Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

พิธีปิดการอบรม “โครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 28 รูปแบบออนไลน์” The 28th Marine Ecology Online Course

อัพเดท : 14/12/2564

608

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2564 ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายความร่วมมือ จัดกิจกรรมพิธีปิดโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 28 รูปแบบออนไลน์ “The 28th Marine Ecology Online Course”  ณ ห้องบันทึกรายการโทรทัศน์ ศูนย์บริการวิชาการ อาคารวัจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting

          ในพิธีปิด โครงการฯ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม ม.วลัยลักษณ์ กล่าวปิดงาน และได้รับเกียรติจากคุณสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในนามเจ้าภาพร่วมดำเนินงาน คุณพรสุรีย์  กอนันทา ผู้จัดการฝ่ายกิจการองค์กร และคุณคมสันต์โอ๊ยนาสวน ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในนามผู้สนับสนุน กล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้จบการอบรมโครงการฯ ในครั้งนี้ และในกิจกรรมพิธีปิด มีตัวแทนผู้เข้ารับการอบรม คือ นายนายทิวาปกฏ ปานโบว์ จากมหาวิทยาลัยทักษิณ และนางสาวบุษยณัฐ เพ็งภาจร จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวแสดงความรู้สึกต่อการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้อีกด้วย

          ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ กล่าวรายงานสรุปผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งมีระยะเวลาจัดอบรมในระหว่างวันที่ 5 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2564 รูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting ซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในการดำเนินโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 28 รูปแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจนิเวศวิทยาทางทะเลทั้งในรูปแบบของโครงสร้างและความสัมพันธ์เชิงบทบาทของสิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศทางทะเลแต่ละระบบ และระหว่างระบบนิเวศทางทะเล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการวิจัย และกระบวนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ในด้านนิเวศวิทยาทางทะเล และเพื่อสร้างความตระหนักและปรัชญาการจัดการทรัพยากรทางทะเลและระบบนิเวศทางทะเลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน

          มีนักศึกษาที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 129 คน ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จาก 28 มหาวิทยาลัย ทั่วประเทศ ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 คน จาก 22 มหาวิทยาลัย สำหรับกิจกรรมของโครงการฯ ที่ผู้เข้าอบรมได้รับ ประกอบด้วย

1.พิธีเปิดโครงการ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564

          1.2 บรรยายพิเศษ หัวข้อ สำรวจขั้วโลก (ป่วน) โดย ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          1.3 ชี้แจงกิจกรรมของโครงการ และพบอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มกิจกรรมสัมมนา

2.การบรรยาย: มีผู้บรรยายจากคณาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจากทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 14 หัวข้อ (8 พ.ย. – 2 ธ.ค.64)

2.1 อาจารย์ ภายนอกม.วลัยลักษณ์ จำนวน 10 ท่าน จาก 7 หน่วยงานความร่วมมือ

-อาจารย์ ดร.สืบพงศ์ สงวนศิลป์              ม.ทักษิณ

-ดร.สมเกียรติ ขอเกียรติวงศ์                  ผู้ทรงคุณวุฒิ

-ผศ.ดร.ภาสิณี วรชนะนันท์                  ม.เกษตรศาสตร์

-อาจารย์ ดร.เอกพจน์ ศรีฟ้า                 ม.มหาสารคาม

-อาจารย์ ดร.วิชญา กันบัว                    ม.บูรพา

-ผศ.ดร.มณฑล แก่นมณี                      สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าฯ

-ผศ.ดร.กริ่งผกา วังกุลางกูร                  ม.สงขลานครินทร์

-ผศ.ดร.ธนัสพงษ์ โภควนิช                  ม.เกษตรศาสตร์

-ดร.ลลิตา ปัจฉิม                               กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

-อาจารย์ ดร.สราวุธ ศิริวงศ์                  ม.บูรพา

2.2 อาจารย์ภายใน ม.วลัยลักษณ์ จำนวน 4 ท่าน จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์                          

-ผศ.ดร.พักตร์พิมล อึ่งเจริญวิวัฒน์

-ผศ.ดร.จริยา สากยโรจน์

-ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี

-ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ ดรุมาศ

3.Special Talk จำนวน 4 ครั้ง

          3.1 วันที่ 10 พ.ย.64 หัวข้อ Climate change ทะเลที่เปลี่ยนไปกับ Marine science ที่เข้มแข็ง

         3.2 วันที่ 17 พ.ย.64

              -หัวข้อ ทิศทางงานวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล เพื่อสนับสนุน the UN Decade of Ocean Science for Sustainable Development (2021 – 2030) โดยรศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน ม.รามคำแหง

             -หัวข้อ การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลในยุค disrupt โดย ดร.ปิ่นสักส์ สุรัสวดี  รองปลัดกรทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          3.3 วันที่ 24 พ.ย.64 หัวข้อ Sex in the sea โดย ดร.แทนไท ประเสริฐกุล

         3.4 วันที่ 1 ธ.ค.64

        -หัวข้อ Thailand’s fishery management plan and IUU โดย คุณเพราลัย นุชหมอน กรมประมง

       -Teaching With Film: 'Seaspiracy' Discussion Questions โดย ศ.ดร.ทวนทอง จุฑาเกตุ ม.อุบลราชธานี

4.ภาคปฏิบัติการ: การจัดแสดง สาธิตและฝึกปฏิบัติจริงจากผู้ชำนาญ เช่น การจัดจำแนกตัวอย่างสัตว์น้ำ, การเก็บรักษาตัวอย่างกลุ่มสัตว์, การถ่ายรูปตัวอย่างเพื่อใช้ในงานวิจัย เป็นต้น เพื่อช่วยให้ผู้เรียนไม่เบื่อ มีกิจกรรมสลับเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น โดยนักวิจัย และนักวิชาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ครั้ง

4.1 วันที่ 13 พ.ย.64 หัวข้อ Preservation techniques for  invertebrate samples โดย พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษา สยามบรมราชกุมารี

4.2 วันที่ 20 พ.ย.64 หัวข้อ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำชายฝั่งอันดามันและเทคนิคการถ่ายภาพทางวิทยาศาสตร์ โดย สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน คณะประมง  ม.เกษตรศาสตร์

5.การทำหัวข้อสัมมนา: ผู้เข้าอบรมจะแบ่งกลุ่มเพื่อทำหัวข้อสัมมนา 10 กลุ่มๆ ละ 6 คน โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงและให้การปรึกษาแนะนำ (นัดประชุมกลุ่มย่อยรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom meeting) โดยฝึกให้คิดการตั้งโจทย์ปัญหา การค้นคว้าหาข้อมูลตามประเด็นที่สนใจ และมีการนำเสนอหัวข้อ วันที่ 4 ธ.ค.64

1.ทะเลร้อน! เขตมรณะกำลังมาเยือน (ดร.เมธิณี อยู่เจริญ สถาบันทรัพยกรทางทะเลฯ)

2.ความเป็นพิษของปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน (จากน้ำมันรั่วไหล) ต่อสัตว์ทะเล (อาจารย์ ดร.ธรณิศวร์ รัตนพันธ์ ม.วลัยลักษณ์)

3. Hang out with marine animal (ดร.ปรเมศวร์ ตรีวลัยรัตน์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ)

4.มนุษย์กับแมงกะพรุน (อาจารย์ ดร.เอกพจน์ ศรีฟ้า ม.มหาสารคาม)

5.Never too hot การทนร้อนของหอยบนหิน (ผศ.ดร.กริ่งผกา วังกุลางกูร ม.สงขลานครินทร์)

6.รู้จักฉลาม....ในถ้วยซุป (ดร.วัลย์ลดา กลางนุรักษ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ)

7.ปะการังกับโลกที่ไม่รู้จะร้อนไปถึงไหน (ดร.ลลิตา ปัจฉิม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)

8.กฎหมายทางทะเลของประเทศไทย (ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ ดรุมาศ ม.วลัยลักษณ์)

9.หญ้าทะเลของไทย และการฟื้นฟูด้วย GIS (ผศ.จันทิรา รัตนรัตน์ ม.วลัยลักษณ์)

10.โปรตีนอัศจรรย์จากฟันดูดของหมึก (อาจารย์ ดร.พิมพ์ชนก พิมพ์ทนต์ ม.วลัยลักษณ์)

จากกิจกรรมของโครงการทั้ง 5 กิจกรรมข้างต้น โครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 28 รูปแบบออนไลน์ในครั้งนี้ มีผู้เข้ารับการอบรมจบการอบรมทั้งสิ้น  57 คน จาก 21 มหาวิทยาลัย คือ

1.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์                 2.มหาวิทยาลัยขอนเเก่น

3.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่                       4.มหาวิทยาลัยทักษิณ

5.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร          6.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

7.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                     8.มหาวิทยาลัยนครพนม

9.มหาวิทยาลัยบูรพา                            10.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

11.มหาวิทยาลัยมหิดล                          12.มหาวิทยาลัยแม่โจ้

13.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์            14.มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

15.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา          16.มหาวิทยาลัยรามคำแหง

17.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์                    18.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

19.มหาวิทยาลัยศิลปากร                        20.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

21.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

         โครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 28 รูปแบบออนไลน์ ดำเนินการจัดกิจกรรมเป็นเวลากว่า 1 เดือน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชากร ขอขอบคุณไปยังสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และขอขอบคุณไปยังคณาจารย์ วิทยากร และที่ปรึกษา จากภาคีเครือข่ายทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง ในความร่วมมือ และให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโครงการเป็นอย่างดียิ่งเสมอมา

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://cas.wu.ac.th/?p=15350