Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ ศูนย์หนังสือแห่งจุฬา และ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเขียน การผลิตและการเผยแพร่ตำรา หนังสือและบทความวิชาการ

อัพเดท : 06/05/2557

3302

 

ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และส่วนส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ ศูนย์หนังสือแห่งจุฬา และ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเขียน การผลิตและการเผยแพร่ตำรา หนังสือและบทความวิชาการ โดยมี ผศ.ดร.มารวย เมฆานวกุล รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรม เป็นประธาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวัน 28-29 เมษายน 2557 ณ ห้องประชุม 1301 ชั้น 3 อาคารเรียนรวม 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช

ผศ.ดร.มารวย เมฆานวกุล กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เล็งเห็นความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมให้อาจารย์และผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาได้หันมาสนใจ และให้ความสำคัญในการผลิตและการใช้ตำราทางวิชาการกว้างขวาง โดยความร่วมมือของศูนย์หนังสือแห่งจุฬาฯ ร่วมกับ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯ และ ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ส่วนส่งเสริมวิชาการ จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การเขียน การผลิต และการเผยแพร่ตำรา หนังสือ และบทความวิชาการ” ในครั้งนี้ และรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีผู้ร่วมการสัมมนาจำนวนกว่า 132 คน จากหลากหลายสถาบัน ซึ่งผมเชื่อว่าจะก่อให้เกิดบรรยากาศทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์อันเป็นประโยชน์ รวมถึงความสนิทชิดเชื้อเพื่อเป็นเครือข่ายที่อาจเกื้อกูลกันทางวิชาการในอนาคต”

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้เขียนซึ่งเป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้ทั้งความรู้และประสบการณ์เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ และได้รับทราบถึงวิธีการเขียนตำรา หนังสือ บทความวิชา ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ณัชชา พันธ์เจริญ คณะศิลปกรรมศาสตร์ บรรยาย “ชวนอาจารย์เขียนตำรา : เส้นทางสูศาสตราจารย์” ศาสตราจารย์อัจฉรา ชีวพันธ์ คณะครุศาสตร์ บรรยายและทำกิจกรรม “สู่การเขียนภาษาไทยในตำราและหนังสือวิชาการ” ศาสตราจารย์ปราโมทย์ เตชะอำไพ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ บอกเล่า “ประสบการณ์การเขียนตำรา หนังสือวิชาการ” ผศ.มานิต รุจิวโรดม ภาควิฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ / ผู้อำนวยการ สนพ.แห่งจุฬาฯ แนะนำเรื่อง “การผลิตและการเผยแพร่ตำราหนังสือวิชาการ” และ รศ.มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ ให้ความรู้และกรณีศึกษาเกี่ยวกับ “ลิขสิทธิ์กับการเขียน บทความ ตำราหนังสือวิชาการ”

การสัมมนาตลอด 2 วัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับทั้งเนื้อหาสาระความรู้และประสบการณ์ ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้เกิดความต้องการในการเขียนตำรา เอกสารทางวิชาการและบทความ ตลอดจนเห็นแนวทางการเขียนที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อจะนำไปพัฒนาผลงานและหลักสูตรการเรียนการสอน ซึ่งจะส่งผลอันดีต่อสถาบันการศึกษา คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติของเราต่อไป

อนึ่ง ผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การเขียน การผลิต และการเผยแพร่ตำรา หนังสือ และบทความวิชาการ” จำนวน 132 คน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวิทยาเขตชุมพร สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตตรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นต้น