Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน สถาบันพัฒนาความยั่งยืนท้องถิ่นไทย จัดอบรม “การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ (แบบครบวงจร) ครั้งแรกของภาคใต้”

11/06/2561

2044

สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน สถาบันพัฒนาความยั่งยืนท้องถิ่นไทย จัดอบรม “การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ (แบบครบวงจร) รุ่นที่ 1” เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้สนใจได้รับความรู้ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพและต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยมี อาจารย์ ดร. ทนง เอี่ยวศิริ รักษาการแทนรองคณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ให้การต้อนรับ อาจารย์จิรชัย เชาวลิต ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาความยั่งยืนท้องถิ่นไทย พร้อมวิทยากรของเครือข่าย ให้ความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจที่เข้าร่วมการอบรมครั้งนี้ กว่า 150 คน เมื่อวันเสาร์ ที่ 9 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์สาธิตและพัฒนานวัตกรรมเกษตรเทิดพระเกียรติ ร.9



อาจารย์ ดร. ทนง เอี่ยวศิริ กล่าวว่า การจัดอบรม “การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ (แบบครบวงจร) รุ่นที่ 1” ในครั้งนี้ เป็นการสร้างความยั่งยืนระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน โดยการร่วมมือกับเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ชุมชนสถาบันพัฒนาความยั่งยืนท้องถิ่นไทย ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีมากที่มหาวิทยาลัยจะเป็นสื่อกลางช่วยขับเคลื่อนชุมชน สังคมและประเทศ โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ อย่างชุมชน ด้วยการให้ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัยมีโดยไม่หวังผลกำไร แต่เน้นความรู้จากทีมวิทยากรที่มาจากทั่วประเทศ เพื่อให้ชาวบ้านและชุมชนได้นำเอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้จริง

กิจกรรมในครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง มีเกษตรกร และผู้สนใจที่มาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วภาคใต้เข้าร่วม มหาวิทยาลัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้าอบรมจะได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ นำไปสร้างอาชีพใหม่ โดยสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปทำเองที่บ้านและสามารถต่อยอดเพื่อการสร้างผลิตภัณฑ์หรือสินค้าใหม่ๆออกสู่ท้องตลาดอีกมากมาย



อาจารย์จิรชัย เชาวลิต กล่าวว่า ถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชน สถาบันพัฒนาความยั่งยืนท้องถิ่นไทย กับ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ร่วมมือกัน เพื่อพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืน โดยวันนี้เป็นการอบรมการเพาะเห็ดเยื่อไผ่(แบบครบวงจร) ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่และเป็นครั้งแรกในภาคใต้ในการจัดอบรมเรื่องนี้ เพื่อให้ชุมชนได้รู้จักและมีความรู้ที่ถูกต้องในการนำไปใช้และปฏิบัติจริงได้มากทีสุด โดยกิจกรรมในภาคเช้า เป็นการปูพื้นฐานฐานความรู้เพื่อนำไปสู่ภาคปฏิบัติที่เข้มข้น โดยการถ่ายทอดความรู้การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ การแปรรูป และการทำการตลาดในอนาคต

สถาบันพัฒนาความยั่งยืนท้องถิ่นไทย เป็นหน่วยงานเอกชน โดยภาคประชาชนกลุ่มรักษ์บ้านเกิด ได้รวมตัวกันมุ่งเน้นการพัฒนาท้องถิ่นไปสู่ความยั่งยืน โดยมีภารกิจ ในการสร้างความเข้มแข็ง มั่งคั่ง ยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้ของชุมชน และเมื่อชุมชนสามารถรวมกลุ่มกันได้ กลุ่มก็จะเป็นกลุ่มที่เข้มแข็งไปด้วย

ประมวลภาพ

ข่าว/ภาพ ชลธิชา ปานแก้ว ส่วนสื่อสารองค์กร