Location

0 7567 3000

ข่าวทั่วไป

อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักศึกษาผู้สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย

อัพเดท : 08/12/2564

1267

 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารอำนวยการ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ ในพิธีก่อนวาระการประชุมบริหาร ครั้งที่ 12/2564 ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มอบเกียรติบัตรพร้อมช่อดอกไม้แสดงความยินดีให้แก่อาจารย์และนักศึกษา ผู้สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย ดังนี้

1. โครงการธนาคารปูม้า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับรางวัลระดับชาติ ต้นแบบธนาคารปูม้าเพื่อความยั่งยืน จากเวที Thailand Research Expo มอบโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)   ได้แก่
          1.1 นาย เจริญ โต๊ะอิเเต ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านในถุ้ง จ.นครศรีธรรมราช ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าชุมชน
          1.2 นาย ประทีป น้ำขาว ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านท่าพยา  จ.นครศรีธรรมราช  ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทธนาคารปูม้าชุมชนเดิมที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง                     
          1.3 นาย ปิยะ เเซ่เอีย  ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านหาดสมบูรณ์ จ.สุราษฎร์ธานี  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภทธนาคารปูม้าชุมชนที่จัดตั้งขึ้นใหม่
    ทั้งนี้ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้า ทั้ง 3 พื้นที่ อยู่ภายใต้โครงการธนาคารปูม้า เครื่องมือบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ดำเนินการโดยศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี เป็นหัวหน้าโครงการ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 3 ปี ต่อเนื่อง

2. ทีมบริษัท วลัยไบโอคอนโทรล จำกัด ได้รับรางวัลชนะเลิศ Thai-BISPA Awards 2020-2021  ประเภท ผู้ประกอบการดีเด่นสาขา Petential Technology Transfer จากสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์ไทย

3.ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโลยี เป็นหน่วยงานที่มีความสำเร็จของการบ่มเพาะผู้ประกอบการของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ยึดถือการถ่ายทอดเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยไปสู่ภาคเอกชนที่สามารถนำไปเป็นแบบอย่างให้กับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ได้

4.นักวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ติดอันดับ “ WORLD’S TOP 2% SCIENTISTS”  by Stanford University 2021 Elsevier, SciTech Strategies, Inc. และ Stanford University ได้เปิดเผยรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการอ้างอิงสูงที่สุดใน Top 2% ของโลก World’s Top 2% Scientists by Stanford University 2021 ในสาขาวิชาต่างๆ แบ่งออกเป็น 22 สาขาหลัก 176 สาขาย่อย รวมมากกว่า 100,000 คน  การคัดเลือกและจัดอันดับนี้ประเมินจากการวิเคราะห์ผลกระทบงานวิจัยจากการอ้างอิงบทความที่ตีพิมพ์จากฐานข้อมูล Scopus ตั้งแต่ปี 1996 – 2020 โดยใช้ตัวชี้วัดที่หลากหลาย เช่น citation, co-authorship, และ h-index จัดลำดับนักวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.จำแนกตามผลกระทบการอ้างอิงตลอดอาชีพนักวิจัยจนถึงสิ้นปี 2020 (career-long citation impact) 2.จำแนกตามผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี 2020 (citation impact during the single calendar year 2020)   โดยนักวิจัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับคัดเลือกจำนวน 3 ท่าน ดังนี้

    4.1 รองศาสตราจารย์ ดร.มนัส ชัยจันทร์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ได้ลำดับที่ 884 จากจำนวนนักวิจัยทั้งหมด 58,351 คน ในสาขา Food Science
    4.2 รองศาสตราจารย์ พญ.วีระนุช นิสภาธร สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ได้ลำดับที่ 530 จากจำนวนนักวิจัยทั้งหมด 33,142 คน ในสาขา Tropical Medicine
    4.3 รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวิทย์ วัฒนสกุลพงศ์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี  ได้ลำดับที่ 3,971 จากจำนวนนักวิจัยทั้งหมด 285,331 คน ในสาขา Materials

5.ศูนย์บริการการศึกษา ได้รับเกียรติบัตรจากกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมด้านการจัดทำ digital transcript สามารถบริการ transcript ในรูปแบบ digital ให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป  ถือเป็นอีกหนึ่งย่างก้าวที่สำคัญของการประหยัดทรัพยากรทุกด้านอย่างแท้จริงของวลัยลักษณ์ในยุคปัจจุบัน บนดินแดนแห่งความรุ่งโรจน์

6.รองศาสตราจารย์ ดร.พงษ์พิชิต จันทร์นุ้ย คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ได้รับรางวัลระดับดี จากรางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2565

7. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี  นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมโยธา ประกอบด้วย น.ส.พฤษภา บางเหรียง, น.ส.ตูแวกูมารีนี โต๊ะโซ๊ะ,น.ส.ภัคจิรา อ่อซ้าย และ นายณัฐนนท์ รามณี เจ้าของผลงานเรื่อง ประสิทธิภาพของการอัดแรงคานคอมโพสิตจากเหล็กประกอบและคอนกรีตเก่าสำหรับระบบพื้นชนิดบาง ภายใต้ชื่อทีม FSB WU โดยมี อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ เป็นที่ปรึกษา คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสุดยอดปริญญานิพนธ์เหล็ก SSI 4YE 2020 ได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 50,000 บาท

8. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี   คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสุดยอดปริญญานิพนธ์เหล็ก ซึ่งจัดขึ้นภายใต้โครงการ Structural Steel Improvement (SSI) for Young Engineers (SSI 4YE) โดยบริษัท สหวิริยา อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) 2 ปีซ้อน

9. ทีม More Kit ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2564 ระดับภูมิภาค (R2M9) เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยผลงานวิจัยที่ใช้ในการประกวด ได้แก่ ชุดทดสอบตรวจหาเชื้อราเดอร์มาโตไฟต์ชนิดทริโคพัยตอน ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบตระกูล วิเศษสมบัติ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

10.ทีม Tricho-Orga-Soil ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองและรางวัลระดับดีมาก “ผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา  ประจำปี 2564” ในงาน Thailand Research Expo 2021 ประกอบด้วย  1) นายฤทธิไกร  มาศเมฆ   2) นายนัทวัฒน์  วรินทรเวช  3) นายเจษฎา  สืบกระพันธ์  4) นายเปรมศักดิ์  ถนอมศักดิ์  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วาริน อินทนา และนายอัสมาดี มาน๊ะ เป็นที่ปรึกษา

11.ส่วนกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ส่งนักศึกษาเข้าร่วมงาน 1st VirtualIMT-GT Varsity Carnival ระหว่างวันที่ 27 กันยายน – 1 ตุลาคม 2564 จัดโดย Universitas Syiah Khula ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีนักศึกษาจาก 12 สถาบัน ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาวิชาการ เรื่อง The Palm Oil Sustainable Supply Chain And Sustainable Landscape Workshop การแสดงศิลปวัฒนธรรมและการแข่งขันกีฬา โดยให้นักศึกษานำเสนอผลงานผ่านคลิปวิดีโอ ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting  ดังนี้ 

          11.1. ผลการประกวดแข่งขันสัมมนาวิชาการ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สามารถคว้ารางวัลประกอบด้วย  1) นางสาวนภัสวรรณ บุญช่วย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สำนักวิชาการจัดการ ได้รับรางวัล 1st Best Presentation  2) นายพีรพัฒน์  พริกเล็ก นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ได้รับรางวัล 3rd Best Awareness Raiser 3) นายภูมิ เชื้อพราหมณ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3  สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ได้รับรางวัล Favorite โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฮารีซอล ขุนอินคีรี สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไปและอาจารย์ทัศณีย์ ทัศระเบียบ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา

          11.2 ด้านการแสดงศิลปวัฒนธรรม ได้รับรางวัลThe Best Creative Video ประกอบด้วย 1) นางสาวสัชกร ชัยณรงค์  2) นางสาวศุภนิดา  เกติยะ  3) นางสาวชลธิชา  อินเอียด  4) นางสาวพรวดี  วัยวัฒน์  5) นางสาวจารุวรรณ ศิริวัฒน์  6) นางสาวเสาวรส  ย้อยดำ  7) นายอนาวิน  บุญสนอง  8) นางสาวณัฐนิชา  โสระดี  9) นางสาวภรดี  วัยวัฒน์  10) นางสาวณัฐชา  เกตุกาหลง  11) นางสาวกนกพร  บุญเพ็ชร  12) นางสาวกรชนก  ชูเมือง  โดยมีนางกอบสุข  อรชร  เป็นผู้ฝึกสอน

อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักศึกษาผู้สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักศึกษาผู้สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย

อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักศึกษาผู้สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักศึกษาผู้สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย

อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักศึกษาผู้สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักศึกษาผู้สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย

อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักศึกษาผู้สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักศึกษาผู้สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย

อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักศึกษาผู้สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักศึกษาผู้สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย

อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักศึกษาผู้สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักศึกษาผู้สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย

ประมวลภาพ

ข่าวและภาพโดย : ชลธิชา ลิมปิติ ส่วนสื่อสารองค์กร