Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนา ม.วลัยลักษณ์ จัดค่ายเยาวชนเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

อัพเดท : 03/04/2555

2189

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดค่ายเยาวชนเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการรูปแบบการจัดการภัยพิบัติของชุมชนต้นน้ำคลองท่าทน : บทเรียนจากแผ่นดินถล่ม มีนาคม 2555 ในระหว่างวันที่ 19 - 27 มีนาคม 2555 ให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 คน ณ โรงเรียนบ้านเผียน โดยได้รับงบประมาณการสนับสนุนจาก สกอ. กิจกรรมประกอบด้วย
 

-บรรยายหัวข้อ "ภัยพิบัติเบื้องต้นและภัยพิบัติประเภทต่างๆ" กิจกรรมนี้นักเรียนได้เรียนรู้ความหมายของภัยพิบัติและภัยพิบัติชนิดต่างๆ การเตรียมการป้องกัน ก่อน ขณะเกิดและหลังเกิดภัยพิบัติ
 

-กิจกรรม "บูรณาการความรู้ภาษาอังกฤษกับภัยพิบัติ" โดยนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ กิจกรรมเน้นการทบทวนความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติผ่านกระบวนการการเล่นเกมส์ ซึ่งนักเรียนได้รับความรู้ทั้งด้านคำศัพท์และการทำงานร่วมกันเป็นทีม
 

-กิจกรรม "การดำรงชีพระหว่างเกิดภัยพิบัติ" กิจกรรมนี้นักเรียนได้เรียนรู้การสร้างที่พักอาศัยแบบภาคสนาม เช่น การทำเปลที่พัก การผูกเปลและการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ในระยะเวลาที่จำกัด
 

-กิจกรรม "การส่งสัญญาณสื่อความหมายระยะไกลด้วยภาษากาย" กิจกรรมนี้นักเรียนได้ฝึกทักษะในการขอความช่วยเหลือและการสื่อสารระยะไกล เช่น การส่งสารข้ามฝั่งคลอง
 

-กิจกรรม "กีฬาฮาเฮ" กิจกรรมนี้เน้นการฝึกทักษะการวางแผน ความกล้าแสดงออก การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การทำงานเป็นทีมและการฝึกปฏิบัติงานภายใต้แรงกดดัน
 

-กิจกรรม "ลูกโป่งน้ำ" กิจกรรมนี้นักเรียนได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การวางแผนและแก้ไขปัญหาเวลาที่เกิดสถานการณ์ขับขันและฝึกความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
 

-กิจกรรม "การนำเสนอแนวทางป้องกันและรับมือภัยพิบัติ" กิจกรรมนี้ได้แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย นักเรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การป้องกันและรับมือภัยพิบัติในชุมชน
 

-กิจกรรม "การดูดาวเบื้องต้น" กิจกรรมนี้นักเรียนได้เรียนรู้กลุ่มดาว ชนิดและลักษณะดวงดาว กลุ่มหมู่ดาวเพื่อให้รู้ฤดูกาล ทิศทางและช่วงเวลา เพื่อให้สามารถนำความรู้นี้มาใช้หากเกิดภัยพิบัติ
 

-กิจกรรม "ปาลูกดอก" กิจกรรมนี้ช่วยฝึกทักษะด้านสมาธิ การใช้สายตาและการควบคุมกล้ามเนื้อ
 

-กิจกรรม "การหาน้ำจากสิ่งรอบตัว" กิจกรรมนี้นักเรียนได้รับความรู้เรื่องการหาน้ำจากใบไม้ โดยใช้กระบวนการระเหยของใบไม้เมื่อถูกแสงแดด
 

-กิจกรรม "การรับมือภัยพิบัติและการเตรียมอุปกรณ์" กิจกรรมนี้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมอุปกรณ์ฉุกเฉินต่างๆในช่วงที่เกิดภัยพิบัติ เช่น การทำสุขา ตู้เย็น การจัดกระเป๋ายังชีพ และการได้เห็นผลได้ผลเสียของการตัดสินใจที่จะอพยพหรือไม่อพยพในช่วงเกิดภัยพิบัติ
 

-กิจกรรม "บูรณาการความรู้ภาษาอังกฤษกับภัยพิบัติ" โดยนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรมภาษาอังกฤษในวันแรกซึ่งเน้นการทบทวนความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติผ่านกระบวนการการเล่นเกมส์ ซึ่งนักเรียนได้รับความรู้ทั้งด้านคำศัพท์และการทำงานร่วมกันเป็นทีม
 

-กิจกรรม "การเตรียมอุปกรณ์และจัดกระเป๋ายังชีพ" ในกิจกรรมนี้ นักเรียนได้ฝึกภาคปฏิบัติในการเลือกเฉพาะสิ่งของที่จำเป็นที่ต้องเตรียมในกระเป๋ายังชีพ
 

-กิจกรรม "สรุปการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงในช่วงภัยพิบัติ" ในกิจกรรมนี้นักเรียนได้สรุปการเรียนรู้ต่างๆที่ได้รับจากค่ายและนักเรียนที่ประสบภัยได้ออกมาเล่าประสบการณ์ที่ได้พบในช่วงที่เกิดภัยพิบัติ

ประมวลภาพ