Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

คณาจารย์ผู้ร่วมโครงการ U2T ม.วลัยลักษณ์ ยกทัพลงพื้นที่ชายฝั่งทะเลนครศรีธรรมราช เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี บริการให้คำปรึกษา และติดตามประเมินผลรอบสิ้นสุดโครงการ

06/01/2565

713

         ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา คณาจารย์สำนักวิชาต่างๆ ประกอบด้วย 1.สำนักวิชาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอาหาร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทนง เอี่ยวศิริ 2.บัณฑิตวิทยาลัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วาลุกา เอมเอก 3.สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรพัฒน์ นาวารัตน์ และอาจารย์ ดร.จารุภา เลขทิพย์ ร่วมกับ คณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T ลงพื้นที่ชายฝั่งทะเลนครศรีธรรมราช เพื่อจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี บริการให้คำปรึกษาด้านการแปรรูปอาหารทะเล (น้ำพริกปลาเส้น น้ำพริกปูม้า น้ำพริกกุ้ง น้ำพริกคางกุ้ง น้ำพริกเครื่องแกงปลาเส้น น้ำพริกเครื่องแกงปูม้า น้ำพริกเครื่องแกงกุ้ง ข้าวพองอัดแท่งรสปู เซมเบ้กุ้ง ปลาหยองทรงเครื่อง น้ำพริกปลาหยองคั่วแห้ง น้ำพริกปลาหยองขลุกขลิก ปลาแผ่นอบกรอบ ผงโรยข้าวปลา แหนมปลา ก้างปลาทรงเครื่อง ข้าวเกรียบปลาจวด ทองพับกุ้งเสียบ ผงโรยข้าวกุ้ง ลูกชิ้นปลา เต้าหู้ปลา ปลาสวรรค์) การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป (น้ำพริกปลาเส้น น้ำพริกปูม้า น้ำพริกกุ้ง น้ำพริกคางกุ้ง น้ำพริกเครื่องแกงปลาเส้น น้ำพริกเครื่องแกงปูม้า น้ำพริกเครื่องแกงกุ้ง ปลาหยอง น้ำพริกปลาหยองคั่วแห้ง น้ำพริกปลาหยองขลุกขลิก ปลาแผ่นอบกรอบ ข้าวเกรียบปลาจวด ทองพับกุ้งเสียบ ผงโรยข้าวกุ้ง) เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายแบบออนไลน์และออฟไลน์ให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น (SDG 8) เน้นส่งเสริมการนำวัตถุดิบสัตว์น้ำที่มาจากการประมงที่ถูกต้องตามกฎหมายมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ (SDG 14)  และจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน (ผลการประเมินสุขภาพของเกษตรกร ผลการประเมินสมรรถภาพทางกายของเกษตรกร การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การฝึกหายใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของปอด) (SDG3) แก่ผู้แทนเกษตรกรชาวประมง ผู้แทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ พร้อมติดตามประเมินผลโครงการในพื้นที่เป้าหมายภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าพยา อำเภอปากพนัง ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร และ ตำบลหน้าสตน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

         อนึ่ง กิจกรรมพัฒนาตำบลภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลในครั้งนี้ ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพตำบลตามเป้าหมาย 16 ประการ อ้างอิงจาก นายแพทย์ประเวศ วะสี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมดำเนินการตามแนวทางการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดจำนวนการตายและการป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากการปนเปื้อนและมลพิษทางอากาศ น้ำ และดิน เสริมขีดความสามารถสำหรับทุกประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพ เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน โดยส่งเสริมนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่สมควรความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรมและส่งเสริมการเกิดและ การเติบโตของวิสาหกิจรายย่อยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งรวมถึงผ่านทางการเข้าถึงบริการทางการเงิน และ เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การบริหารจัดการ อนุรักษ์ และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งนี้ ศูนย์บริการวิชาการ ขอขอบคุณ คณาจารย์ ผู้แทนชุมชน ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ที่ร่วมดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเป็นอย่างดียิ่ง

U2T ม.วลัยลักษณ์

U2T ม.วลัยลักษณ์

U2T ม.วลัยลักษณ์