Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เที่ยวแบบ “Low Carbon Tourism”

อัพเดท : 23/08/2567

641

          ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์งานพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม (Social engagement) ภายใต้โครงการการพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในพื้นที่ชุมชนชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร.อรอนงค์ เฉียบแหลม รองศาสตราจารย์ ดร.ลักษณ์นารา ขวัญชุม สำนักวิชาการจัดการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล ถิ่นสุราษฎร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ลงพื้นที่ถ่ายทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการวิชาการรับใช้สังคม ถ่ายทำโดย MeeDee TV นครศรีธรรมราช ในการการประชาสัมพันธ์โปรแกรมการท่องเที่ยวแบบ One day trip ชุมชนชายฝั่งจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ      ในชุมชนชายฝั่งทะเล โดยการนำโปรแกรมการศึกษาหรือกิจกรรมส่งเสริมความยั่งยืนด้านการจัดการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการท่องเที่ยว โดยต่อยอดการท่องเที่ยวเชิงวิถีที่มีอยู่เดิมเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ และทำเส้นทางการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในพื้นที่ชุมชนชายฝั่งทะเลจังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบคลุม 4 พื้นที่ ได้แก่ กลุ่มธนาคารปูม้าบ้านปากพญา กลุ่มธนาคารปูม้าบ้านปากน้ำปากพูน กลุ่มธนาคารปูม้าบ้านแหลมโฮมสเตย์ และศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าและประมงชายบ้านในถุ้ง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวแบบ Low carbon Tourism โดยต่อยอดการท่องเที่ยวเชิงวิถีที่มีอยู่เดิมเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ชาวประมงและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจและให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสังคมคาร์บอนต่ำตามเป้าหมายของรัฐบาล

         โดยการเส้นทางการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Tourism ท่องเที่ยวที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและรบกวนสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ผสมผสานแนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยวแบบมีความรับผิดชอบ สำหรับการเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ สามารถเที่ยวแบบง่ายๆ ด้วยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก การเลือกยานพาหนะโดยไม่ต้องพึ่งพาพลังงาน การเลือกใช้จักรยาน หรือเรือระบบโซล่าเซลล์ ประหยัดพลังงาน ลดปัญหาขยะ การเลือกรับประทานอาหารที่เน้นการใช้อัตลักษณ์ท้องถิ่น เน้นการท่องเที่ยวประเภทอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่ส่งเสริมการลดการปลดปล่อยคาร์บอน เช่น กิจกรรมปลูกป่าชายเลน การเก็บขยะ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นต้น

          ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายตาม SDG ข้อที่ 14 Life below water (อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) ข้อที่ 13 Climate Action (ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น) และข้อที่ 17 Partnerships for the Goals (สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย)

 

  

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://cas.wu.ac.th/archives/29056