Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ม.วลัยลักษณ์ ต้อนรับคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ติดตามผลงานวิจัยนวัตกรรม “พัฒนาระบบตรวจจับแกนนไม้บนภาพหน้าตัดท่อนซุงไม้ยางพารา” เตรียมต่อยอดพัฒนาเครื่องมือแพทย์รักษาโรคตาเขในมนุษย์

อัพเดท : 12/01/2566

523

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 ที่ห้องประชุมช่อประดู่ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ผศ.ดร. มนเทียร  เสร็จกิจ รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณาจารย์ในสำนักวิชาดังกล่าวให้การต้อนรับนายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมคณะผู้บริหารฯ ซึ่งได้เข้าติดตามนวัตกรรมต้นแบบในโครงการพัฒนาระบบตรวจจับแกนไม้บนภาพหน้าตัดท่อนซุงไม้ยางพาราโดยใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึกและเชื่อมต่อกับระบบในโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา โดยนักวิจัยจากสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 


โครงการนี้นักวิจัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้พัฒนาในระบบการประมวลผลเพื่อตรวจจับแกนไม้โดยอัตโนมัติให้มีความถูกต้องแม่นยำจนสามารถนำไปเชื่อมต่อกับระบบอัตโนมัติส่วนอื่นๆของการตัดผ่าท่อนซุงเป็นแผ่นไม้แปรรูปที่มีจำนวนแผ่นต่อ 1 ท่อนซุงให้มากที่สุด ขนาดแผ่นไม้ดีและสวยที่สุดโดยมีส่วนที่เสียน้อยที่สุดอันเนื่องมาจากแกนไม้ส่งผลต่อการอบไม้อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อควบคุมอัตราการเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ให้ต่ำที่สุด ใช้เชื้อเพลิงน้อยสุด เป็นการเพิ่มมูลค่าของการแปรรูป การวิจัยพัฒนานี้อยู่ในระหว่างการปรับสเกลจากต้นแบบให้เป็นเครื่องจักรที่สามารถใช้ได้จริง และยังสามารถพัฒนานวัตกรรมนี้เป็นระบบตรวจจับโรคทางดวงตาเช่นโรคตาเข การตรวจจับรักษาโรคทางรูม่านตา ได้อีกด้วย


นายภุชพงค์ โนคไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่ามีการตั้งเป้าพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและสังคมให้ปี 2570 ให้ได้ไม่น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็น และในปี 80 ให้ได้ไม่น้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย การพัฒนานี้ดำเนินการโดยภาคราชการอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีภาคการศึกษาและทุกภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยมีกองทุนที่คอยสนับสนุนการวิจัยนวัตกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาระบบดิจิทัลของประเทศให้ก้าวหน้า


ด้าน ผศ.กรกต สุวรรณรัตน์ นักวิจัยหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การวิจัยนวัตกรรมการตรวจจับแกนไม้ยางพารานี้สืบเนื่องจากเดิมมีการใช้มนุษย์ที่เรียกว่า นายม้า หางม้า เป็นผู้คอยควบคุมสังเกตแกนไม้ในการเข้าสู่เครื่องจักรเพื่อตัดผ่าปัจจุบันเริ่มมีการขาดแคลน จึงได้พัฒนานวัตกรรมตัวนี้ขึ้นเพื่อลำความสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ของไม้ที่ต้องตัดผ่าแล้วติดแกนไม้หรือไส้ไม้ไปด้วยเมื่อเข้าสู่การอบจะแตก ระบบนี้จะสามารถลำความสูญเสียได้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการประสานงานกับนักวิชาการวิศวกรรมเครื่องกล ในการพัฒนาระบบในโรงงาน และที่สำคัญนั้นได้ใช้แนวคิดนี้พัฒนาวิจัยระบบเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในทางจักษุวิทยาในการตรวจจับโรคที่เกี่ยวกับดวงตา