
ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ ศูนย์ปฏิบัติการอาหารวลัยลักษณ์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการทักาะเชฟ จัดโครงการอบรม "การทำน้ำยาปลาอินทรีย์" มุ่งส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ณ ครัวโปรเชฟ ศูนย์ฝึกปฏิบัติการอาหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ขนมจีนน้ำยา อาหารพื้นเมืองอันเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ ไม่ได้เป็นแค่เมนูง่ายๆ แต่แฝงไว้ด้วยเรื่องราว ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม ที่ถ่ายทอดผ่านรุ่นสู่รุ่น ขนมจีนน้ำยาจึงเป็นมากกว่าคำว่า "อาหาร" แต่คือ "มรดกทางวัฒนธรรม" เสน่ห์ของขนมจีนน้ำยา มีรสชาติกลมกล่อม น้ำยาแต่ละชนิดมีเอกลักษณ์เฉพาะ เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ครบรส มีความหลากหลาย น้ำยาหลากหลายสูตร แกงไตปลา แกงกะทิ น้ำพริก เลือกทานได้ตามใจชอบ เส้นขนมจีนเหนียวนุ่ม ทานคู่กับน้ำยา ผัก และเครื่องเคียง เป็นมากกว่าแค่ "อาหาร" เพราะเป็นมรดกทางวัฒนธรรม สะท้อนวิถีชีวิต ภูมิปัญญา การเกษตร การประมง ของชุมชน การรับประทานขนมจีนเป็น ตัวเชื่อมความสัมพันธ์เพราะนิยมทานกันในงานมงคล งานประเพณี สร้างความสามัคคี เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น บ่งบอกถึงวัฒนธรรมอาหาร ดึงดูดนักท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นตัวแทนของ ภูมิปัญญา สูตรอาหารที่สืบทอดมายาวนาน วัฒนธรรม ประเพณีการกิน การทำน้ำยา วิถีชีวิต การพึ่งพาธรรมชาติ การเกษตร การประมง
การอบรมน้ำยาขนมจีนเป็น การสืบสานสูตรอาหาร ถ่ายทอดให้รุ่นหลัง สนับสนุนวัตถุดิบท้องถิ่น ผัก สมุนไพร ปลา ส่งเสริมการท่องเที่ยว และร่วมพัฒนา ชุมชน เศรษฐกิจท้องถิ่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน บูรณาการการเรียนการสอน หลักสูตรศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโปรเชฟ เข้ากับโครงการพัฒนาชุมชน ผ่านการอบรมการทำ "น้ำยาปลาอินทรีย์" เมนูอัตลักษณ์ท้องถิ่น
กิจกรรมอบรม "การทำน้ำยาปลาอินทรีย์" มุ่งหวังส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยนักศึกษาหลักสูตรศิลปะการประกอบอาหาร ผู้ประกอบการและผู้สนใจ ได้มีโอกาสเรียนรู้ ฝึกฝน และลงมือปฏิบัติจริง การบูรณาการ ในครั้งนี้ ไม่ได้มุ่งหวังแค่ให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะการประกอบอาหาร แต่ยังเป็นการ ส่งเสริมองค์ความรู้ : เกี่ยวกับวัตถุดิบ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณค่าทางวัฒนธรรม พัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม สร้างประสบการณ์จริง ในการทำงานร่วมกับชุมชน ตอบสนองความต้องการ ของตลาด ส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น การอบรม สอนสูตรน้ำยาปลาอินทรีย์ต้นตำรับ ที่รสชาติเข้มข้น กลมกล่อม สอนเทคนิคการคัดเลือกวัตถุดิบ ปลาสดและเครื่องเทศ สอนเทคนิคการปรุงที่ทันสมัยแต่คงรสชาติดั้งเดิม ผู้เข้าร่วม ได้รับความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ โดยโครงการคาดหวังว่าชุมชนจะมีผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สร้างรายได้ให้กับชุมชน และการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น