Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเข้าร่วมอบรมนักดำน้ำอาสาสมัครเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

17/06/2559

1669

ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สบทช.5 เตรียมดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูสัตว์ทะเลหายากเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวนานาชาติ ตามโครงการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทะเลสาบ เพื่อความมั่นคงทางอาหารและรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยว ภายใต้แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ปี 2559 โดยมีกิจกรรมที่จะดำเนินการ เช่นการวางซั้งบ้านปลา วางทุ่นแนวเขตสนับสนุนมาตรการอนุรักษ์ฯ ของชุมชน การรณรงค์การจัดการขยะ ดำน้ำเก็บขยะตามแนวปะการังเกาะกระและกองปะการังเทียม การปลูกหญ้าทะเลเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรอ่าวปากพนัง การอนุรักษ์เต่าทะเล



ทั้งนี้มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร หลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 4 คน ได้เข้าร่วมอบรมนักดำน้ำอาสาสมัครเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระหว่างวันที่ 19-22 เม.ย 59 และได้ดำเนินการไปเก็บขยะและตัดอวนบริเวณเกาะกระ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากเกาะกระเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญระดับนานาชาติถูกประกาศตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2556 ด้วยอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) เพื่ออนุรักษ์และยับยั้งการของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลกปัจจุบันมีประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์ 163 ประเทศ

เกาะกระมีความสำคัญเนื่องจากเป็นแหล่งวางไข่ของเต่าตนุและเต่ากระ เป็นแหล่งปะการังครอบคลุมพื้นที่ 412 ไร่ มีความอุดมสมบูรณ์โดดเด่นกว่าแหล่งอื่นในอ่าวไทย และได้มีการพบนกชนิดหายากและใกล้ศูนย์พันธุ์ เช่น นกโจรสลัด นกชาปีไหน และนกออก เป็นต้น



นอกจากนั้นจากการสำรวจเบื้องต้นยังพบปะการังบางชนิด เช่น ปะการังแปรงล้างขวด (Acropora longicyathus) ปะการังเขากวาง (Acropora aculeus) ซึ่งเป็นปะการังที่ไม่เคยพบในฝั่งอ่าวไทย พบได้แต่ในทะเลฝั่งอันดามันเพราะปะการังชนิดเหล่านี้ต้องการน้ำที่ใสและแสงสว่างมากจึงเป็นการค้นพบครั้งแรกที่เกาะกระ ซึ่งบ่งบอกได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ แต่ในปัจจุบันมีการฟอกขาวของปะการังเป็นวงกว้าง เนื่องจากสาเหตุหลายประการณ์เช่น อุณหภูมิน้ำที่เปลี่ยนแปลง สารพิษที่อยู่ในน้ำ ปะการังถูกกินจากหอยฝาเดียวหรือการเกิดโรคต่างๆ ทำให้ปะการังตาย จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในบริเวณนั้น ทำให้ต้องมีการลงพื้นที่เพื่อศึกษาปัญหาและแก้ไขเบื้องต้น