Location

0 7567 3000

แนะนำนักวิจัยเด่น

รองศาสตราจารย์ ดร.อุไร จเรประพาฬ : การพัฒนาระบบและนวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น

อัพเดท : 30/07/2567

620



รองศาสตราจารย์ ดร.อุไร  จเรประพาฬ   อาจารย์ประจำสาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก  สาขาการพยาบาล มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระดับปริญญาโท สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกาศนียบัตรพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นสูง (การพยาบาลและผดุงครรภ์ต่อเนื่อง 2 ปี) จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา และ ประกาศนียบัตรพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นต้น (การพยาบาลและผดุงครรภ์2 ปี) จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

รองศาสตราจารย์ ดร.อุไร  จเรประพาฬ   มีความเชี่ยวชาญทางด้าน

1) การจัดการระบบสุขภาพชุมชน

2) สารสนเทศทางสุขภาพและทางการพยาบาล 

3) การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 

รางวัลและผลงาน ของรองศาสตราจารย์ ดร.อุไร  จเรประพาฬ

ปี พ.ศ.

ชื่อรางวัลหรือการรับรองที่ได้รับ

สถาบัน/หน่วยงาน

2566

ศิษย์เก่าดีเด่นด้านการสร้างประโยชน์แก่สังคม ชุมชน

สถาบันพระบรมราชชนก

2566

ศิษย์เก่าดีเด่นด้านการบริหารองค์กรทางการพยาบาล

สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

2563

ศิษย์เก่าดีเด่นด้านการบริหารการพยาบาล

สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

2558

ศิษย์เก่าดีเด่นระดับบัณฑิตด้านการวิจัย

คณะพยาบาลศาสตร์ หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2553

 รางวัลกระบวนงานบริการประชาชนดีเด่นของ  อกพร.(เป็นผู้ดำเนินการ ศึกษาวิจัยและพัฒนา “FAP MODEL กระบวนการดำเนินงานเพื่อการจัดการสุขภาวะโดยชุมชน”)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

2552

ศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติยศด้านวิชาการ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

2550

พยาบาลดีเด่นสาขาการศึกษา

สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคใต้

2547

รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและทันตแพทย์ 

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

  

Pantong, U., Trapero, I., & Jareaprapal, U.. (n.d.). Analysis and prevention of falls among communitydwelling older adults in southern Thailand, Journal of Advanced Nursing:  2023;00:1–16. (https://doi.org/10.1111/Jan. 15945)

2. P. Chumpunuch, U. Jaraeprapal. (2022). The social determinants of health Influencing obesity for the aged in the Pakpoon community context: A qualitative study, International Journal of Nursing Sciences. 9 (2), 211-221.

3. Athit Boonrodchu, U. Jaraeprapal,  Kamlai Somrak and Rungnapha Boonrodchu. (2021). Development of the elderly care system by comparing the competencies of local communities in Kiriwong Subdistrict, Plai Phraya District. Krabi Province. Journal of Royal Thai Army Nursing. 22 (3).

4. Orapan Kongsrichai, Naiyana Nunin, U. Jaraeprapal. (2020). The role of palliative care of nurses in primary care units, health region 11.  Ramathibodi Journal of Nursing Journal, 26(3).

5. Thanawan Songprasert, U. Jaraeprapal, Samart Suwanpakdee and Kamlai Somrak. (2019). Community Action Model to Reduce the Use of Agrochemicals in Ban Pitam Community, Nakhon Si Thammarat Province. Research Journal for Spatial Development, 11(1).

6. U. Jaraeprapal  and Puangrat Jinpol. (2020). Database System Development for the Care of the Elders in the Community. Walailak J Sci & Tech;17 (5), 412-422.

7. Rachadaporn Chantasuwan and U. Jaraeprapal. (2018). The Relationship between Knowledge , Self-Management Behaviour for Pesticide Protection into the body and Serum Cholinesterase Level among  Farmers in Khao Pra Bat Sub District , Nakhon Si Thammarat. Faculty of Nursing Journal Burapha University. 27(1).

8. Rachadaporn Chantasuwan and U. Jaraeprapal. (2018). Behavior of Chemicals from Fruits and Vegetables Protection and Serum Level of Cholinesterase in the Consumers who Live in Khao Phra Bat Sub District, Nakhon Si Thammarat Province. Journal of The Department of Medical Services. 43(6).

9. Pikultip Kunset and U. Jaraeprapal (2019). Model of Health Promotion for the Elderly by Ban Bo Lo Community, Nakhon Si Thammarat Province. Research Journal for Spatial Development, 11(1), 78-92.

10. Marasee Kuanhin, U. Jaraeprapal. (2018). Competency Development of          Professional Nurses who work in Sub District Health Promotion Hospital. Region 11 Medical Journal, 32(4).

 

          3. หนังสือ/เอกสารประกอบการบรรยาย (5 ปีย้อนหลัง)

1. อุไร จเรประพาฬ และ คณะ. (2566). นวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น: 20 กรณีศึกษา ภาคใต้. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

2. อุไร จเรประพาฬ และ คณะ. (2562). การถอดบทเรียนและสังเคราะห์บทเรียนชุมชน ด้วยการวิจัยเชิงชาติพันธ์วรรณนาแบบเร่งด่วน(Rapid Ethnographic Research for Community Study: RERCS). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

4. นวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ (5 ปีย้อนหลัง)

 1. Arthit Boonrodchu, Rachadaporn Juntasuwan and Urai Jaraeprapal. (2023). Coi Du Lae. (ระบบคอยดูแลแพลทฟอร์มสนับสนุนการดูแลในชุมชน)

2. U. Jaraeprapal, M. Jitprapai. (2021). NurseApp for Qualitative Analysis. (ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ)

 

ผลกระทบของงานวิจัยต่อสังคมในด้านต่าง ๆ

 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
             ผลวิเคราะห์และสังเคราะห์ ผลการดำเนินงานของโครงการเพื่อบ่งชี้ผลผลิตและผลลัพธ์ต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ให้ชุมชนพึ่งพาตนเอง รู้รับปรับตัวได้ การรวมกลุ่มของกลุ่มคนในการฝึกอาชีพ สร้างรายได้ 
ลดรายจ่ายในครัวเรือน และมีปราชญ์ชาวบ้านให้ความรู้ หน่วยงานเข้ามาเสริมทักษะ หนุนเสริมกลุ่มอาชีพ จัดการตลาดของสินค้า โดยการประชาสัมพันธ์ผ่าน Page Facebook, Line ส่งเสริมทำงานเชิงเศรษฐกิจ (การได้ค่าตอบแทน) เพิ่มขึ้น งานฝีมือที่ทำขึ้นหรือผลิตแล้วนำไปจำหน่ายตามตลาดใน นอกชุมชน และตลาดออนไลน์ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำบัญชีครัวเรือน และร่วมสมทบกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนอื่นได้

 

เสริมสร้างศักยภาพและทักษะของบุคลากรและสร้างเครือข่ายคนทำงานในพื้นที่ โดยการจัดฝึกอบรมหรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ การนำใช้เครื่องมือทางวิชาการ เพื่อออกแบบกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะร่วมของเครือข่ายและผลักดันให้มีการนำสู่ปฏิบัติการของท้องถิ่นและขยายในเครือข่าย รวมถึงเชื่อมโยงกับขบวนการของเครือข่ายในพื้นที่อื่นๆ

ผลกระทบต่อการศึกษาและวิชาการ
           ผลการขับเคลื่อนงานวิจัยของสถาบันการศึกษาได้ร่วมเรียนรู้ เป็นพื้นที่ต้นแบบสำหรับการเรียนการสอน  (Teaching community) จะหนุนเสริมรูปแบบ วิธีการทำงานวิจัย งานบริการวิชาการสายรับใช้สังคม
ที่เสริมการนำทฤษฎี สู่การปฏิบัติ และการวิจัยได้อย่างเป็นวงจรที่เกื้อหนุนกัน ส่งผลให้นักศึกษามีอัตลักษณ์
ที่ชัดเจนในการทำงานสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน ศึกษาวิจัยในกระบวนการพัฒนาระบบและนวัตกรรม นำใช้องค์ความรู้ที่ได้สู่การปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทมากขึ้น

         

การพัฒนาต่อยอด/การพัฒนาศักยภาพ ผลงานวิจัยในอนาคต

          5.1 ปัจจัยทำนายภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุเขตพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย (Factors Predicting of Elders with Dementia in Southern Regions of Thailand

          5.2 The Elders care System Development: Thasala Subdistrict, Southern of Thailand

          5.3 The social determinants of health influencing obesity for the aged in the Pakpoon community context: A qualitative study

          5.4 เปรียบเทียบรูปแบบการดูแลและป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัส โควิด-19 ระหว่างคนไทยและอินโดนีเซีย

          5.5 โครงการ หนึ่งสำหนักวิชา หนึ่งผลิตภัณฑ์ - “แพลทฟอร์ม Coi Du Lae (คอยดูแล)”

          5.6 การขับเคลื่อนเครือข่ายองค์กรกลางร่วมสร้างเมืองคอนสู่ชุมชนสุขภาวะ

          5.7 การพัฒนาระบบการจัดการโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุโดยชุมชนในบริบทของจังหวัดนครศรีธรรมราช

          5.8 สร้างเสริมสุขภาวะฝ่าวิกฤตลดผลกระทบการระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชนภาคใต้ตอนบน