Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรเรื่อง”กรรมวิธีการเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยสีท (Streptomyces) ในหลอดทดลอง เพื่อลดระยะเวลาในการผลิตสาร เมแทบอไลท์ทุติยภูมิ”

26/07/2562

732

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรเรื่อง”กรรมวิธีการเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยสีท (Streptomyces) ในหลอดทดลอง เพื่อลดระยะเวลาในการผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ” อนุสิทธิบัตรเลขที่ 1503002065 ยื่นคำขอเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 โดย รองศาสตราbrจารย์ ดร.มณฑล เลิศคณาวนิชกุลและนายกิจติศักดิ์ ชววิสิฐ

ข้อมูลผลงาน : กรรมวิธีการเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยสีท (Streptomyces) ในหลอดทดลอง เพื่อลดระยะเวลาในการผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ เป็นการประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ความรู้และวิทยาการในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพหรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยสเตรปโตมัยสีท เป็นแบคทีเรียแกรมบวกรูปท่อนที่มีลักษณะการเจริญเติบโตคล้ายเชื้อรา กล่าวคือมีการเจริญเติบโตช้าและต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโตสูง (obligate aerobic bacteria) ซึ่งทำให้การกระตุ้นให้เชื้อผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิในหลอดทดลองเป็นไปได้ช้าต้องใช้เวลายาวนานถึง 30 วันหรือมากกว่านั้นหากบ่มเลี้ยงเชื้อแบบไม่ได้เขย่า ซึ่งการเลี้ยงเชื้อไว้เป็นระยะเวลายาวนานดังกล่าวอาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นในสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย การประดิษฐ์นี้เกี่ยวข้องกับเทคนิคการเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยสีท (Streptomyces spp.) ในหลอดทดลอง เพื่อลดระยะเวลาในการผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ ด้วยการเลี้ยงเชื้อในขวด Baffled flask ร่วมกับเม็ดลูกปัดแก้ว เพื่อช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มปริมาตรการเลี้ยงเชื้อ เชื้อสเตรปโตมัยสีทในการผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ (secondary metabolites) ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น สารปฏิชีวนะออกฤทธิ์ต้านสแตฟฟิลโลคอคคัสออเรียสที่ดื้อยาเมธิซิลลิน (methicillin resistant Staphylococcus aureus: MRSA) เป็นต้น ทำให้สามารถลดระยะเวลาของการบ่มเลี้ยงเชื้อลงได้จาก 12 วัน เหลือเพียง 3-4 วัน ในการผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ และสามารถเพิ่มปริมาตรของอาหารเลี้ยงเชื้อได้มากกว่าเกณฑ์ปกติ กล่าวคือ จาก เดิม อาหารเลี้ยงเชื้อ 1 ส่วน ในภาชนะ 5 ส่วน เช่น ภาชนะบรรจุ 1,000 มิลลิลิตรใส่อาหารเลี้ยงเชื้อได้เพียง 200 มิลลิลิตร เปลี่ยนเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ 1 ส่วน ในภาชนะ 2.5 ส่วน เช่นภาชนะบรรจุ 1,000 มิลลิลิตร สามารถใส่อาหารเลี้ยงเชื้อได้ถึง 400 มิลลิลิตร สำหรับการเลี้ยงเชื้อในแต่ละครั้ง นอกจากนั้นการใช้เม็ดลูกปัดแก้วสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้งโดยไม่มีการเสื่อมสลายของวัสดุ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง

สนใจสอบถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการถ่ายทอดเทคโนโลยีติดต่อได้ที่ ฝ่ายบริการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โทร. 0-7567-2928