Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

จ.นครศรีธรรมราช ร่วมกับ โครงการวิจัย การวางแผนและการจัดการทรัพยากรน้ำจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยการมีส่วนร่วม จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำ

อัพเดท : 11/06/2555

3925

จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร ได้จัดทำโครงการวิจัย การวางแผนและการจัดการทรัพยากรน้ำจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยการมีส่วนร่วม โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มีวัตถุประสงค์ เพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองเสาธง - ท่าดี - ท่าแพ เพื่อเป็นข้อมูลนำมาใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างสมดุลและยั่งยืน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555 โดยมี ว่าที่ ร.ต.ฐิตวัฒน เชาวลิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดโครงการฯ โดยมีหน่วยงานสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการชลประทานนครศรีธรรมราช โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครศรีธรรมราช ประสานงานลุ่มน้ำจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนประสานและบริหารจัดการลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่วนที่ 2 นายอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช หัวหน้าศูนย์สำรวจอุทกวิทยาที่ 7 สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองเสาธง - ท่าดี - ท่าแพ จำนวน 36 ตำบล เข้าร่วมประชุม
 
ว่าที่ ร.ต.ฐิตวัฒน เชาวลิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวในพิธีเปิดว่า "การจัดการน้ำแบบบูรณาการ" นั้นมักมีความเข้าใจผิดว่าเป็นการจัดหาน้ำแทนการจัดการน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของการจัดการพัฒนาทรัพยากรน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจัดหาน้ำมากกว่าการจัดการน้ำ แต่ในระยะต่อไปนี้ ทุกหน่วยงานจะเน้นการจัดการน้ำ มากกว่าการจัดหาน้ำจะทำให้เกิดประสิทธิภาพของการใช้น้ำ ความเป็นธรรมในทุกภาคส่วนและความยั่งยืนในการบริหารจัดการน้ำทั้งในระดับครัวเรือน ชุมชน และลุ่มน้ำ
 
กิจกรรมการจัดกระบวนการกลุ่มแบ่งพื้นที่ในเขตลุ่มน้ำคลองเสาธง - ท่าดี - ท่าแพ จำนวน 36 ตำบล ออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
 
1. กลุ่มต้นน้ำ ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลกำโลน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าดี เทศบาลตำบลลานสกา องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเล เทศบาลตำบลหินตก องค์การบริหารส่วนตำบลหินตก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมโลก เทศบาลตำบลท่างิ้ว องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้ว และองค์การบริหารส่วนตำบลลานสกา
 
2. กลุ่มกลางน้ำ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ องค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน องค์การบริหารส่วนตำบลไชยมนตรี องค์การบริหารส่วนตำบลมะม่วงสองต้น และองค์การบริหารส่วนตำบลนาสาร
 
3. กลุ่มกลางน้ำ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา องค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายสำเภา องค์การบริหารส่วนตำบลช้างซ้าย องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ องค์การบริหารส่วนตำบลเสาธง เทศบาลตำบลทางพูน องค์การบริหารส่วนตำบลชะเมา องค์การบริหารส่วนตำบลอินคีรี องค์การบริหารส่วนตำบลนาเรียง และองค์การบริหารส่วนตำบลนาทราย
 
4. กลุ่มปลายน้ำ เทศบาลตำบลปากนคร องค์การบริหารส่วนตำบลท่าซัก องค์การบริหารส่วนตำบลปากนคร องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไร่ องค์การบริหารส่วนตำบลบางจาก องค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้อย เทศบาลตำบลบางจาก และเทศบาลเมืองปากพูน
 
จากการประชุมทำให้ทราบถึงสภาพปัญหาในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ รวมทั้งแนวทางการแก้ไขและความต้องการในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชน ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายวิชาการ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับครัวเรือน ชุมชน และลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน