Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

“พระแสงโมเดล: โมเดลระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก 74 หมู่บ้านและ 6 ชุมชน”

อัพเดท : 04/07/2561

2404



อีก 1 ใน 3 อำเภอนำร่องจากอำเภอทั้งหมดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยความร่วมมือของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอพระแสง และศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นับเป็นอีกหนึ่งอำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและพร้อมที่จะร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งได้เปิดตัวในโครงการ “พระแสงโมเดล” เครือข่ายระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร. จรวย สุวรรณบำรุง หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้กล่าวว่า “พระแสงโมเดล” เป็นการดำเนินการที่มีต้นแบบมาจาก
“ลานสกาโมเดล” และ “ไชยาโมเดล” หากมีการดำเนินการที่เต็มรูปแบบและต่อเนื่องเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถสร้างความตื่นตัวของประชาชนและนำไปสู่การลดลงของอัตรการเกิดโรคไข้เลือดออกได้

ในครั้งนี้ “พระแสงโมเดล” ได้เริ่มดำเนินการเปิดโครงการในวันที่ 18 มิถุนายน 2561 พร้อมทั้งดำเนินการโครงการให้ความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายต่อเนื่อง ตั้งแต่ 19-22 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุมวิภาวดี อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมผู้เข้าประชุมทั้งสิ้น 932 คน



โดยมีนายธวัช หงษ์บิน นายอำเภอพระแสง เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม และนายบรรเจิด อินทร์คง สาธารณสุขอำเภอพระแสง เป็นผู้กล่าวรายงานการประชุม ซึ่งในการโครงการครั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือจาก 1) เครือข่ายสุขภาพอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำโดยนายอำเภอพระแสง สาธารณสุขอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายแพทย์ดิเรก วงศ์ทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระแสง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และประชาชน 2) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากการจัดการความรู้เพื่อใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม ภายใต้โครงการ การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2560

แผนงานกิจกรรมที่ดำเนินการของ “พระแสงโมเดล” ประกอบไปด้วย
1) สร้างความตื่นตัวของเครือข่าย เป็นการขับเคลื่อนในการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก
2) ติดปีกครู ก นับเป็นจุดแข็งของ “พระแสง” โมเดล สร้างความเข้มแข้งเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานของโครงการ “พระแสงโมเดล” เครือข่ายระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งติดตั้งระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายฯ
3) สร้างและพัฒนาทีมเฝ้าระวัง 74+6 เพื่อให้การดำเนินงานครอบคลุมทุกพื้นที่ทั้ง 74 หมู่บ้าน 6 ชุมชนของอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4) ศูนย์เฝ้าระวัง 25 28 30 และเข้าสู่การประมวลผลด้วยโปรแกรมคำนวณดัชนีลูกน้ำยุงลาย (Laval Indices Model) ประเมินผลและติดตามการพัฒนาระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก
5) การทำนายหมู่บ้านพื้นที่เสี่ยงวิเคราะห์ปัญหา ค้นหาพื้นที่เสี่ยงแก่ทุกภาคส่วนในชุมชน
6) SRRT พระแสงเข้มแข็ง ให้ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของทีม ให้เข้าใจและปฏิบัติงานได้อย่างจริงจังอย่างมีประสิทธิภาพ
7) Micro project in village นวัตกรรมสำหรับหมู่บ้านเพื่อป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก
8) Praseang Model to ABCR การพัฒนางานสู่งานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อเป็นผลงานและประชาสัมพันธ์แก่หน่วยงานต่างๆ ต่อไป

ในเบื้องต้นในการดำเนินการ ได้มีการเปิดตัวโครงการพร้อมทั้งตั้งตั้งระบบทุกหมู่บ้าน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละ รพ.สต. ทั้งหมด 13 รพ.สต. และ 1 รพ. ผลที่ได้คือ พื้นที่และ อสม. เกิดการตื่นตัวเป็นอย่างมาก ได้รับการตอบรับที่ดีเกินความคาดหมาย มีการเตรียมพร้อม การพัฒนาทั้งด้านความรู้เบื่องต้นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกและดัชนีลูกน้ำยุงลายของ อสม.







ประมวลภาพ