Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ดำเนินโครงการเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กปฐมวัย เป็นปีที่ 3 (Early Childhood Education Equity Project: ECEEP)

26/05/2566

409

          โครงการเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กปฐมวัย ปีที่ 3  (Early Childhood Education Equity Project: ECEEP)  มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับขีดความสามารถและปิดช่องว่างผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยในท้องถิ่นด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบ “High Scope” กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 392 ศูนย์ 154 องค์การบริหารส่วนตำบล 27 อำเภอ ครอบคลุมเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3 – 6 ปี ระยะเวลาการดำเนินโครงการ 5 ปี แบ่งระยะเวลาการดำเนินโครงการออกเป็น 5 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 การสำรวจสถานการณ์เด็กปฐมวัย
ระยะที่ 2 การนำเสนอข้อมูลผลการสำรวจและเชิญชวนสถานศึกษากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
ระยะที่ 3 การศึกษาดูงานและการฝึกอบรมการจัดการเรียนการสอนแบบ High Scope
ระยะที่ 4 การตรวจเยี่ยมให้คำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ (Mentor)
ระยะที่ 5 การวิจัยและเก็บข้อมูลเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่องทุกปี (panel data)
          โครงการวิชาการรับใช้สังคมนี้จะก่อให้เกิดผลผลิตเชิงนวัตกรรมในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยและนำไปเป็นต้นแบบในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยของท้องถิ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ Goals 4: Quality Education, ensure inclusive and equitable quality education for all persons with disabilities และ Target 4.2: By 2030, ensure that all girls and boys have access to quality early childhood development, care and pre-primary education so that they are ready for primary education สำหรับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 3 ในการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายการให้บริการวิชาการและพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
WU-U-3-1-1 จำนวนชุมชน/ท้องถิ่นที่มหาวิทยาลัยเข้าไปช่วยพัฒนาหรือที่ได้รับประโยชน์จากผลงานบริการวิชาการ/วิชาการรับใช้สังคม
WU-D-3-1-2 จำนวนชุมชนต้นแบบด้านการบริการวิชาการ/วิชาการรับใช้สังคม
WU-D-3-1-3 จำนวนโครงการบริการวิชาการ/วิชาการรับใช้สังคมตามความต้องการของชุมชน
WU-D-3-1-4 จำนวนผู้เข้ารับการถ่ายทอดความรู้และเรียนรู้ผ่านกิจกรรม/ฝึกอบรม/แหล่งเรียนรู้ตลอดจนการเข้าถึงสื่อในรูปแบบ Lifelong learning
WU-D-3-1-6 ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการโครงการบริการวิชาการ
WU-D-3-1-7 จำนวนเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและการบริการวิชาการกับหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน/ชุมชน

โครงการวิจัยโดย  : อาจารย์ ดร.พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์ หัวหน้าสาขาวิชาครุศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์​

รับชมรายละเอียดโครงการได้ที่ https://youtu.be/8ua0SyC9lxw