Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ย้ำชัดจุดยืน ไม่มีเชื้อชาติ ศาสนา และพรหมแดนใดๆ มาเป็นอุปสรรคในการทำงานของชาวต่างชาติที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

อัพเดท : 27/12/2564

1325

การพบปะอาจารย์ชาวต่างชาติ

การพบปะอาจารย์ชาวต่างชาติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม 2564 โดย ศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้สร้างความมั่นใจ และความรู้สึกมุ่งมั่นอย่างมีพลังของอาจารย์ชาวต่างชาติที่ปฏิบัติหน้าที่สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในขณะนี้ร่วม 45 คน ในโอกาสที่อธิการบดีได้พบปะอย่างเป็นทางการประจำปี เพื่อถ่ายทอดแนวทางการขับเคลื่อน และนโยบายการบริหารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีกับอาจารย์ชาวต่างชาติที่ได้ทุ่มเทการทำงานให้กับมหาวิทยาลัยตลอดเวลาที่ผ่านมา โดยการจัดงานในวันนี้มีทั้งระบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom cloud meeting และแบบ on site ที่ห้องประชุมชั้น 4 ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โอกาสนี้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ทราบว่ามหาวิทยาลัยมีเป้าหมายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก และได้ให้กำลังใจทุกคนในองค์กรให้มุ่งมั่นช่วยกันดำเนินการเพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายนี้ ไม่ว่าจะใช้ระยะเวลายาวนานสักเพียงใด ผลงานทุกด้านในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ด้านงานวิจัย ด้านการเรียนการสอน ด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและด้านการจัดการ และด้านการดูแลบุคลากรนานาชาติ ได้ทำให้บุคลากรประจักษ์แล้วว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีพัฒนาแบบก้าวกระโดด

ในด้านงานวิจัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สามารถพิสูจน์ตนเองจนได้รับการจัดอันดับจากหลายๆ สถาบันระดับชาติ และระดับนานาชาติ เช่น nature index, SCImago Institution Rankings, University Ranking by Academic Performance (URAP) 2021-2022, QS Asia University Rankings (https://www.wu.ac.th/en/news/20524/walailak-university-ranked-19th-in-thailand-and-551-600-in-asia-in-qs-asia-university-rankings-2022)  THE Impact Ranking (https://www.wu.ac.th/en/news/19678/walailak-university-makes-a-success-of-sustainability-in-the-the-impact-rankings), THE World University Rankings (THE-WUR) https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2022/world-ranking#!/page/0/length/25/locations/THA/sort_by/rank/sort_order/asc/cols/stats   สำหรับการจัดอันดับของ THE-WUR นั้นปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับในสถานะ reporter status เป็นครั้งแรก หลังจากได้ดำเนินการขอจัดอันดับในปี 2021 สำหรับการสมัคร THE-WUR ในปี 2022 มหาวิทยาลัยจะได้รับการจัดอันดับอย่างแน่นอนและจะเป็นผลการจัดอันดับประจำปี 2023 เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีผลงานวิจัยมากกว่า 80% ในขณะนี้นั้น อยู่ในระดับ Q1 และ Q2 ซึ่งหมายความถึงคุณภาพของงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมีสูง งานวิจัยคุณภาพสูงเช่นนี้จะส่งผลให้ระดับ citation สูงตามไปด้วย การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยในทุกด้านที่ผ่านมา นอกจากการันตีด้วยรางวัลและความสำเร็จจากการได้รับการจัดอันดับจากสถาบันการจัดอันดับต่างๆ ระดับโลกแล้ว กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมยังจัดให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นแนวหน้าของโลก หรือ Global and Frontier Research อีกด้วย

ศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  อาจารย์ชาวต่างชาติ

คุณภาพด้านการเรียนการสอน คณาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จำนวน 3 คน ได้รับการจัดอันดับ Top 2% Scientists โดย Stanford University จากจำนวนนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมากกว่าหนึ่งแสนคน  https://www.wu.ac.th/en/news/20642/walailak-university-rsquo-s-academics-named-world-rsquo-s-top-2-scientists มหาวิทยาลัยได้จัดการเรียนการสอนด้วยระบบ UKPSF 100 % เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย https://www.wu.ac.th/th/news/20565)  นักศึกษามากกว่า 90% มีความพึงพอใจในระบบการเรียนการสอนแบบ UKPSF การจัดการเรียนการสอนแบบนี้ในระดับโลกมีเพียงมหาวิทยาลัย Huddersfield University สหราชอาณาจักร เท่านั้นที่คณาจารย์ได้รับ UKPSF certificate 100% การยกระดับคุณภาพทุกด้านจึงทำให้ในปี 2564 มหาวิทยาลัยได้รับการประเมินด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอนจากคณะกรรมการภายนอก (self-assessment report) สูงถึง 4.93 จากคะแนนเต็ม 5 ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมา (https://www.wu.ac.th/th/news/20580)  การปรับห้องเรียนขนาดใหญ่เป็นขนาดเล็กจำนวน 144 ห้องด้วยระบบ smart class room ที่มีเทคโนโลยีการสอนที่ทันสมัย ปรับปรุง laboratory เป็น digital laboratory ทั้งหมด ล้วนเพื่อการยกระดับเชิงคุณภาพให้กับบัณฑิตของมหาวิทยาลัย และในขณะที่มหาวิทยาลัยทั่วประเทศต้องเจอกับวิกฤติจำนวนนักศึกษาใหม่ลดลง แต่สำหรับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นั้น นักศึกษาใหม่มีจำนวนมากที่สุดของประเทศไทย  

สวนวลัยลักษณ์ สวนวลัยลักษณ์ รถไฟฟ้า หน้าหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สำหรับคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมและด้านการจัดการในปี 2564 มหาวิทยาลัยตระหนักดีว่าสิ่งแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มีความสำคัญไม่แพ้ด้านวิชาการและคุณภาพการเรียนการสอน การปรับปรุงอาคารที่ทรุดโทรมเพราะใช้งานมานานปี การปรับภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม ศูนย์กีฬา รถไฟฟ้าที่ให้รับส่งภายในมหาวิทยาลัย ฯลฯ ล้วนแต่เพื่อต้องการให้คณาจารย์และบุคลากรมีความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับความสะดวก และมีคุณภาพชีวิตที่ได้มาตรฐาน ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพสถาพแวดล้อมทั้งเพื่อการเรียนการสอนและคุณภาพชีวิตภายในมหาวิทยาลัยให้ดีขึ้นทำให้ในปี 2564 นี้มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลสิ่งแวดล้อมสีเขียวอันดับหนึ่งของภาคใต้เป็นครั้งที่ 2 และอันดับที่ 114 ของเอเซียโดย UI Green Metric World University Rankings (https://www.wu.ac.th/th/news/20683) อีกทั้งยังได้รับรางวัล “Best Strategies” award at the “THAILAND DIGITAL TRANSFORMATION AWARDS 2021” จากกระทรวง Digital Economy and Society (https://www.wu.ac.th/th/news/20470)  ได้รับรางวัล "สถาบันการศึกษาดีเด่นด้านส่งเสริมการต้านคอร์รัปชั่น" (ANTI-CORRUPTION AWARD 2021) ประจำปี 2564 ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) https://www.wu.ac.th/th/news/20678  ความสำเร็จเหล่านี้เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างมีระบบ และความทุ่มเทของบุคลากรทุกคน

สำหรับการดูแลอาจารย์ชาวต่างชาติของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นั้น ท่านอธิการบดีฯ ได้ประกาศนโยบายของการให้ความเท่าเทียมด้านความก้าวหน้าทางวิชาการกับคณาจารย์ชาวต่างชาติอย่างชัดเจน โดยอาจารย์ประจำที่พัฒนาตนเองได้คุณสมบัติครบตามเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการทุกท่าน สามารถยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการตั้งแต่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ได้เหมือนอาจารย์ชาวไทยทุกประการ ขอให้ทุคนเชื่อมั่นว่ามหาวิทยาลัยจะดูแลอาจารย์ต่างชาติอย่างเท่าเทียมกัน  จะไม่มีการแบ่งเชื้อชาติ ศาสนา หรือพรหมแดนใดๆ ท่านอธิการบดีฯ ได้ให้ความมั่นใจกับคณาจารย์ชาวต่างชาติทุกท่านด้วยการให้โอกาสทุกท่านสามารถมาพบอธิการบดีได้ตลอดเวลาหากมีอุปสรรคหรือปัญหาใดที่ต้องการปรึกษาหรือให้อธิการบดีช่วยเหลือ เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่านอธิการบดีฯ ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่าจะให้มีการจัดตั้ง International Staff Club อย่างเป็นทางการ และให้มีการพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารนโยบายของมหาวิทยาลัยให้คณาจารย์นานาชาติได้รับรูป และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ในการพบปะกับคณาจารย์นานาชาติในครั้งนี้ ท่านอธิการบดีฯ ได้ให้คำมั่นอย่างชัดเจนว่า "มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นสถาบันแห่งธรรมรัฐที่จะไม่มีพรมแดนแห่งเชื้อชาติ ศาสนา หรือพรหมแดนใดๆ มาเป็นอุปสรรคในการทำงานของชาวต่างชาติที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์"

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาจะเป็นแรงบันดาลใจให้จะทำให้คณาจารย์และบุคลากรทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันต่อไปเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยให้มีความก้าวหน้าเจริญรุ่งโรจน์และได้รับการจัดอันดับหนึ่งในร้อยของโลกภายในปี 2570 ตามแผนที่วางไว้

เรียบเรียงโดย จิราพร กาฬสุวรรร ศูนย์กิจการนานาชาติ