
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ ในฐานะศูนย์ประสานงานภูมิภาค ภาคใต้ โครงการ YSC (โครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 24: YSC 2022) ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ผู้พัฒนาโครงการงานตัวแทนจากภาคใต้ ที่คว้ารางวัลในการประกวดรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 และประกาศผลการประกวดงานการประกาศผลรางวัลการประกวดผลงาน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 โดยผลการประกวด เยาวชนคนเก่งจากภาคใต้ สามารถคว้ารางวัลในการแข่งขันดังกล่าว ประกอบด้วย
รางวัลที่ 1 (First Place Awards Categories) สาขาฟิสิกส์ พลังงานและดาราศาสตร์
และได้รับสิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน Regeneron ISEF 2022
ชื่อโครงการ การแกว่งของลูกตุ้มที่มีกระแสลมรบกวน
ผู้พัฒนา นายวิชยุตม์ นาคะศูนย์
อาจารย์ที่ปรึกษา นางซัลวาณีย์ เจ๊ะมะหมัด, รศ.ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี
โรงเรียน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช
รางวัลชมเชย สาขาคอมพิวเตอร์
ชื่อโครงการ การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการทำนายการติดเชื้อโควิด-19 จากภาพถ่ายเอกซเรย์ทรวงอกโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก
ผู้พัฒนา นายฟีนิกซ์ ปาลาเร่, นายอะเวรา ร่วมพรภาณุ
อาจารย์ที่ปรึกษา นายสล้าง มุสิกสุวรรณ, นางสาวรัตติกานต์ แซ่ลิ่ม
โรงเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี
รางวัลชมเชย สาขาเคมี
ชื่อโครงงาน การศึกษาอัตราส่วนระหว่างคาเฟอีนกับสีย้อมไวแสงจากเปลือกมังคุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเสถียรภาพให้เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง
ผู้พัฒนา นายณัฐพล เดชาธีระวงค์, นางสาวทอฝัน สุนทรากร
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวกุสุมา เชาวลิต, นางสาวปิยดา เกิดด้วยทอง
โรงเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
รางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ชื่อโครงการ การประดิษฐ์แผ่นฟิล์มรับประทานได้จากพิวเร่แครอทเป็นบรรจุภัณฑ์ ผงปรุงรสบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพื่อทดแทนพลาสติก
ผู้พัฒนา นายณัฐภัค จักรีลา, นางสาวภัทร วิธานติรวัฒน์, นางสาวกัญญารัตน์ เที่ยงธรรม
อาจารย์ที่ปรึกษา นางกฤติกา บริรักษ์นรากุล, นางสาวหนึ่งฤทัย เกียรติพิมล
โรงเรียน โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง จังหวัดตรัง
รางวัลชมเชย สาขาสหสาขา (ชีววิทยาเชิงคำนวณ และชีวสารสนเทศศาสตร์ วิทยาการข้อมูล จุลชีววิทยา)
ชื่อโครงการ การศึกษาเชิงลึกเพื่อเข้าใจธรรมชาติและลักษณะการกลายพันธุ์ของ COVID-19 "
ผู้พัฒนา นายชินดนัย ณ ตะกั่วทุ่ง, นายกันตพงศ์ พันธุ์ศิโรรัตน์, นายสุธีกานต์ อยู่เย็น"
อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.กอบชัย ดวงรัตนเลิศ, นายณัฐวุฒิ ดุมลักษณ์
โรงเรียน โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต
นอกจากรางวัลที่เยาวชนจากภาคใต้ได้รับจำนวน 6 รางวัลดังกล่าวแล้ว ภายในกิจกรรมการประกวดได้มอบรางวัลพิเศษให้แก่ผู้พัฒนาโครงงาน โดยศูนย์ประสานงานภูมิภาค ภาคใต้ มอบรางวัลรางวัลพิเศษ ภายใต้หัวข้อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาท้องถิ่น โครงงานที่ได้รับรางวัล คือ
โครงงาน การพัฒนาขี้ซีอัดเม็ดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในชุมชน
ผู้พัฒนา นางสาวศุภรัตน์ แก้วเสถียร, นางสาวบุญขวัญข้าว ศรีทัพไทย
อาจารย์ที่ปรึกษา นางเสาวรจนี จันทวงศ์, นางสาวศุภากร พวงยอด
โรงเรียน โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร
การจัดการประกวดโครงการ YSC 2022 รอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน โดยเปิดกว้างรองรับการประกวดสาขาต่างๆ ถึง 9 สาขา มีโครงงานที่ผ่านสู่รอบชิงชนะเลิศ 67 โครงงานจากทั่วประเทศ ซึ่งมีโครงงานตัวแทนภาคใต้ที่เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ จำนวน 12 โครงงาน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับเกียรติในฐานะตัวแทนศูนย์ประสานงานภาคใต้ ส่งตัวแทนคณาจารย์เป็นกรรมการตัดสินการประกวดโครงงานร่วมกับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศในครั้งนี้ คือ
1. รศ.ดร.พจมาลย์ สุรนิลพงศ์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาชีววิทยา
2. ผศ.ดร.รุ่งเรือง จันทา สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
3. อาจารย์กรกต สุวรรณรัตน์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาคอมพิวเตอร์
4. ผศ.ดร.นพพร ธรรมรงค์รัตน์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์
สำหรับโครงการ YSC 2022 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีพันธมิตรมหาวิทยาลัยศูนย์ประสานงาน 6 ศูนย์ คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 24 (Young Scientist Competition: YSC 2022) โดยผู้พัฒนาผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ (TOP Award) และรางวัลที่ 1 (First Award) ที่ได้รับสิทธิ์เป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขัน จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดในงาน Regeneron International Science and Engineering Fair 2022 (Regeneron ISEF 2022)
ศูนย์บริการวิชาการ ในฐานะศูนย์ประสานงานส่วนภูมิภาค ภาคใต้ ขอแสดงความยินดีกับผู้พัฒนาโครงงาน และอาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ อีกครั้ง และขอร่วมส่งกำลังใจให้แก่น้องๆ ในการเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันในเวทีนานาชาติต่อไป