Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

คณาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมขับเคลื่อนกระบี่โมเดลกับพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่ในการจัดฝึกอบรมการพัฒนาผ้าบาติก (กำลังเปิดรับสมัครผู้สนใจ)

อัพเดท : 09/02/2565

575

รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ ประธานหลักสูตรการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะหัวหน้าโครงการกระบี่โมเดล เปิดเผยว่า “คณาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่ และดาหลาบาติกดำเนินการภายใต้โครงการกระบี่โมเดล ตั้งเป้าใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและองค์ความรู้จากนักวิจัยในการพัฒนาชุมชนแบบไม่รอ ไม่ขอ ลงมือทำ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนไม่ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน อันนี้คือเป้าหมายของการดำเนินการในจังหวัดโมเดล...”

          โดยในการฝึกอบรมการผลิตผ้ามัดย้อมบาติกมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ วาลุกา เอมเอก จากบัณฑิตวิทยาลัย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัปสร บุญยัง จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนาผ้าบาติกจังหวัดกระบี่ โดยได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่ และดาหลาบาติกดำเนินการโครงการพัฒนาและขยายผลการพัฒนาเกษตรกรฐานรากด้วยนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบกระบี่โมเดล: ผ้าบาติก ในการจัดฝึกอบรมด้านการตลาด การออกแบบและการผลิตผ้าบาติก จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 11 วัน เน้นด้านการตลาด การออกแบบและการผลิต รับจำนวนจำกัดรวมทั้งสิ้น 75 คน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สถานที่ฝึกอบรม: ดาหลาบาติก อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่

คุณสมบัติกลุ่มเป้าหมาย: ไม่มีงานทำ หรือมีรายได้น้อย และต้องการทำอาชีพผ้าบาติกเป็นอาชีพ สร้างรายได้ มีภูมิลำเนาในจังหวัดกระบี่

สามารถเข้าร่วมได้ตลอด 11 วัน (มีที่พัก อาหารกลางวัน และอาหารว่างให้)

ผู้ผ่านการฝึกอบรมได้รับประกาศนียบัตรทุกคน และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิตผ้าบาติกของจังหวัดกระบี่ และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

กำหนดการ: รุ่น 1 เริ่มวันที่ 22 ก.พ. 65 และรุ่น 2 เริ่มวันที่ 5 มี.ค. 65

เอกสารประกอบการสมัคร: สำเนาบัตรประชาชน และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้

หน่วยงานรับผิดชอบ: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่ และกระบี่โมเดล

ส่งเอกสารการสมัครและติดตามข้อมูลข่าวสารที่ www.facebook.com/krabimodel

“โครงการจังหวัดโมเดลเป็นโครงการที่ดีที่ทำให้เกิดการสอนให้ชุมชนทำเบ็ด และทำเหยื่อหาปลาเอง โดยมีผู้ถ่ายทอดคือพวกเราเหล่าคณาจารย์จากหลายสำนักวิชา อาทิ สำนักวิชาการจัดการ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ ได้แก่ ครูโอ๋ ธนินทร์ธร รักษาวงศ์ ครูช่างของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT แห่งดาหลาบาติกมาร่วมถ่ายทอดความรู้ งานนี้ ไม่รอ ไม่ขอ และต้องทำได้จริง โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากท่าน ส.ส.พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล และส.ส.สาคร เกี่ยวข้อง และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่ ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน...” รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ กล่าว

ผู้สนใจสามารถสมัครได้ที่ www.facebook.com/krabimodel