Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

ม.วลัยลักษณ์ ฉลองความสำเร็จในโอกาสที่มีอาจารย์ผู้สอนได้รับการรับรองมาตรฐานการสอนตามกรอบ UKPSF กว่า 90% มากที่สุดในประเทศไทย

อัพเดท : 17/11/2564

1247

ม.วลัยลักษณ์ ฉลองความสำเร็จในโอกาสที่มีอาจารย์ผู้สอนได้รับการรับรองมาตรฐานการสอนตามกรอบ UKPSF กว่า 90% มากที่สุดในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดพิธีเฉลิมฉลองความสำเร็จ เนื่องในโอกาสที่มีอาจารย์ผู้สอนผ่านการรับรองมาตรฐานวิชาชีพเพื่อการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของประเทศอังกฤษ The UK Professional Standards Framework (UKPSF) มากกว่า 90% ของอาจารย์ทั้งหมด ซึ่งมากที่สุดในประเทศไทย 

 

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในกิจกรรมเฉลิมฉลองความสำเร็จ เนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีอาจารย์ผู้สอนผ่านการรับรองมาตรฐานวิชาชีพเพื่อการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของประเทศอังกฤษ หรือ The UK Professional Standards Framework (UKPSF) มากที่สุดในประเทศไทย จำนวน 450 คนคิดเป็นร้อยละ 95.88 ต่ออาจารย์ทั้งหมดที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ (ข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2564) แบ่งเป็นระดับ Fellow  จำนวน 393 คน ,Senior Fellow จำนวน 56 คน และ Principal Fellow จำนวน 1 คน โดยกิจกรรมจัดขึ้น ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารอำนวยการ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting และถ่ายทอดสดทางเพจ Walailak Channel  เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา

ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

          โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “UKPSF กับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทย” ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ“การปฏิรูปการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” รองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและพัฒนาการเรียนการสอน เป็นผู้ดำเนินรายการและอาจารย์ ดร.สุธัญญา ด้วงอินทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาการเรียนการสอน กล่าวสรุปผลจากการนำระบบ UKPSF มาใช้กับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วย Mr.Lan Hall , Head of Membership (International), Adcance HE ,Ms.Kathy Wright, Asistant Director ,Knoeledge ,Innovation and Delivery (KID),Advance HE และ Assoc. Prof. Dr. Andy Hudson , Advance HE Consultant ร่วมกล่าวแสดงความยินดีแก่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และผู้ผ่านการรับรองมาตรฐาน UKPSF ทั้งหมด

          ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า คุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือกระบวนการสอนหรือวิธีการสอนที่ผู้สอนใช้ในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งการเรียนการสอนของประเทศไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์มาอย่างยาวนานว่าให้ความสำคัญกับการเรียนแบบท่องจำ ทำให้นักเรียนไทยขาดทักษะการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ไม่เป็นเช่นนั้นเพราะเราโชคดีที่ได้ร่วมงานกับศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ผู้ซึ่งเป็นนักวิชาการที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคนหนึ่งในวงการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย และในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่านได้แนะนำให้ผู้บริหารรู้จักกับ UKPSF

                  ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การปฏิรูปการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นหนึ่งในสิ่งแรกๆที่ตนคิดตั้งแต่เริ่มดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในปีพ.ศ. 2559 ณ ขณะนั้น ตนเองกำลังมองหารูปแบบการสอนที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา และล้มเลิกการเรียนการสอนแบบท่องจำและได้คำตอบว่า  UKPSF เป็นกรอบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาฝึกคิดและลงมือทำ อีกทั้งยังได้รับการพัฒนาและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นอกจากนี้ UKPSF ยังมีส่วนช่วยพัฒนาแนวคิดด้านกระบวนการสอนอย่างเป็นมืออาชีพ ซึ่งช่วยในการทำให้อาจารย์สามารถติดตามดูแลผลการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น อีกทั้งยังสนับสนุนเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการเน้นไปที่การวัดผลการเรียนแบบรายบุคคล ซึ่งการประเมินผลการเรียนรู้แบบนี้เป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการคิดเชิง วิเคราะห์และสังเคราะห์ให้แก่นักศึกษา ดังนั้น กรอบการเรียนรู้ UKPSF จึงทำให้กระบวนการเรียนรู้และการสอนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีคุณภาพ เพื่อก้าวสู่มหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพต่อไป

                 ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวต่อไปอีกว่า ขอขอบคุณทีมผู้เชี่ยวชาญจาก Advance Higher Education, Miss Kathy Wright, Associate Professor  Andy Hudson และ Mr. Ian Hall ที่ทุ่มเทและมีส่วนร่วมในการทำให้กระบวนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ก้าวสู่ระดับโลก  โดยตั้งแต่ปี 2017 Kathy และ Andy ได้จัดเวิร์คช็อปสำหรับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นจำนวน 4 กลุ่ม และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทางมหาวิทยาลัยได้จัดการฝึกอบรมที่เรียกว่า "Pre- UKPSF" สำหรับอาจารย์ที่ไม่ได้อยู่ใน 4 กลุ่มแรกนั้น ผลปรากฎว่าแทบไม่มีอาจารย์ท่านใดที่ไม่ผ่านการทดสอบกระบวนการเรียนการสอนของ UKPSF โดยสรุปคือ รูปแบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปตามหลักการสอนของ UKPSF เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

                   ปัจจุบัน มากกว่า 90% จากจำนวนอาจารย์ทั้งหมด 450 ท่านของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ผ่านคุณสมบุติทุกประการและได้รองรับจาก HEA fellowships เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญและความสำเร็จของรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งทำให้ชาววลัยลักษณ์ทุกคนภาคภูมิใจ

                  “ผมขอเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในการขอบคุณ  ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน, Mr. Ian Hall, Ms. Kathy Wright, Associate Professor Andy Hudson คณะผู้บริหารจาก Advance HE รวมไปถึงคณาจารย์ทุกท่านที่ทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจจนทำให้ประสบความสำเร็จในวันนี้ และเพื่อให้นักศึกษาของเราได้ศึกษาอยู่ในระบบการศึกษาที่มีคุณภาพต่อไป” ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าว

ม.วลัยลักษณ์ ฉลองความสำเร็จในโอกาสที่มีอาจารย์ผู้สอนได้รับการรับรองมาตรฐานการสอนตามกรอบ UKPSF กว่า 90% มากที่สุดในประเทศไทย ม.วลัยลักษณ์ ฉลองความสำเร็จในโอกาสที่มีอาจารย์ผู้สอนได้รับการรับรองมาตรฐานการสอนตามกรอบ UKPSF กว่า 90% มากที่สุดในประเทศไทย

ม.วลัยลักษณ์ ฉลองความสำเร็จในโอกาสที่มีอาจารย์ผู้สอนได้รับการรับรองมาตรฐานการสอนตามกรอบ UKPSF กว่า 90% มากที่สุดในประเทศไทย

 

ประมวลภาพ

ข่าวโดย น.ส.ชลธิชา ปานแก้ว ส่วนสื่อสารองค์กร
แปล : นายอรรฆย์พงศ์ พักตร์จันทร์ นักศึกษาสหกิจศึกษา ส่วนสื่อสารองค์กร
ภาพ:  น.ส.รัชฎาพร มีแก้ว นักศึกษาสหกิจศึกษา ส่วนสื่อสารองค์กร