Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

นักกายภาพบำบัดทั่วประเทศ ร่วมประชุมวิชาการกายบำบัดวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 3

21/05/2557

2982

นักกายภาพบำบัดและบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุมวิชาการกายบำบัดวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อเรื่อง Advanced Manual Therapy Techniques for Lumbopelvic Disorders

หลักสูตรกายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการประจำปี กายภาพบำบัดวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อเรื่อง Advanced Manual Therapy Techniques for Lumbopelvic Disorders ระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมทวินโลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุม ดร.อโนมา สันติวรกุล หัวหน้าสาขาวิชากายภาพบำบัด กล่าวรายงานการประชุม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยอดชาย บุญประกอบ พร้อมคณะ จากภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้
 

ดร.กีร์รัตน์ สงวนไทร กล่าวในพิธีเปิดการประชุมว่า การประชุมวิชาการประจำปีกายภาพบำบัดวลัยลักษณ์ เริ่มจัดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 โดยครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 แล้ว ภายใต้หัวข้อเรื่อง Advanced Manual Therapy Techniques for Lumbopelvic Disorders ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบัน พบการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเกิดจากการทำงานได้บ่อยขึ้น โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่นักกายภาพบำบัด นำความรู้ไปวินิจฉัยและรักษาภาวะ Lumbopelvic Disorders ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม รวมทั้งฟื้นฟูสมรรถภาพและป้องกันการเกิดอาการปวดบริเวณดังกล่าวซ้ำทำให้เกิดประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยอย่างสูงสุด



ดร.อโนมา สันติวรกุล กล่าวว่า การประชุมวิชาการ เรื่อง Advanced Manual Therapy Techniques for Lumbopelvic Disorders มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะเกี่ยวกับการตรวจประเมินและการรักษาทางกายภาพบำบัดในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ Lumbopelvic Disorders แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ทางกายภาพบำบัดระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด และเผยแพร่ผลงานวิจัยทางกายภาพบำบัดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ทั้งนี้เนื่องจากการบาดเจ็บต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงานพบได้บ่อยขึ้น โดยเฉพาะภาวะปวดหลังที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของกระดูกสันหลังและเชิงกราน ซึ่งกระดูกสันหลังและเชิงกรานจัดว่าเป็นส่วนประกอบของหลังส่วนล่างที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากกระดูกสันหลังส่วนอื่น นั่นคือมีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นหลายระนาบพร้อมกัน ประกอบกับมีความสัมพันธ์กับเอ็นยึดข้อต่อและกล้ามเนื้อหลายมัด ดังนั้นเมื่อเกิดพยาธิสภาพต่อกระดูสั้นหลังบริเวณนี้ จึงต้องใช้เทคนิคการดัดดึง และหัตถการบำบัดที่แตกต่างจากกระดูสันหลังระดับอื่นๆ

สำหรับการประชุมวิชาการกายภาพบำบัดวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อเรื่อง Advanced Manual Therapy Techniques for Lumbopelvic Disorders มีนักกายภาพบำบัดและบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศเข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 80 คน

ภาพและข่าวโดยนายธีรพงศ์ หนูปลอด ส่วนประชาสัมพันธ์