Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ขอเชิญร่วมกิจกรรมเชื่อมโยงงานวิชาการกับภาคการผลิตและอุตสาหกรรม วันที่ 13-17 ตค. 57

07/10/2557

1609

งานวิจัยในมหาวิทยาลัย สามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ ในสี่ทางที่แตกต่างกันได้แก่ เชิงองค์ความรู้ใหม่ เชิงสังคมชุมชน เชิงนโยบาย และ เชิงพาณิชย์ ในขณะที่การพัฒนาระบบวิจัย นักวิจัย และงานวิจัย ในมหาวิทยาลัยไทย ทำให้การนำองค์ความรู้สู่การตีพิมพ์เผยแพร่ และต่อยอดผลงานวิจัยสู่การบริการวิชาการในชุมชนท้องถิ่น มีเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน แต่ ความสำเร็จจากการเชื่อมโยงงานวิชาการกับภาคการผลิตและอุตสาหกรรม ยังคงมีน้อยกรณี

คุณเจษฎา อังวิทยาธร เจ้าของ บริษัท นครศรีพาราวู้ด จำกัด อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช มีประสบการณ์ในการร่วมวิจัย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม้ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการอบไม้ยางพาราด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จนสามารลดการสูญเสียในการอบไม้จากระดับ 7 % เป็น 3 % และลดระดับลงมาเรื่อยๆ อีกทั้งสามารถลดระยะเวลาการอบไม้ จาก 7 วัน มาเหลือ 3.5 วัน โดยผลิตภัณฑ์มีสีขาวสวยขึ้น และเกิดการบิด โก่ง โค้งงอ น้อยลง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้หลายแสนบาทในแต่ละเดือน ทำให้ตระหนักว่า “นวัตกรรมในเรื่องนีั้ทำให้บริษัทได้รับผลประโยชน์เป็นอย่างมาก” และเล็งเห็นว่า “ต่อไปการค้าจะต้องมีนวัตกรรมมาเสริมสร้างจึงจะสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ นอกจากนี้ยังสามารถ พัฒนาศักยภาพ ยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกรด้วย”

ในฐานะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม สภาอุตสาหกรรมภาคใต้ และรองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช คุณเจษฎา อังวิทยาธร จึงเข้าหารือ กับผู้บริหารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ เพื่อเสริมพลังการใช้ประโยชน์จากงานวิชาการในเชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น และเห็นชอบร่วมกัน ในการจัด University/Industry Engagement Week ระหว่างวันที่ 13-17 ตค. 57 เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยได้รับทราบ ถึงแนวทางเชื่อมโยงและโอกาสในการขับเคลื่อน งานวิจัยให้เกิด สู่ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในเชิงพาณิชย์เป็นพันธกิจสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคการผลิตและอุตสาหกรรม โดยกิจกรรมทั้งหมดออกแบบให้เสริมมุมมองและความรู้ให้เกิดภาพและกระบวนการต่อเนื่องกัน ตั้งแต่ โจทย์และความต้องการของภาคการผลิตและอุตสาหกรรม ทางเลือกของแหล่งทุนต่างๆและกลไกสนับสนุนการทำงาน ประสบการณ์และข้อคิดจากนักวิจัยที่มีประสบการณ์ในภาคอุตสาหกรรม การพัฒนางานสร้างสรรค์สู่ทรัพย์สินทางปัญญา การสร้างรายได้จากนวัตกรรม ฯลฯ ดังรายละเอียดกำหนดการดังนี้

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม 2557 ณ ห้องบรรยาย 4 อาคารฯนวัตกรรม
สัมมนา มหาวิทยาลัยกับการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
9.15-12.00 น. บรรยาย เรื่อง "การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญาเชิงพาณิชย์"
โดย รศ.ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล
13.00-16.00 น. บรรยาย เรื่อง "การสร้างรายได้ของมหาวิทยาลัยจากฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรม"
โดย คุณพงษ์ศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ
จัดโดยโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้
ผู้สนใจเข้าร่วม ติดต่อ คุณ พรรษกร นางนวล lexykusa25@gmail.com; npatsako@wu.ac.th
   
วันอังคารที่ 14 ตุลาคม 2557 ณ ห้องตุมปัง อาคารบริหาร
ระดมสมอง เพื่อเชื่อมโยงผลงานมหาวิทยาลัยสู่ภาคอุตสาหกรรมและพัฒนาจังหวัด
9.00-9.20 น. พิธีเปิดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
9.20-10.30 น. บรรยาย เรื่อง "ความรู้ในมหาวิทยาลัย สามารถมีส่วนแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดได้อย่างไร"
โดย คุณ เจษฎา อังวิทยาธร กรรมการวิจัยและนวัตกรรม สภาอุตสาหกรรมภาคใต้ และรองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
10.30-12.00 น. เสวนา เรื่อง "ภาคอุตสาหกรรมต้องการให้มหาวิทยาลัยวิจัยเรื่องอะไร"
รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับโจทย์วิจัยจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
ดำเนินการเสวนาโดย ผศ.ดร. ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
13.00-14.00 น. บรรยาย เรื่อง "ประสบการณ์และข้อแนะนำจากการทำวิจัยร่วมกับภาคเอกชน"
โดย ผศ.ดร. นิรันดร มาแทน และ ผศ.ดร. วาริท เจาะจิตต์
14.00-15.45 น. เสวนา เรื่อง "Made in university: จากหิ้งสู่ห้าง อย่างไรจึงไม่ตกหล่นกลางทาง"
เปิดกรุผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยในเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน และร่วมเสนอแนวทางต่อยอดใช้ประโยชน์
โดย ผศ.ดร. ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ
รศ.ดร. ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล ประธานเครือข่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก สกอ. ภาคใต้ ตอนบน
15.45-16.00 น. แนะนำทุนวิจัยเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์
จัดโดย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับ เครือข่ายวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ และ เครือข่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก สกอ. ภาคใต้ ตอนบน
ผู้สนใจเข้าร่วม ติดต่อ คุณ ฤดี ไกรวงศ์ kruedee@gmail.com ; kruedee@wu.ac.th
   
วันพุธที่ 15 ตุลาคม 2557 ณ ห้องบรรยาย 3 อาคารฯนวัตกรรม
สัมมนา บทบาทของการออกแบบผลิตภัณฑ์ในตลาดปัจจุบัน
10.00-12.00 น. ระดมความคิดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่าง กลุ่ม OTOP และนักวิจัย เรื่อง “การตลาดและการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับชุมชน”
13.00-15.00 น.
บรรยาย เรื่อง "บทบาทของการออกแบบอุตสาหกรรมในตลาดปัจจุบัน Industrial Design และการขอรับความคุ้มครอง" โดย คุณ เสกสรร บุญสุวรรณ จาก ศาลทรัพย์สินทางปัญญา
15.00-16.00 น. Workshop "การเตรียมคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์"
จัดโดย สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ร่วมกับ โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้
ผู้สนใจเข้าร่วม ติดต่อ คุณ พรรษกร นางนวล lexykusa25@gmail.com; npatsako@wu.ac.th
   

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม 2557 ณ ห้องตุมปัง อาคารบริหาร
ระดมสมอง เพื่อใช้นวัตกรรมแก้ปัญหายางพารา

9.00-12.00 น. ระดมความคิดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่าง กลุ่มโรงงานยาง และนักวิจัย เรื่อง “นวัตกรรมส่งเสริมการผลิตยางพารา”
ดำเนินรายการ โดย ว่าที่ ร.ต. จาตุรนต์ ชุติธรพงษ์ จากหน่วยพัฒนาองค์กร
13.00-15.00 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกลุ่มย่อย
จัดโดย สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนา
ผู้สนใจเข้าร่วม ติดต่อ คุณลัดดาวัลย์ มนต์แก้ว dladdawa@wu.ac.th
   
วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม 2557 ณ ห้องตุมปัง อาคารบริหาร
สัมมนา มหาวิทยาลัยกับการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและการเกษตร
9.00-10.00 น. บรรยาย เรื่อง "การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไมโครเวฟเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน"
โดย ผศ.ดร. หมุดตอเล็บ หนิสอ หัวหน้าศูนย์วิจัยความเป็นเลิศนวัตกรรมฟิสิกส์ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร
10.00-11.00 น. แนะนำ คลินิกเทคโนโลยีและโครงการ NEC
โดย ดร. วันสุรีย์ พรหมภัทร ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ
11.00-12.00 น. แนะนำโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการสู่ Social Enterprise
โดย ผศ.ดร. นิยม กำลังดี ผู้อำนวยการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้
13.00-15.00 น. ระดมความคิดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่าง กลุ่มเกษตรกร และนักวิจัย เรื่อง “นวัตกรรมส่งเสริมการผลิตปาล์มและไม้ผลภาคใต้”
จัดโดย โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่ระหว่าง มวล. และ สกว.
ผู้สนใจเข้าร่วม ติดต่อ คุณสุจินดา ย่องจีน panipook2@gmail.com; sujinda.yo@wu.ac.th