Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

พิธีปิดการอบรม “โครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 28 รูปแบบออนไลน์” The 29th Marine Ecology Online Course

21/12/2565

662

          เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2565 ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายความร่วมมือ จัดกิจกรรมพิธีปิดโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 29 รูปแบบออนไลน์ “The 29th Marine Ecology Online Course รูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting และถ่ายทอดสดไปยังเพจศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

          ในพิธีปิด โครงการฯ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ศราวุธ ปาลิโภชน์ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวปิดงาน และได้รับเกียรติจากคุณสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วย คุณวราริน วงษ์พานิช รักษาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิชัยและความหลากหลายทางชีวภาพ ในนามเจ้าภาพร่วมดำเนินงาน คุณพรสุรีย์  กอนันทา รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด พร้อมด้วย คุณจิราภรณ์ โชติช่วง เจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายกิจการสัมพันธ์ ในนามผู้สนับสนุน กล่าวแสดงความยินดี และร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้จบการอบรมในครั้งนี้  

          ผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งมีระยะเวลาจัดอบรมในระหว่างวันที่ 12 พฤศจิกายน – 17 ธันวาคม 2565 รูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting ซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในการดำเนินโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 29 รูปแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจนิเวศวิทยาทางทะเลทั้งในรูปแบบของโครงสร้างและความสัมพันธ์เชิงบทบาทของสิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศทางทะเลแต่ละระบบ และระหว่างระบบนิเวศทางทะเล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการวิจัย และกระบวนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ในด้านนิเวศวิทยาทางทะเล และเพื่อสร้างความตระหนักและปรัชญาการจัดการทรัพยากรทางทะเลและระบบนิเวศทางทะเลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน

          โครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 29 รูปแบบออนไลน์ จัดขึ้นโดยความร่วมร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทางทะเล กลไกและกระบวนการที่สำคัญ ส่งเสริมการเรียนรู้กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศ และการอนุรักษ์การใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดและอย่างยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเล

          การจัดอบรมในครั้งนี้ มีนักศึกษาที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งระดับปริญญาตรี   ปริญญาโท และปริญญาเอก จำนวน 78 คน จาก 19 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และต่างประเทศ โดยผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมโครงการ จำนวน 56 คน ระดับปริญญาตรี 43 คน ปริญญาโท 12 คน และปริญญาเอก จำนวน 1 คน  จาก 16 มหาวิทยาลัย คือ

1.มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
3.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4.มหาวิทยาลัยนเรศวร
5.มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
6.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
7.มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
8.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
9.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
10.มหาวิทยาลัยรามคำแหง
11.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
12.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
13.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสงขลา/วิทยาเขตภูเก็ต/วิทยาเขตปัตตานี
14.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
15.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
16.Leibniz Institute of Freshwater Ecology and Inland Fisheries (IGB) ประเทศเยอรมนี

กิจกรรมที่ผู้เข้ารับการอบรมโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 29 ได้รับระหว่างวันที่ 12 พฤศจิกายน – 17 ธันวาคม 2565 รูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ ZOOM Meeting ประกอบด้วย

 

1.พิธีเปิดโครงการ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2565

           1.1 กล่าวต้อนรับ+เปิดงาน โดยผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  และบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด

           1.2 บรรยายพิเศษ หัวข้อ ทิศทางการวิจัย เพื่อยกระดับการจัดการทรัพยากรทางทะเลของประเทศไทย โดย รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน นายกสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเล และผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์  ม.เกษตรศาสตร์

           1.3 ชี้แจงกิจกรรมของโครงการ และพบอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มกิจกรรมสัมมนา

 

2.การบรรยาย: มีผู้บรรยายจากคณาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจากทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 14 หัวข้อ (14 พ.ย. – 14 ธ.ค.65)

2.1 อาจารย์ ภายนอกม.วลัยลักษณ์ จำนวน 8 ท่าน จาก 6 หน่วยงานความร่วมมือ

-อาจารย์ ดร.สืบพงศ์ สงวนศิลป์              ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

-ดร.ธนกร จิวรุ่งเรืองกุล                        ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

-อาจารย์ ดร.เอกลักษณ์ รัตนโชติ             ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่       

-อาจารย์ ดร.เอกพจน์ ศรีฟ้า                   ม.มหาสารคาม

-ผศ.ดร.กริ่งผกา วังกุลางกูร                    ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

-ดร.สมเกียรติ ขอเกียรติวงศ์                   ผู้ทรงคุณวุฒิ

-คุณเพราลัย นุชหมอน                         กรมประมง

-ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์                            จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.2 อาจารย์ และนักวิทยาศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 7 ท่าน         

-ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ ดรุมาศ                       สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

-ผศ.ดร.พักตร์พิมล อึ่งเจริญวิวัฒน์            สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

-ผศ.ดร.จริยา สากยโรจน์                      สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

-ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี                         สำนักวิชาวิทยาศาสตร์/ศูนย์บริการวิชาการ

-อาจารย์สุธีระ ทองขาว                        สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป

-คุณชินกร ทองไชย                             ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

-คุณชุมพล คงนคร                              ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

3.Special Talk จำนวน 4 ครั้ง

3.1 วันที่ 16 พ.ย.65 หัวข้อ Fishery improvement project การบริหารจัดการทรัพยากรประมงไทย ตามมาตรฐานสากล โดย ศ.ดร.ทวนทอง จุฑาเกตุ ม.อุบลราชธานี

3.2 วันที่ 23 พ.ย.65 หัวข้อ การกัดเซาะชายฝั่ง      โดย อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

3.3 วันที่ 30 พ.ย.65 หัวข้อ การถ่ายทอดประสบการณ์การถ่ายภาพทางทะเล ที่สอดคล้องกับการวิจัย และการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์       โดย ทีมช่างภาพใต้น้ำมือรางวัลระดับโลก

-คุณศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย

-คุณหาญนเรศ หริพ่าย

-คุณณภัทร เวชชศาสตร์

3.4 วันที่ 7 ธ.ค.65 หัวข้อ เรียนวิทยาศาสตร์ทางทะเล ได้อะไรมากกว่าที่คุณคิด โดย

-อาจารย์ ดร.เมธิณี อยู่เจริญ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

 -อาจารย์ ดร.ธชณัฐ ภัทรสถาพรกุล ม.บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

-คุณปิยะ โกยสิน ผู้ประกอบการด้านดำน้ำ จ.ภูเก็ต

-ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ ดรุมาศ ม.วลัยลักษณ์

 

4.ภาคปฏิบัติการ: การจัดแสดง สาธิตและฝึกปฏิบัติจริงจากผู้ชำนาญ เช่น การจัดจำแนกตัวอย่างสัตว์น้ำ, การเก็บรักษาตัวอย่างกลุ่มสัตว์, การถ่ายรูปตัวอย่างเพื่อใช้ในงานวิจัย การใช้เครื่องมือสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนไม่เบื่อ มีกิจกรรมสลับเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น โดย อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  จำนวน 3 หัวข้อ

4.1 วันที่ 19 พ.ย.65 ภาคเช้า หัวข้อ การเก็บตัวอย่าง และการจัดการตัวอย่างสัตว์ทะเลเพื่อการศีกษาทางด้านอนุกรมวิธาน

-อาจารย์ ดร.สืบพงศ์ สงวนศิลป์              ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
-น.ส.มูรณีย์ มะแซ                               ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
-นางสุธาสินี อาจหาญวณิช                    ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
-นายลุตฟี หะยีวาจิ                             ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
-นางสาวณัฐชา ขันทะสีมาเฉลิม              ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
-นายธัชนนท์ ศิณโส                             ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

4.2 วันที่ 19 พ.ย.65 ภาคบ่าย หัวข้อ เทคนิคการปรับแต่งและประยุกต์ภาพถ่ายในงานทางวิทยาศาสตร์ โดย คุณสหัส  ราชเมืองขวาง ม.เกษตรศาสตร์

4.3 วันที่ 3 ธ.ค.65 หัวข้อ การประยุกต์ใช้เทคนิคและเครื่องมือสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทางทะเล โดย อาจารย์สุธีระ ทองขาว ม.วลัยลักษณ์

5.การทำหัวข้อสัมมนา: ผู้เข้าอบรมจะแบ่งกลุ่มเพื่อทำหัวข้อสัมมนา 10 กลุ่มๆ  โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงและให้การปรึกษาแนะนำ (นัดประชุมกลุ่มย่อยรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom meeting) โดยฝึกให้คิดการตั้งโจทย์ปัญหา การค้นคว้าหาข้อมูลตามประเด็นที่สนใจ และมีการนำเสนอหัวข้อ วันที่ 17 ธ.ค.65

กลุ่มที่ 1    ผศ.ดร.วัลย์ลดา กลางนุรักษ์    คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง   หัวข้อ โครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากรของสัตว์ทะเลฝั่งอันดามัน
กลุ่มที่ 2    นางสาวขนิษฐา อุทัยพันธ์    นักศึกษาปริญญาเอก   หัวข้อ สภาวะความเป็นกรดของมหาสมุทร (Oean Acidification)
กลุ่มที่ 3    ผศ.ดร.นรินทร์รัตน์ คงจันทร์ตรี    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา   หัวข้อ ปะการังฟอกขาวจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำทะเล
กลุ่มที่ 4    นายณัทธร แก้วภู่ นายวัชระ เกษเดช และ นายอภิสิทธิ์ กองพรหม   สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)   หัวข้อ ไกลแค่ไหน คือ ใกล้ (Remote Sensing for Marine and Coastal)    
กลุ่มที่ 5    ดร.ปรเมศวร์ ตรีวลัยรัตน์     ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์    หัวข้อ ความหลากหลายของสารพิษในทะเล
กลุ่มที่ 6    ดร.กฤติยา เชียงกุล    นักวิจัยอิสระ   หัวข้อ ซาชิมิปลอดภัยจริงไหม
กลุ่มที่ 7    อาจารย์ ดร.เชฏฐพร  สุจิตะพันธ์    สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์   หัวข้อ ธรณีสัณฐานและการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง
กลุ่มที่ 8    ผศ.ดร.วิษณุ สายศร สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์   หัวข้อ การกระจายพันธุ์ของหญ้าทะเลโดยสัตว์เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
กลุ่มที่ 9    ผศ.จันทิรา รัตนรัตน์    สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์   หัวข้อ  GIS กับงานด้านทะเล
กลุ่มที่ 10    อาจารย์ ดร.พิมพ์ชนก พิมพ์ทนต์    สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์   หัวข้อ ของเหลือทิ้งจากทะเล...สู่เวชสำอาง

           จากกิจกรรมของโครงการทั้ง 5 กิจกรรมข้างต้น โครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 29 รูปแบบออนไลน์ในครั้งนี้ มีผู้เข้ารับการอบรมจบการอบรมทั้งสิ้น 41 คน จาก 15 มหาวิทยาลัย คือ

1.มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
3.มหาวิทยาลัยนเรศวร
4.มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
5.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
6.มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
7.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
8.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
9.มหาวิทยาลัยรามคำแหง
10.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
11.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
12.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
13.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
14.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
15.Leibniz Institute of Freshwater Ecology and Inland Fisheries (IGB) ประเทศเยอรมนี

          โครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 29 รูปแบบออนไลน์ ดำเนินการจัดกิจกรรมเป็นเวลากว่า 1 เดือนครึ่ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชากร ขอขอบคุณไปยังสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และขอขอบคุณไปยังคณาจารย์ วิทยากร และที่ปรึกษา จากภาคีเครือข่ายทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง ในความร่วมมือ และให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโครงการเป็นอย่างดียิ่งเสมอมา