Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ม.วลัยลักษณ์ จัดประชุมวิชาการ “อุตสาหกรรม (ใหม่) ไม่มีค่า จากป่าปลูกชุมชน เพื่อความยั่งยืน”ในงานมหกรรมการวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566

อัพเดท : 30/06/2566

711

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติและภาคีเครือข่าย จัดประชุมวิชาการ “อุตสาหกรรม (ใหม่) ไม้มีค่า จากป่าปลูกชุมชน เพื่อความยั่งยืน” ภายในงานมหกรรมการวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566 (Regional Research Expo 2023) ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร มาแทน หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ กล่าวเปิดการประชุม พร้อมด้วยคณะวิทยากร นักวิชาการ คณาจารย์ นักศึกษาและผู้สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ ห้อง 5217 อาคารเรียนรวม 5 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 

     การประชุมวิชาการ“อุตสาหกรรม (ใหม่) ไม้มีค่า จากป่าปลูกชุมชน เพื่อความยั่งยืน” ในครั้งนี้ ประกอบด้วยการเสวนาการพลิกโฉมการบริหารจัดการป่าไม้ของชาติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดย คุณสมเดช คงเกื้อ อดีตข้าราชการกรมป่าไม้ และโครงการส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจ จ.นครศรีธรรมราช คุณคีรี เถือนเหมือน หัวหน้าฝ่ายบริหาร องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคใต้ และคุณธานินทร์ ศรีเบญขรัตน์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การถ่ายทอดผลงานวิจัย “เทคนิคการอบไม้สะเดาเทียม ตะเคียน ยางนา ประสิทธิภาพสูง”  ได้แก่ ความจำเป็น ความรู้พื้นฐานและการพัฒนาเทคนิคการอบไม้มีค่าในอุตสาหกรรม โดยรองศาสตราจารย์ ดร. นิรันดร มาแทน หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การพัฒนาเทคนิคการวัดความเค้นในไม้สำหรับการอบไม้มีค่าในอุตสาหกรรม โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สถาพร จันทวี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช  การออกแบบตารางการอบไม้ เทียว ตะเคียน และยางนา โดยใช้เทคนิคการวัดแรงคืนตัวของชิ้นไม้ผ่าครึ่ง โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สัจจพันธ์ ลีละตานนท์ รองคณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และระบบควบคุมการอบไม้อัติโนมัติควบคุมโดยค่าความเค้นที่เกิดขึ้นในไม้ระหว่างการอบ โดยนายทวีศิลป์ วงศ์พรต  นักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

     นอกจากนี้ภายในงานมหกรรมการวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566  ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ ยังได้ร่วมจัดบูธแสดงผลงานวิชาการ จำนวน 3 บูธ ประกอบด้วย  1) วิธีการอบไม้ปาล์มน้ำมันรูปแบบใหม่แบบครบวงจร 2) การใช้ประโยชน์ไม้ในงานโครงสร้างในตัวอาคาร และ3) การประยุกต์ใช้ยางพาราด้านอุปกรณ์ช่วยฝึกตำรวจ ทหาร