Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

ม.วลัยลักษณ์ จัดประชุม“อธิการบดีพบปะอาจารย์ชาวต่างชาติ” ตอกย้ำภารกิจการก้าวสู่สากลของมหาวิทยาลัย

อัพเดท : 24/08/2565

764

     

        ศูนย์กิจการนานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดงาน “อธิการบดีพบปะอาจารย์ชาวต่างชาติ” เพื่อให้คณาจารย์ชาวต่างชาติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้พบปะกับ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภัทร์นรินทร์ ศุภกร รักษาการผู้อำนวยการศูนย์กิจการนานาชาติ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ณ ห้องประชุมช่อประดู่ อาคารบริหาร โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565


      งานนี้เป็นการประชุมซึ่งคณาจารย์ชาวต่างชาติ จาก 7 โรงเรียนและ 4 วิทยาลัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีโอกาสแบ่งปันและสะท้อนประสบการณ์และความท้าทายในการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวเปิดการประชุมโดยย้ำถึงนโยบายการพัฒนาเชิงรุกของมหาวิทยาลัยในการก่อสร้างและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งในด้านการเรียนการสอนและด้านอื่น ๆ เช่น การดูแลสุขภาพและการบริการชุมชน ซึ่งเห็นได้จากการเสร็จสมบูรณ์ของการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษา และ หอชมฟ้า (Bota sky tower)


 ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ได้กล่าวถึงทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยอันดับโลกผ่านการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการและปฏิรูปความเป็นสากลในการเรียนการสอนผ่านการใช้กรอบมาตรฐานวิชาชีพของสหราชอาณาจักร (The UK Professional Standards Framework:UKPSF) และการสรรหาอาจารย์ชาวต่างชาติที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มาเป็นส่วนหนึ่งของทีมขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของเครอข่ายทางวิชาการและนโยบายการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักการเรียนการสอน


     “มหาวิทยาลัยมอบหมายภารกิจการเรียนการสอนและการวิจัยในสาขาที่เชี่ยวชาญ แก่คณาจารย์ชาวต่างชาติ ซึ่งเรายังคงสรรหาอาจารย์จากต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เหมาะสมกับนักศึกษาที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในปีนี้สถิติการรับเข้าเรียนสูงถึง 3,500 คน สูงเป็นประวัติการณ์ ” ในส่วนของการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ยังกล่าวถึงนโยบายการเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตามที่ได้ถูกจัดประเภทเป็น มหาวิทยาลัยวิจัย 


     “ทางมหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนอาจารย์ในการส่งเสริมคุณภาพของงานตีพิมพ์ทางวิชาการที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของวารสาร Scopus Q1 และ Q2 เฉพาะในปีนี้ คณาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตีพิมพ์ผลงานไปทั้งสิ้น 607  ชิ้น ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus Q1 และ Q2 กฏและข้อบังคับทั้งหมดที่มีรายละเอียดเรื่องนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อช่วยในการวางแผนสำหรับการตีพิมพ์รวมทั้งการขอตำแหน่งทางวิชาการ นอกจากนี้ ในปีหน้ามหาวิทยาลัยมีนโยบายสนับสนุนทุนเพื่อการตีพิมพ์จำนวน 60,000 บาท สำหรับผลงานตีพิมพ์ในวารสารในฐานข้อมูล Scopus Q1 ที่ 90 percentile ขึ้นไป” ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวเสริม

 


     โดยภายในงาน อาจารย์ชาวต่างชาติจากแต่ละสังกัดได้กล่าวแนะนำตนเองสั้นๆ พร้อมกับต้อนรับ คุณอเล็กซานเดอร์ ลี ผู้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ เข้าร่วมโครงการพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษ  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  เป็นระยะเวลา 10 เดือน หลังจากนั้นตัวแทนจากสำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไปนำเสนอความท้าทายและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการจัดการการสอนภาษาอังกฤษต่อที่ประชุม โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีจำนวนนักศึกษามากขึ้น ในเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวรับทราบข้อเสนอแนะและมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบค้นหาแนวทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนในลำดับต่อไป


     ดร. อามิท ใจศรี อาจารย์จากจากสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ได้นำเสนอวิธีการยื่นขอทุนวิจัยให้ประสบความสำเร็จต่อที่ประชุม โดย ดร. อามิท กล่าวถึงหน่วยสนับสนุนทุนวิจัย 4 หน่วย ได้แก่ สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร องค์การมหาชน (ARDA) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (PMUA) นอกจากนี้ ท่านอาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพกานยื่นขอทุนวิจัยจาก โดยตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนของการนำทุนวิจัยมาใช้ในเรื่องต่างๆ การดำเนินการในเวลาที่เหมาะสม และหน่วยงานสนับสนุนที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของงานวิจัยมากที่สุด ตลอดจนความท้าทายทางภาษาที่ผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม


การประชุมจบลงด้วยช่วงถาม-ตอบ โดย ดร.อามิทได้ให้คำแนะนำแก่อาจารย์ที่กำลังขอรับทุนวิจัย ตามด้วยการภาพถ่ายหมู่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ใช้ประโยชน์จากความเป็นสากลผ่านนโยบายที่กำหนดให้ 60% ของการใช้ภาษาอังกฤษในโปรแกรมนักศึกษาปี 3 และ 25% ในโปรแกรมนักศึกษาปี 2

 

 

 

 

 

ภาพโดย ชลธิชา ลิมปิติ 

ข่าวโดย นุชนาฎ สุขแก้ว 

ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์