Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ในฐานะศูนย์ประสานงานภูมิภาค (ภาคใต้) ร่วมส่งกำลังใจให้น้องๆเยาวชนคนเก่ง และแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลพิเศษ ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ โครงการ YSC 2020

31/07/2563

1013

 

 

        มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ ในฐานะศูนย์ประสานงานส่วนภูมิภาค (ภาคใต้) ร่วมส่งกำลังใจ และแสดงความยินดีกับเยาวชนคนเก่งตัวแทนภาคใต้จากกิจกรรมโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 22 (YSC 2020) รอบชิงชนะเลิศ วันที่ 27 กรกฎาคม 2563 ด้วยระบบประชุมทางไกลออนไลน์ (Virtual Young Scientist Competition 2020: Virtual YSC 2020)  สำหรับการจัดการประกวดโครงการ YSC 2020 รอบชิงชนะเลิศ ในครั้งนี้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน โดยเปิดกว้างรองรับการประกวดสาขาต่างๆ ถึง 8 สาขา มีโครงงานที่ผ่านสู่รอบชิงชนะเลิศ 64 โครงงานจากทั่วประเทศ และยืนยันสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 60 โครงงาน ซึ่งมีโครงงานตัวแทนภาคใต้ที่เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ จำนวน 9 โครงงาน และยืนยันสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 8 โครงงาน ประกอบด้วย
1.สาขาวิศวกรรมศาสตร์    ชื่อโครงงานเครื่องเตือนและตรวจสอบระดับน้ำเกลืออัจฉริยะผ่านสมาร์ทโฟน    โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม    จังหวัดนครศรีธรรมราช
2.สาขาคณิตศาสตร์ ชื่อโครงงานพลิกชีวิตเกษตรกร โรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง
3.สาขาวิทยศาสตร์สิ่งแวดล้อม ชื่อโครงงานการทำแผนที่หญ้าทะเลโดยใช้อากาศยานไร้คนขับบริเวณ
อ่าวปากคลอง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง จังหวัดตรัง
4.สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชื่อโครงงานถุงมือเพื่อการสื่อสารกับผู้พิการทางการได้ยิน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล จังหวัดสตูล
5.สาขาชีววิทยา ชื่อโครงงานการศึกษาสารสังเคราะห์และประยุกต์ใช้สารคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลสที่ได้จากผักตบชวา และชานอ้อย เพื่อยืดอายุและป้องกันผลผลิตหลังเก็บเกี่ยวในข้าว โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
6.สาขาชีววิทยา ชื่อโครงงานผลของฟิล์มย่อยสลายได้ต่อจุลินทรีย์ในดินและการเติบโตของพืช โรงเรียน    สาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี
7.สาขาวัสดุศาสตร์ ชื่อโครงงานถาดเพาะกล้านาโยนจากโฟมฟองยางคริสตัลไลน์แบคทีเรียลเซลลูโลส โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี            
8.สาขาเคมี ชื่อโครงงานเปรียบเทียบการผลิตก๊าซชีวภาพโดยกระบวนการหมักร่วมน้ำเสียจากการ สกัดน้ำมันปาล์มร่วมกับมูลสัตว์ชนิดต่างๆสู่การพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฏร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์) จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 


          ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับเกียรติในฐานะตัวแทนศูนย์ประสานงานภาคใต้ ส่งตัวแทนคณาจารย์เป็นกรรมการตัดสินการประกวดโครงงานร่วมกับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศในครั้งนี้ คือ 
1.รศ.ดร.พจมาลย์ สุรนิลพงศ์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาชีววิทยา 
2.อาจารย์ ดร.รุ่งเรือง จันทา สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
3.ผศ.ดร.กรวิทย์ อยู่สกุล สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาเคมี
4.อาจารย์ ดร.นพพร ธรรมรงค์รัตน์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์


          โดยผลการประกวดตัวแทนจากภาคใต้ คือ สาขาคณิตศาสตร์ ชื่อโครงงานพลิกชีวิตเกษตรกร โรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง ผู้พัฒนาโครงงาน: นายภูริณัฐ กะเดช (หัวหน้าทีม), นายบัญญวัฒ นวลนาค, นางสาวเบญญาภา    ปรียธาดา โดยมีนางพรลดา แก้วพิทักษ์ (อาจารย์ที่ปรึกษา) ได้รับรางวัลพิเศษโครงการเพื่อการส่งเสริมการศึกษาวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 5,000 บาท  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ ในฐานะศูนย์ประสานงานส่วนภูมิภาค (ภาคใต้) ขอแสดงความยินดีกับผู้พัฒนาโครงงาน และอาจารย์ที่ปรึกษาจากโรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง ที่ได้รับรางวัลพิเศษในครั้งนี้