
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ในวาระก่อนการประชุมบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 2/2568 ณ ห้องประชุมช่อประดู่ ชั้น 4 อาคารโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้แก่นักศึกษาและบุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับประกาศนียบัตรของ UKPSF ระดับ Fellow ได้แก่ อาจารย์รัฐวรรณ สมพร สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถกล ตั้งผาติ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
มอบเกียรติบัตรเพื่อแสดงความยินดีแก่ นักศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2567 - 31 มกราคม 2568 อุทยานพฤษศาสตร์ จำนวน 4 คน ได้แก่ นางสาวญานิกา จันทร์เมือง นางสาวนัชชา เกิดอินทร์ นางสาวปรัชดา โอทองคำ และนางสาวปาลิตา ศรีสมทรง
มอบเกียรติบัตรชื่นชมการปฏิบัติงานขององค์การนักศึกษา ในโอการหมดวาระประจำปีการศึกษา 2567 โดยมี นายปฏิพัฒน์ จีนชุม นายกองค์การบริหาร เป็นผู้รับมอบ
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี นางสาวกนิษฐา จันทร์ประสิทธิ์ สำนักวิชาครุศาสตร์และศิลปศาสตร์ ได้รับตำแหน่ง Miss University Nakhon Si Thummarat 2024 และ นายผจงศักดิ์ ลิ้มเซ่ง สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ได้รับตำแหน่ง ขวัญใจเครือข่ายอุดมศึกษา 2024
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่นักศึกษาที่คว้ารางวัลจากเวที “ธรรมศาสตร์เกมส์ 2025” จำนวน 3 รางวัลได้แก่
นางสาวพัชรชล ขอสวัสดิ์ นักศึกษาสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง
นางสาวอุษามณี ศรีสว่าง นักศึกษาสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง
นายยงยศ ยิ่งยงค์ นักศึกษาสำนักวิชาครุศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่นักศึกษาที่ คว้ารางวัลจากเวที แข่งขันกีฬายูโดยในการแข่งขันกีฬา JUDO KU OPEN 2025 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
นายธีรภัทร บุมี นักศึกษาสำนักวิชาครุศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง
นายรณกฤต จิตรชูชื่น นักศึกษาสำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง
นายณัฐพงศ์ พุฒใหญ่ นักศึกษาสำนักวิชาครุศาสตร์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เหรียญเงิน
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่นักศึกษาที่ คว้ารางวัลจากเวที Thailand Macro Business Simulation 2025 การแข่งขันเกมธุรกิจจำลองระดับชาติ ซึ่งปรากฏว่า
นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ ประกอบด้วย Nay Ye Lin , Nang Kham Nwet , Zaya Lynn และ Phyu Lei Khin คว้ารางวัลชนะเลิศ โดยมีอาจารย์ ดร.กนกวรรณ รัตนบุรี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
นักศึกษาสำนักวิชาการบัญชีและการเงิน ประกอบด้วย นายเนปาน เย็บปัก , นายฌานุวัฒน์ ศรีสุภผลโภชน์ , นายภูวฤทธิ์ มีเผาะ , นายกิตติภพ นุชงิ้วงาม คว้ารางวัลอันดับที่ 5 และ นายศิริศักดิ์ ศรีวรมย์ , นายรฐนนท์ มากวุ่น ,นางสาวกัลยรัตน์ รัชตะสมบูรณ์ และนางสาวมุฑิตา พนัสนอก คว้ารางวัลอันดับที่ 6 โดยทั้ง 2 ทีมมี อาจารย์ ดร.นิษฐิดา สุดใหม่ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่นักศึกษาสำนักวิชาการบัญชีและการเงิน ที่ คว้าอันดับ 4 ในการแข่งขันตอบคำถามทางบัญชี ระดับประเทศ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2568 หรือ Thailand Accounting Challenge 2025 ซึ่งประกอบด้วย นางสาวอินทิรา อุยพัฒน์ , นางสาวชนิดา พวงเกษ , นางสาวปัทมา ปิ่นธุรัตน์ , นายกชนน สวนพลาย , นางสาวกมลชนก เต็มไป และนางสาวจันทิมา นวคุณากร โดยมีอาจารย์ ดร.กนกวรรณ มีสุข เป็นผู้ควบคุมทีม
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่นักศึกษาสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ที่คว้า 10 รางวัล การแข่งขันในงาน “การประชุมวิชาการระดับปริญญาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ซึ่งประกอบด้วย
(1) ถ้วยรางวัล Champion Award รางวัลสุดยอดผลงานทางวิชาการที่มีคะแนนรวมสูงที่สุด
(2) รางวัลชนะเลิศ ภาคบรรยาย สาขาพืชศาสตร์ เรื่อง การจำแนกการขาดธาตุอาหารในเมล่อนสายพันธุ์แค็ท 697 โดยใช้ลักษณะของใบและฮีสโทแกรมสี : นายสิทธิพล ชูสุวรรณ และ นางสาวกาญจนาภรณ์ ปานเจริญ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรเกษตรศาสตร์และนวัตกรรม
(3) รางวัลชนะเลิศ ด้านนวัตกรรมการเกษตรหรือสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง กาบดำกรอบ (ข้าวเกรียบว่าวจากแป้งข้าวกาบดำ) : นางสาวจิดาภา ไชยเหมือน นางสาวณัฐอาภา จำปา และ นางสาวตรีชดา อยู่เมืองไทย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิทยาศาสตร์อาหารและนวัตกรรม
(4) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ภาคบรรยาย สาขาพืชศาสตร์ เรื่อง การเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัดกรีน คอสที่ปลูกในระบบไม่ใช้ดิน โดยใช้ตะกอนเลนบริเวณชายฝั่งทะเลสาบสงขลา : นายกิตติศักดิ์ อุดมพรสุขสันต์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรเกษตรศาสตร์และนวัตกรรม
(5) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ภาคโปสเตอร์ สาขาพืชศาสตร์ เรื่อง การเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัดกรีนคอสที่ปลูกในระบบไม่ใช้ดิน โดยใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผลิตจากปลาทะเลร่วมกับเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis : นายณัฐวุฒิ เพ็ชระ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรเกษตรศาสตร์และนวัตกรรม
(6) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ภาคโปสเตอร์ สาขาสัตวศาสตร์ เรื่อง ผลการเสริมกากเมล็ดกัญชงอัดน้ำมันในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่ลิกอร์ : นางสาวสุธาวรรณ แก้วทะโร นายบุรัสกร วันเพ็ญ และนายปกรณ์ โยวิวัฒน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรเกษตรศาสตร์และนวัตกรรม
(7) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ภาคบรรยาย สาขาพืชศาสตร์ เรื่อง ประสิทธิภาพของการใช้เชื้อรา Trichoderma asperellum 2 สายพันธ์ร่วมกันต่อการควบคุมโรครากเน่าของแตงโม : นางสาวนุรอัยนี มะเยาะ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรเกษตรศาสตร์และนวัตกรรม
(8) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ภาคบรรยาย สาขาวิศวกรรมเกษตรฯ เรื่อง Predictive Model for the Density of Vegetable Oils Using Machine Learning : นางสาวณัฐอาภา จำปา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิทยาศาสตร์อาหารและนวัตกรรม
(9) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 การแข่งขันพูดส่งเสริมเกษตร เรื่อง จุดประกายความคิด ชี้ทิศนวัตกรรมใหม่ เกษตรไทยเพิ่มมูลค่า ร่วมพัฒนาอย่างยั่งยืน : นางสาวมณีรัตน์ นามโน นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิทยาศาสตร์อาหารและนวัตกรรม
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่นักศึกษาสำนักวิชานิติศาสตร์ คว้ารางวัลชนะเลิศ จากเวที การประชุมวิชาการระดับชาติด้านนิติศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “การสร้างความมั่นคงในโลกที่เปลี่ยนแปลง” ซึ่งประกอบด้วย นายปัณณธร เพชรลอย และนายฮารอฟัต ทรงเลิศ
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่นักศึกษาและทีมวิจัย หลักสูตรวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับ 4 รางวัล จากเวทีมหกรรมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ (IPITEx 2025) ภายในงานวันนักประดิษฐ์ 2568 (Thailand Inventors’ Day 2025) ดังนี้
รางวัลชนะเลิศ Best of the Best “Grand Prize 2025” จากผลงานเรื่อง “Innovative Bi-axial composite wire mesh” ได้รับคะแนนสูงสุดในปี 2568 รายชื่อคณะวิจัย ได้แก่ นางสาวภัคจิรา อ่อซ้าย และรศ.ดร ทนงศักดิ์ อิ่มใจ
ผลงาน Eco-friendly Geopolymer Lava bench (โดยมีระดับความพร้อมเทคโนโลยี TRL=4) รายชื่อคณะวิจัย ได้แก่ นายฟีซัลฮัยดัร มามะ , นางสาวธฤตวัน อังกูรปุณวนิช , นายอัซรอน มะลี , นายมุคลิส ซารีแปเราะ และนายอัฟนัน ปูเต๊ะ ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง
ผลงาน Low-carbon Recycled aggregate Concrete Rail sleeper (โดยมีระดับความพร้อมเทคโนโลยี TRL=4) รายชื่อคณะวิจัย ได้แก่ นายศอลีฮีน ฮาแว นายกวินภพ นบนอบ และ Dr. Radhika Sridhar ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง
ผลงานInnovative GFRP wire mesh for green construction (โดยมีระดับความพร้อมเทคโนโลยี TRL=9) รายชื่อคณะวิจัย ได้แก่ นางสาวสุวีรยา ประไพวรรณ์ นางสาวปิยฉัตร ทองจันทร์ และนางสาวศิริกานต์ ชาลี
โดยทุกรางวัลมีรองศาสตราจารย์ ดร. ทนงศักดิ์ อิ่มใจ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ ได้รางวัล 1 เหรียญทอง และ 7 เหรียญเงิน ในงานโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม Thailand New Gen Inventors Award 2025 (I – New Gen 2025) จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดังนี้
รางวัลเหรียญทอง กลุ่มสุขภาพและการแพทย์
(1) โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์คัดกรองโรคตาเขด้วยตนเองโดยอัตโนมัติ ได้แก่ นางสาวชญานิศ ชนะการ และนางสาวชิดชนก เสงี่ยมวงษ์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนพงศ์ เกิดทองมี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
รางวัลเหรียญเงิน กลุ่มสุขภาพและการแพทย์
(1) ระบบตรวจสอบและติดตามภาวะความกังวลโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ร่วมกับสัญญาณทางสรีระวิทยาเพื่อสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ นางสาวกฤตพร รักนุ้ย , นายสุรพัศ แซ่ตั้น , นายสุรพัศ หกหนู , นางสาวอารีดา ทิ้งจะนะ , นายจิตติพัฒน์ เพ็ชรเส้ง และนางสาวกชกร โกสิยพันธุ์ โดยมีอาจารย์ ดร.มัลลิกา เกลี้ยงเคล้า เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
(2) KneeScan AI : ระบบตรวจสอบและวิเคราะห์โรคข้อเข่าเสื่อมความละเอียดสูงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ นายภีมพศ นวลนิ่ม และนายอัฟฎอน สแลแม โดยมีอาจารย์ ดร.อาสาฬห์ชัย สุขเกื้อ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
(3) HearSafe : ระบบการแยกและวิเคราะห์เสียงอัจฉริยะเพื่อความปลอดภัยสําหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ นายนูรอาบีดีน สาอิ และนายอมรเทพ เชทรี โดยมีอาจารย์ ดร.อาสาฬห์ชัย สุขเกื้อ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
(4) PHQ-9 ผ่านเสียง: นวัตกรรมประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้แก่ นายธนภัทร บุญรุ่ง และ นายศุภวิชญ์ มีศักดิ์ โดยมีอาจารย์ ดร.อาสาฬห์ชัย สุขเกื้อ และนายสุพัทธ แสนแจ่มใส่ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
รางวัลเหรียญเงิน กลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
(1) จากเสียงสู่ใจ : การพัฒนาแบบจําลองเพื่อจําแนกทัศนคติการพูดของนักท่องเที่ยว ได้แก่ นายณัฐวุฒิ จิระพันธ์ นางสาวอนันตญา เหล็กเกิดผล นายวีรพงศ์ เปี่ยนจิต และนางสาวธิดารัตน์ อาจหาญ โดยมีอาจารย์ ดร.อาสาฬห์ชัย สุขเกื้อ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
(2) การพัฒนาเทคโนโลยีตรวจจับรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า: AI และการวิเคราะห์ภาพเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในอุตสาหกรรมการดูแลเสื้อผ้า ได้แก่ นายกันตพงศ์ ลักขณาวงศ์ นางสาวปรียาพร เหล่าติวานนท์ และนางสาวสุภัสสร ไชยวรรณ โดยมีอาจารย์ ดร.อาสาฬห์ชัย สุขเกื้อ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
รางวัลเหรียญเงิน กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ
(1) การพัฒนาเสาอัจฉริยะเทคโนโลยี IoT และการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศเพื่อการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ได้แก่ นางสาวกานต์ทิพย์ ไร่ใหญ่ และนายภคกรณ์ พัดแบน โดยมีอาจารย์ ดร.อาสาฬห์ชัย สุขเกื้อ และ DR.Md Eshrat E Alahi เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่นักศึกษาสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ คว้า 2 รางวัลในเวที"2025 Bangkok International Intellectual Property, Invention, Innovation and Technology Exposition" (IPITEx 2025) in "Thailand Inventors' Day 2025" ดังนี้
รางวัลเหรียญทอง จำนวน 1 รางวัล ผลงานเรื่อง “การพัฒนาระบบตรวจจับการจมน้ำด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และการประมวลผลภาพ” ได้แก่ นางสาวสุชาวดี อุบลกาญจน์ , นายอิทธิวัฒน์ ลิ้มประเสริฐ , นายธีรภัทร เพชรศรี โดยมีอาจารย์ ดร.อาสาฬห์ชัย สุขเกื้อ และรองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนพงศ์ เกิดทองมี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
รางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 1 รางวัล ผลงานเรื่อง “การทำนายการกระจายความร้อนของเซลล์แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมและการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์” ได้แก่ นางสาวเกวลิน เศวตะดุล , นางสาวมนทิรา ธรรมบำรุง , นางสาววราภรณ์ ประวัติ โดยมี อาจารย์ ดร.อาสาฬห์ชัย สุขเกื้อ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่นักศึกษาสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ที่ได้รับรางวัล 4 รางวัล จากการแข่งขันดังนี้
รางวัลชมเชย การแข่งขันคลิปวิดิโอส่งเสริมการใช้อย่างอย่างเหมาะสม โครงการ Make It Right เพราะเราใส่ ใจทุกการใช้ยา" ได้แก่ นางสาวอาฟานี มูลทรัพย์ , นางสาวกัญญาณัฐ จันทร์ทิพย์ และนางสาวอชิรญา นพสุวรรณ์
รางวัลเหรียญทอง แบตมินตันชายเดี่ยว กีฬาเภสัชสัมพันธ์ ครั้งที่ 33 ได้แก่ นายพนธกร ศรีรุ่ง
รางวัลเหรียญเงิน แบตมินตันคู่ผสม กีฬาเภสัชสัมพันธ์ ครั้งที่ 33 ได้แก่ นายณัฐดนัย ธีรโรจนวงศ์ และนางสาวกานติมา จาวสุวรรณวงษ์
รางวัลชมเชย การแข่งขันทักษะการซักประวัติ ภาคภาษาอังกฤษ โครงการ PSAT Pharmaceutical Event 2024 ได้แก่ นางสาวอาฟานี มูลทรัพย์ และนางสาวปวริศา สุนธารักษ์
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการนำเสนอผลงานวิชาการด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย ในการแข่งขันกีฬาเครือข่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาสัมพันธ์ ครั้งที่ 23 "ราชาวดีเกมส์" ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง จังหวัดพัทลุง ที่มีผู้เข้าร่วมกว่า 14 สถาบันทั่วประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย
ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวกัญญาณี สิงห์วิสัย , นายพศุตม์ ภิญญานิล , นางสาวศศิวรรณ จันทร์แก้ว , นางสาวอภิชญา ด้วงเล็ก , นายธีรไนย ลาชโรจน์ และนายดนุพล ขมักการ โดยมีอาจารย์เดชา ชินอักษร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายกฤติภัท เพราพริ้ง , นายนวภัทร แก้วคลิ้ง , นางสาวกัญญาณัฐ โสภารัตน์ , นายปณชัย ผ่องแผ้ว , นายรัชชานนท์ ไชยสิทธิ์ และนายณัฐกมล สุโพธิ์ โดยมีอาจารย์อริษา เศษเพ็ง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีเนื่องด้วย Asian Journal of Arts and Culture ได้รับการตอบรับ (Accepted) บรรจุในฐานข้อมูลนานาชาติ Scopus เป็นวารสารเล่มที่ 2 ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopusได้รับการ Accept เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2568 ที่ปรึกษาได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รองศาสตราจารย์ ดร.อุไร จเรประพาฬ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาริสา ภูมิภาค ณ หนองคาย หัวหน้ากองบรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีเนื่องด้วย บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้รับรางวัล จาก “โครงการเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” ของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดยมีชื่อดังนี้
(1) นายวิชชุกร ด่านเดชา ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล สอบผ่านและได้รับประกาศนียบัตรด้าน Cyber Security ระดับนานาชาติ จำนวน 3 หลักสูตร และได้รับประกาศนียบัตรจาก สกมช. จำนวน 4 หลักสูตร
(2) นายวิศิษฎ์ เรืองพรหม ตำแหน่งวิศวกร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้รับประกาศนียบัตรจาก สกมช. จำนวน 1 หลักสูตร
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีเนื่องด้วย โครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่ได้รับทุนจากแหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568) หัวหน้าโครงการที่ได้รับทุนได้แก่
(1) รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ สำนักวิชาการจัดการ
(2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
(3) รองศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา จุ้งลก สำนักวิชาสหเวชศาสตร์