Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศนวัตกรรมฟิสิกส์ฯ จัดอบรม The 1st Training Workshop on Plasma Diagnostics for Fusion Research

อัพเดท : 05/08/2559

2273

ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศนวัตกรรมฟิสิกส์ฯ จัดอบรม The 1st Training Workshop on Plasma Diagnostics for Fusion Research ระหว่างวันที่ 25 - 27 กรกฎาคม 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางด้านพลาสมาและพลังงานฟิวชั่น เพื่อให้เกิดงานวิจัยและการพัฒนาพื้นฐานเกี่ยวกับระบบวัดพลาสมา อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพลาสมาและพลังงานฟิวชั่นระหว่างกลุ่มวิจัยภายในประเทศ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(สทน.) มีผู้เข้าร่วมทั้ง อาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาทั่วประเทศ



กล่าวเปิดงาน โดยนายวราวุธ ขจรฤทธิ์ รักษาการรองผู้อำนวยการ (วิชาการ) เป็นผู้แทน ผู้อำนวยการฯ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ



กิจกรรมฝึกอบรมประกอบด้วย

ภาคทฏษฎี
1. ภาพรวมและแผนการพัฒนางานวิจัยและบุคลากรทางด้านพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชัน (Nuclear fusion) ในประเทศไทย โดย ดร. รพพน พิชา หัวหน้าฝ่ายฟิสิกส์และวิศวกรรม สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ



2. แนะพื้นฐานและองค์ความรู้ด้านพลาสมาฟิสิกส์ และกระบวนการในการวัดคุณสมบัติของพลาสมา ซึ่งได้แก่อุณหภูมิและความหนาแน่นของพลาสมาโดยใช้เทคนิค หัววัดแบบ Langmuir พร้อมสรุปแนวทางการทำวิจัยด้านพลาสมาฟิสิกส์และการนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เช่นทางด้านวัสดุ ด้านกสิกรรม เป็นต้น โดย ผศ.ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ จากศูนย์วิจัยความเป็นเลิศนวัตกรรมฟิสิกส์ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์



3. แนะนำการวิจัยและแนวทางการวิจัยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ชนิดฟิวชันในประเทศไทย โดย ผศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



4. แนะนำเทคนิคและกระบวนการวัดพลาสมาโดยอาศัยการปลดปล่อยแสงของพลาสมา หรือ Optical Emission Spectroscopy (OES) เพื่อใช้วัดอุณหภูมิของพลาสมา โดย ดร.ธีรวรรณ บุญญวรรณ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



ภาคปฏิบัติ

1. การสร้างหัววัด Langmuir ชนิด 1 และ 2 ขั้ว เพื่อใช้วัดคุณสมบัติของพลาสมา โดยทดสอบกับพลาสมาที่สร้างจากแหล่งกำเนิด 2 แบบคือ ชนิดมีขั้วไฟฟ้าภายใน และชนิดขั้วไฟฟ้าภายนอก

2. การวัดคุณสมบัติของพลาสมาโดยใช้ Optical Emission Spectroscopy (OES) เพื่อใช้วัดอุณหภูมิของพลาสมา

3. การสร้างหัววัดแบบแม่เหล็ก (Magnetic Probe) เพื่อใช้วัดความเร็วของแผ่นพลาสมาที่เคลื่อนที่ภายในเครื่องพลาสมาโฟกัส (Plasma Focus)