Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ตำบลฉลองให้คำปรึกษาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยการต่อยอดทรัพยากรท้องถิ่นในการขจัดความยากจน

อัพเดท : 29/09/2564

963

 

ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ผศ.ดร.รุ่งรวี จิตภักดี และ ผศ.ดร.อรอนงค์ เฉียบแหลม อาจารย์ประจำสำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ประสานความร่วมมือและผนึกกำลังกับภาคีต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่ ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษา บริการข้อมูลและจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน

ผศ.ดร.รุ่งรวี จิตภักดี ผู้อำนวยการโครงการกล่าวว่า พื้นที่ตำบลฉลอง เป็นพื้นที่มีทรัพยากรที่หลากหลายซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ ไอ้ไข่ วัดเจดีย์  ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของคนในพื้นที่และต่างพื้นที่ โดยในแต่ละปีจะมีผู้ศรัทธาเดินทางมาเคารพสักการะเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ของชุมชน เช่น ผลไม้ตามฤดูกาล เครื่องจักสาน ผ้ามัดย้อม ซึ่งเกิดจากฐานทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาของชุมชน ซึ่งทางโครงการเห็นว่าทรัพยากรในพื้นที่ดังกล่าวนี้มีศักยภาพที่จะถูกยกระดับเพื่อเพิ่มรายได้อันจะเสริมสร้างให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ โครงการได้มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเชิงศรัทธาบูรณาการสร้างเสริมอาชีพในทุกมิติ

ผศ.ดร.อรอนงค์ เฉียบแหลม ผู้รับผิดชอบหลักของโครงการได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าโครงการมีวัตถุประสงค์สำคัญในการใช้ศักยภาพของพื้นที่ในการลดความยากจนในพื้นที่โดยการเพิ่มโอกาสที่จะกระจายรายได้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่แก่ภาคส่วนต่างๆ โดยในโครงการมีกิจกรรมที่สำคัญประกอบด้วย กิจกรรมการยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชน สินค้าทางด้านการเกษตร ตลอดจนสินค้าแปรรูปทางด้านเกษตร ในด้านการออกแบบตัวผลิตภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ที่เป็นอัตลักษณ์ บรรจุภัณฑ์ กิจกรรมการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาพื้นที่ ด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ให้มีประสิทธิภาพ และ กิจกรรมการเพิ่มศักยภาพไกด์เยาวชน โดยการจัดอบรมผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สู่การรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวในชุมชน ตลอดจนการพัฒนาบุคคลในชุมชนให้ ที่มีทักษะและกลยุทธ์ในการเป็นไกด์ที่มีคุณภาพ

ผศ.ดร.อรอนงค์ เฉียบแหลม กล่าวในตอนท้ายว่า การขับเคลื่อนโครงการในตำบลฉลองในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงการทำหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนเท่านั้น แต่ผลที่เกิดขึ้นนั้นยังนำไปสู่การใช้ศักยภาพของพื้นที่ในการลดความยากจนที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/TambonChalong