Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

การแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ โดยสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค สถานวิจัยสำนักสาธารณสุขศาสตร์ศาสตร์ และศูนย์ความเป็นเลิศฯ ไข้เลือดออก

อัพเดท : 23/01/2562

1281



ความร่วมมือในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ระหว่างสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สถานวิจัยสำนักสาธารณสุขศาสตร์ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก

รองศาสตราจารย์ ดร. จรวย สุวรรณบำรุง หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก และหัวหน้าสถานวิจัยสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งมีผลงานการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกเชิงอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ “กำแพงเซาโมเดล” “ลานสกาโมเดล” “ไชยาโมเดล” “กาญจนดิษฐ์โมเดล” และ “พระแสงโมเดล”

จากโมเดลเดลต้นแบบดังกล่าว ได้รับความสนใจจากสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนายแพทย์อภิญญา นิรมิตสันติพงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค และคณะ ในวันที่ 22 มกราคม 2562 ณ ห้อง 268 อาคารวิชาการ 2 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เวลา 9.00-17.00 น. โดยมีคณบดีสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ผศ. ดร. วาริท เจาะจิตต์ และ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ ผศ. ดร. อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว ให้เกียรติในการต้อนรับคณะดังกล่าว

สรุปผลการแลกเปลี่ยนได้กำหนดแนวทางในการติดตั้งระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด โดยขอรับคำปรึกษาจาก รองศาสตราจารย์ ดร. จรวย สุวรรณบำรุง และคณะจากพื้นที่ “ลานสกาโมเดล” ทั้งนี้ในระยะยาวจะมีการขยายผลในพื้นที่จังหวัดเศรษฐกิจพิเศษอื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือในการถอดบทเรียนของพื้นที่ 5 อำเภอซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อกำหนดนโยบายการพัฒนาแนวทางป้องกันโรคในชุมชนและแนวปฏิบัติดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกในโรงพยาบาลแก่แกนนำสุขภาพใน 22 อำเภอ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการวิจัย “การจัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ (Public Policy)” ภายใต้โครงการจัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ ประจำปี 2561 จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ





ประมวลภาพ