Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

แนะนำ ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านกุ้ง

15/01/2557

4070

ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านกุ้ง (Research Center of Excellence in Shrimp) สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

สมาชิก: ผศ. ดร. สถาพร ดิเรกบุษราคม (หัวหน้าศูนย์), ผศ. ดร. สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี, ผศ.ดร. ปิยะพงค์ โชติพันธุ์, ผศ.ดร. พ้วน เพ่งเซ้ง, ดร. นพวรรณ ฉิ้มสังข์, ดร. พิจักษณ์ สัมพันธ์, นักวิชาการ/นักศึกษาบัณฑิต สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และ ดร. พิชชานีย์ จริยพงศ์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์

ก่อตั้ง: ปี 2551 ในนามหน่วยวิจัยกุ้ง และได้เปลี่ยนสถานะเป็น ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านกุ้ง ในเดือนมกราคม 2557

สถานที่ตั้ง: สำนักงาน ชั้น 2 อาคารวิชาการ 4, ห้องปฏิบัติการ อาคาร B3 ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ Shrimp Quarantine Center

URL: http://agri.wu.ac.th/ShrimpResearchUnit/index.htm

ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก: ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อโครงสร้างพื้นฐาน การจัดประชุมวิชาการกุ้งทะเลแห่งชาติ และการวิจัย จาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (Biotec) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มากกว่า 35 ล้านบาท, ดำเนินโครงการความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น ผ่าน JICA ด้วยงบประมาณมากกว่า 25 ล้านบาท, วิจัยร่วมกับ Hokkaido University-Tokyo University of Marine Science and Technology-National Taiwan University-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประสานความร่วมมือกับกรมประมง บริษัทเอกชน ชมรม และสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย

ขอบเขตการวิจัย: ดำเนินการวิจัยทางด้านพ่อแม่พันธุ์และการเพาะเลี้ยงกุ้ง ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ทั้งกุ้งทะเลและกุ้งน้ำจืด ได้แก่ กุ้งกุลาดำและกุ้งก้ามกราม โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสายพันธุ์กุ้งที่แข็งแรงและปลอดโรค พัฒนาเทคนิคการเลี้ยงกุ้งให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ทั้งในเรื่องการจัดการระบบน้ำ สูตรอาหาร พัฒนาโปรไบโอติคที่ใช้ในการควบคุมโรคขี้ขาว ศึกษาสาเหตุของโรค EMS และแนวทางแก้ไข องค์ความรู้จากการวิจัยกุ้งและสัตว์น้ำอื่นๆ การเผยแพร่ทั้งในการสนับสนุนอุตสาหกรรมสัตว์น้ำไทย และในวารสารระดับนานาชาติ อีกทั้งได้ยื่นขอจดอนุสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น

บทบาทการบริการวิชาการ: ให้บริการตรวจสอบคุณภาพพันธุ์กุ้ง และ เครื่องหมายดีเอ็นเอที่ใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ (สายพันธ์ที่มีการเจริญเติบโตดี, สายพันธุ์ต้านทานโรคไวรัส WSSV และ YHV, สายพันธุ์ที่ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็ม) วินิจฉัยโรคด้วยเทคนิค Real time PCR อีกทั้งยังให้บริการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงและการปรับปรุงพันธุ์กุ้งให้แก่เกษตรกร รวมทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงกุ้งอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่เกษตรกรและนักศึกษา ผ่านการจัดการเรียนการสอน และการอบรม