Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

เป้าหมาย SDG2 และ SDG14 ม.วลัยลักษณ์ ติดอันดับ 101-200 ของโลก จาก THE Impact Rankings 2022

อัพเดท : 02/05/2565

1970

เป้าหมาย SDG2 และ SDG14 ม.วลัยลักษณ์ ติดอันดับ 101-200 ของโลก จาก THE Impact Rankings 2022

ผลงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDG) ของ ม.วลัยลักษณ์ ในเป้าหมายSDG2 และ SDG14 ติดอันดับ 101-200 ของโลก ขยับขึ้น100 อันดับจากเดิม 201-300 จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย THE Impact Ranking ปี 2022  ขณะที่อันดับภาพรวม ม.วลัยลักษณ์อยู่ในอันดับที่ 601-800 ของโลก 


เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา The Times Higher Education (THE) ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) หรือ THE Impact Rankings ประจำปี 2022 โดยมีจำนวนมหาวิทยาลัย 1,406 แห่งใน 106 ประเทศทั่วโลก และมหาวิทยาลัยในไทย 51 แห่งเข้าร่วม  


ผลปรากฏว่า ผลงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDG) ของ ม.วลัยลักษณ์ ในเป้าหมาย SDG2: มุ่งขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน (Zero hunger)  และ และ SDG14: อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Life below water) ติดอันดับ 101-200 ของโลก ขยับขึ้น100 อันดับจากเดิม 201-300 และเป็นอันดับที่ 6 และ 5 ของประเทศไทย


นอกจากนี้ในส่วนของ SDG 12: การบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible consumption and production) ซึ่งส่งเข้าพิจารณาครั้งแรกในปีนี้ ได้รับการจัดอันดับ 101-200 ของโลก เป็นอันดับ 8 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยในการให้บริการชุมชนท้องถิ่นในภาคใต้ซึ่งสอดคล้องกับคติพจน์ที่ว่า “เป็นองค์การธรรมรัฐ เป็นแหล่ง เรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่ สากล”


ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า “ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ยื่นคำร้องต่อ THE เพื่อประเมินว่าเราได้มีบทบาทช่วยเหลือชุมชนเพียงใด เราภูมิใจมากกับระดับที่บ่งบอกถึงความมุ่งมั่นในการปรับปรุงชุมชนของเรา เราภูมิใจมากเพราะบทบาทของเราในการช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่นได้รับการยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ นี่คือการยอมรับบทบาทของเราในฐานะสมาชิกของประชาคมระหว่างประเทศ ผมขอขอบคุบุคลากรมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในทุกๆฝ่าย สำหรับการอุทิศตนเพื่อพัฒนาการยอมรับในระดับสากลของมหาวิทยาลัย”


อย่างไรก็ตามในปีพ.ศ.2565 ม.วลัยลักษณ์ได้ส่ง 9 ตัวชี้วัดที่ม.วลัยลักษณ์ส่งให้ THE Impact Rankings พิจารณาในครั้งนี้ ประกอบด้วย ตัวชี้วัด SDG2: Zero Hunger (ขจัดความหิวโหย) , SDG3: Good Health and Well-being (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี), SDG4: Quality Education (คุณภาพการศึกษา) , SDG6: Clean Water and Sanitation (การจัดการน้ำและสุขาภิบาล), SDG9: Industry, Innovation and Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรมและอุตสาหกรรม), SDG14: Life Below Water (ทรัพยากรทางทะเล) และ SDG17: Partnerships for the Goals (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) และตัวชี้วัดที่ได้รับการส่งเป็นครั้งแรกในปีนี้ ได้แก่ SDG 11: Sustainable cities and Communities (เมืองและการสังคมมนุษย์ที่มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน) และ SDG12: Responsible Consumption and Production (การสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน) ส่งผลให้อันดับภาพรวมทุกSDG ม.วลัยลักษณ์อยู่ในอันดับที่ 601-800 ของโลกดังกล่าว 

 

ข่าวโดย ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์