มกราคม 61

 

14

ตะวันตก

อำเภอคีรีรัฐ           

25 มกราคม 61

 

15

ใต้

อำเภอชัยบุรี           

15 ธันวาคม 60

 

16

ใต้

อำเภอพระแสง        

22 ธันวาคม 60

 

17

ใต้

อำเภอบ้านนาสาร    

21 ธันวาคม 60

 

18

ใต้

อำเภอบ้านนาเดิม    

22 กุมภาพันธ์ 61

 

19

ใต้

อำเภอเวียงสระ       

22 ธันวาคม 60

นำร่องครอบคลุมพื้นที่

รวม

4 โซน

18 อำเภอ

 

 

        

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินการแก้ปัญหาของอำเภอนำร่อง ไข้เลือดออกโดยใช้ระบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายของ 19 อำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงขอเชิญท่านเป็นประธานร่วม  และอนุมัติตัวแทนบุคลากรในหน่วยงานกำกับเข้าร่วมประชุม ได้แก่  สาธารณสุขอำเภอ นักวิชาการหรือจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานไข้เลือดออกของอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิและองค์รวมหรือเวชปฏิบัติครอบครัวที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และเจ้าหน้าที่ด้านข้อมูลสถิติของโรงพยาบาล รวมอำเภอละ 4 คน เข้าร่วมประชุมห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 13.00-15.30 น. ดังกำหนดการประชุม  “แลกเปลี่ยนเรียนรู้แก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกโดยใช้ระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายของ 19 อำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี”

 

สถานที่ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 13.00-15.30 น. 

กำหนดการ

กิจกรรม

โดย

12.30-13.00 น.

-ลงทะเบียน
รับเอกสารการ โครงการประชุม 
หนังสือ ไชยาโมเดลฯ

-สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี
-ศูนย์ความเป็นด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

13.00-13.20 น

-กล่าวรายงาน

-นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฏร์ธานี

13.20-13.40 น.

-กล่าวเปิดการประชุม “แลกเปลี่ยนเรียนรู้...”
-ถ่ายภาพร่วมกัน

-ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

13.40-14.20 น.

-นำเสนอผลการดำเนินการ แก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกโดยใช้ระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลาย  19 อำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

-รองศาสตราจารย์ ดร. จรวย  สุวรรณบำรุง
และคณะ

14.20-15.00 น.

-ความก้าวหน้าของการดำเนินการ “กาญจนดิษฐ์โมเดล” และ “เวียงสระโมเดล”
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกโดยใช้ระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายทั้งอำเภอ

-วิทยากรตัวแทนอำเภอกาญจนดิษฐ์ และอำเภอเวียงสระ
-สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี
-ศูนย์ความเป็นด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

15.00-15.30 น.

-สรุปผลการดำเนินการ
-ปิดการประชุม

-นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฏร์ธานี