Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

H.E. Mr. Peter Prugel เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย พร้อมคณะ เยือนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

16/06/2559

4043



H.E. Mr. Peter Prugel (ฯพณฯ เพเทอร์ พรือเกล) เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย พร้อมคณะ ประกอบด้วย Dr. Christine Falken-Grosser (ดร. คริสทิเนอ ฟัลเคน-โกรสเซอร์) ที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจและการค้า Mr. Roland Treitler ผู้อำนวยการโครงการ GIZ-ECOSwat คุณภูมิ พิณเทพ ตัวแทนโครงการ GIZ-ECOSWat และ นางสาวณัฐพร อุดมรัตน์ ให้เกียรติมาเยือนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อพบปะกับผู้บริหาร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วัลลา ตันตโยทัย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และคณะ ให้การต้อนรับและรับรอง เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา ณ ห้องรับรองสภามหาวิทยาลัย อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โอกาสนี้ ฯพณฯ เพเทอร์ พรือเกล ได้พูดคุยถึงการเดินทางมาเยือนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เกี่ยวกับความร่วมมือที่ประเทศเยอรมนีดำเนินการร่วมกับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี หรือ GIZ (Deutsche Gesellschaft fur Internationale Zusammenarbeit) ร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดการน้ำในภาวะวิกฤตโดยรักษาระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำ (Improved Management of Extreme Events through Ecosystm-based Adaptation in Watersheds: ECOSWat) ซึ่ง ฯพณฯ เพเทอร์ พรือเกล ได้แสดงความขอบคุณที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้สนับสนุนให้ อาจารย์ สุธีระ ทองขาว อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร เป็นหนึ่งในทีมงานที่ร่วมดำเนินกิจกรรม

โครงการส่งเสริมการจัดการน้ำในภาวะวิกฤตโดยรักษาระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำ (Improved Management of Extreme Events through Ecosystm-based Adaptation in Watersheds: ECOSWat) เป็นโครงการที่ดำเนินการร่วมกันตั้งแต่ปี 2556-2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการน้ำในการวางแผนและมาตรการการปรับตัวโดยการรักษาระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำเพื่อลดผลกระทบจากน้ำท่วมและภัยแล้ง ซึ่งมีพื้นที่โครงการนำร่องในลุ่มน้ำย่อยคลองท่าดี จังหวัดนครศรีธรรมราช

ขณะเดียวกัน ฯพณฯ เพเทอร์ พรือเกล ได้ให้ความสนใจสอบถามถึง “งานวลัยลักษณ์เกษตรแฟร์ 2559” ที่กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-17 กันยายน 2559 พร้อมเสนอแนวทางในการสร้างโอกาสให้นักศึกษาและคณาจารย์รู้จักสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มากขึ้น ในรูปแบบของการจัดนิทรรศการ และให้ข้อมูลทางด้านทุนการศึกษา อย่างเช่น ทุน DAAD ซึ่งคนไทยได้รับทุนนี้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งแนะนำให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ทำความร่วมมือกับ Cologne University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ มีชื่อเสียง และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน

ในส่วนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้นำเสนอความร่วมมือกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในด้านการวิจัย ที่ดำเนินการอยู่แล้ว ในสองสาขาหลัก คือ 1) Wood Engineering กับ University of Hamburg และ Deutsch Biomasse Forsch Zentrum GmbH 2) Medical Technology กับ University of Heidelberg และ Fraunhofer Inst Biomed Engn IBMT ผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ มีดังนี้ Publications: Wood Engineering • BAMBOO - A FUNCTIONALLY GRADED COMPOSITE MATERIAL By: Chaowana, Pannipa; Barbu, Marius C.; Fruehwald, Arno FOREST PRODUCTS JOURNAL Volume: 65 Issue: 3-4 Pages: S48-S53 Published: 2015 • THE USE OF COCONUT HUSK IN HIGH PRESSURE LAMINATE PRODUCTION By: Glowacki, R.; Barbu, M. C.; van Wijck, J.; Chaowana, P. JOURNAL OF TROPICAL FOREST SCIENCE Volume: 24 Issue: 1 Pages: 27-36 Published: JAN 2012 • Physical and mechanical properties of oriented strand lumber made from an Asian bamboo (Dendrocalamus asper Backer) By: Malanit, Pannipa; Barbu, Marius C.; Fruehwald, Arno EUROPEAN JOURNAL OF WOOD AND WOOD PRODUCTS Volume: 69 Issue: 1 Pages: 27-36 Published: FEB 2011 Publications: Medical Technology • Two-dye based arrayed primer extension for simultaneous multigene detection in lipid metabolism By: Jeenduang, Nutjaree; Pomtadavity, Sureerut; von Nickisch-Rosenegk, Markus; et al. CLINICA CHIMICA ACTA Volume: 442 Pages: 36-43 Published: MAR 2015 • Study designs to investigate Nox1 acceleration of neoplastic progression in immortalized human epithelial cells by selection of differentiation resistant cells By: Sattayakhom, Apsorn; Chunglok, Warangkana; Ittarat, Wanida; et al. REDOX BIOLOGY Volume: 2 Pages: 140-147 Published: 2014