Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ศูนย์กิจการนานาชาติจัด Webinar เรื่อง How to promote international and Mobility and research collaboration

อัพเดท : 25/10/2565

1000

ศูนย์กิจการนานาชาติ ร่วมกับสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ และสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัด Webinar เรื่อง How to promote international and Mobility and research collaboration เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2565 เวลา 15.00-17.00 น. โดย ได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.  จิตบรรจง ตั้งปอง คณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ How to increase international mobility และ รศ. ดร. ทนงศักดิ์ อิ่มใจ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ บรรยายในหัวข้อ How to win international co-authors for quality publications โดยมีผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายและแลกเปลี่ยนทาง Zoom application จำนวน 38 ราย เป็น focus group ที่เน้นกลุ่มที่สนใจทางด้านนี้โดยเฉพาะ ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ บุคลากรจากมหาวิทยาลัยภายนอก ก่อนการบรรยายได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ดร. ชิรวัฒน์ วัฒนพานิช รองผู้อำนวยการศูนย์กิจการนานาชาติ และนางจิราพร กาฬสุวรรณ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ศูนย์กิจการนานาชาติ ทำหน้าที่เป็นพิธีกร

รศ. ดร. จิตบรรจง ตั้งปอง คณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์  ได้ปูพื้นให้ฟังว่า สำนักวิชาสหเวชศาสตร์นั้น ได้มีการสะสม และสร้าง partner กับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบที่มีการลงนาม MOU อย่างเป็นทางการ และไม่ได้มีการลงนาม MOU อย่างเป็นทางการ มากกว่า 17 ประเทศ ซึ่งครอบคลุมทั้งในประเทศอเมริกา บราซิล ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ไซปรัส ออสเตรเลีย ลิทัวเนีย เดนมาร์ค จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง บังคลาเทศ และกัมพูชา ซึ่งยังไม่นับรวมเครือข่ายมหาวิทยาลัยและองค์กรภายในประเทศอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก  การหา partner กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั้น สามารถเริ่มต้นได้หลายวิธี เช่น เริ่มจากสถาบันที่คณาจารย์ของสำนักวิชาเคยสำเร็จการศึกษามาก่อน มีคณาจารย์ หรือนักวิจัยเคยทำงานวิจัยร่วมกันมาก่อน ซึ่งสำนักวิชาสหเวชศาสตร์นั้นมีคณาจารย์หลายท่านที่มีความร่วมมือกับต่างประเทศที่ดี ในหลายประเทศ หรือ เกิดจากการพบปะกันในเวทีต่างๆ เช่น การประชุมนานาชาติ การต้อนรับในพิธีการสำคัญๆ ในฐานะอาคันตุกะ หรืออาจจะโดยการแนะนำเชิญชวนจากหน่วยงานอื่น เช่น จากศูนย์กิจการนานาชาติ จากสำนักวิชาที่มีความสนใจร่วมกัน แบบสหสาขาวิชา หรือ องค์กรภายนอกต่างๆ จะเห็นได้ว่า วิธีการสร้างความร่วมมือนั้น  ไม่ยากจนเกินไป แต่การจะรักษาความร่วมมือ ให้ active ยาวนานและมีความต่อเนื่องนั้น ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งการลงมือทำกิจกรรมร่วมกันอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม การรักษาสถานะและความต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้เกี่ยวข้องในความร่วมมือนั้นหมดวาระลงหรือไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบในกิจกรรมแล้ว สำนักวิชาก็จะต้องคอยดูว่ามีการรับช่วงการดำเนินการอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง นอกจากนั้นการมีงบประมาณที่เพียงพอ ก็เป็นสิ่งจำเป็น หรือแม้กระทั่งและการไปมาหาสู่ซึ่งกันและกัน (Visit or excursion)  ก็สำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือเพื่อประโยชน์ในการใช้เครื่องมือทางการวิจัยค้นหาคำตอบในการสร้างสรรผลงานวิจัยต่างๆ

ในปีที่ผ่านมา (2565) สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ เป็นสำนักวิชาหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมกับต่างประเทศ ทั้งในลักษณะการร่วมจัด webinar กับต่างประเทศ การประชุมวิชาการนานาชาติ การเชิญ partners จากหลายๆ มหาวิทยาลัยมาร่วมเป็น speakers และเป็น visiting professor หรือการทำวิจัยกับต่างประเทศ ตลอดจนการส่งนักศึกษาและคณาจารย์ไปแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัย partner ทั้งในประเทศอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกิจกรรมที่กล่าวถึง สามารถดูได้จาก website ของสำนักวิชา https://sah.wu.ac.th/?p=15335&lang=en   และ website ของมหาวิทยาลัย https://www.wu.ac.th/en/news/21862   การที่สำนักวิชาจะสามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ นอกจากการมี partner ที่ดีแล้ว การเตรียมการล่วงหน้า หรือการวางแผนที่ชัดเจนมีความสำคัญมาก สำนักวิชาจะกำหนด timeline กำหนดตัวบุคคล งบประมาณ สถานที่ และระยะเวลาที่ชัดเจน และทำตามแผนที่วางไว้ โดยผู้ร่วมเดินทางจะต้อง commit เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้อง หรือจะต้อง fulfill ประสบการณ์บางอย่างที่สามารถนำมาพัฒนา ต่อยอด และสืบทอดให้ผู้อื่นได้ ซึ่งจะแต่ต่างกันไปตามสถานะ เช่น ในฐานะนักศึกษา หรือในฐานะอาจารย์ ในแง่ของการใช้งบประมาณ นั้น สำนักวิชามีการทำงานอย่างเป็นระบบ ใช้แนวทาง PDCA ในการดำเนินการ ซึ่งแต่ละสำนักวิชาอาจจะมีข้อจำกัดแตกต่างกันออกไป ในกรณีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์นั้น มีกองทุนสำนักวิชาที่มีเงินอยู่จำนวนหนึ่งที่สามารถใช้ในกิจกรรมพัฒนาวิชาการและพัฒนาบุคลากร มีการบริหารโดยคณะกรรมการอย่างเป็นระบบ ทำให้การดำเนินโครงการไม่ติดขัดและเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ประกอบกับการมี partner ต่างประเทศ ที่คอยสนับสนุนและต้อนรับอย่างเป็นกัลยาณมิตร ทำให้การศึกษาแลกเปลี่ยนมีความสมบูรณ์แบบ และได้ประโยชน์ตามที่มุ่งหวัง โดยในปี 2565 สำนักวิชาได้นำคณะนักศึกษาและอาจารย์ไปศึกษาดูงานในต่างประเทศถึง 2 ประเทศด้วยกัน กล่าว คือ  การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การวิจัย การพัฒนาศักยภาพอาจารย์และนักศึกษา ตามวิสัยทัศน์ในการนำพาสำนักวิชาสหเวชศาสตร์เป็นเลิศสู่สากล ณ University of Florida, University of Kentucky, และ North Dakota University ประเทศอเมริกา โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง พร้อมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และทักษะการทำวิจัย การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดทั้งด้านการเรียนและการทำงานในอนาคต เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา คือระหว่างวันที่ 10 มกราคม จนถึง 10 พฤษภาคม 2565  https://www.wu.ac.th/th/news/21429 และโครงการนำคณะนักศึกษาและคณาจารย์ไปเยือน School of Allied Health Sciences at Kitasato University, Tokyo และ Showa University, Yokohama ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งท้ง 2 เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ในการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ระหว่างวันที่ 12-16 กันยายน 2565 โดยทีมบริหาร คณาจารย์ หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ และกายภาพบำบัด และนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ ทวิภาษา ชั้นปีที่ 4 และการเดินทางไปเจรจาความร่วมมือด้านการเรียนการสอน International Interprofessional Education (IIPE) นอกจากนี้คณบดียังได้ร่วมประชุมหารือกับประธาน Japan Association of Clinical Laboratory Systems (JACLaS) เพื่อความรวมมือด้านการจัดประชุมนำเสนอผลงานวิชาการ วิจัย และการแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วง 6-8 ตุลาคม 2566 ณ เมือง Yokohama, Japan และในวันสุดท้ายของกิจกรรม ได้นำทีมเข้าร่วมชมนิทรรศการ เครื่องมือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ เครื่องมือด้านการวิจัยในงาน Thailand Lab Inter 2022 ณ Bitech Bangna กรุงเทพ เป็นความคุ้มค่าทางวิชาการ ต่อนักศึกษาและคณาจารย์ของสำนักวิชาอย่างยิ่ง       

รศ. ดร. จิตบรรจง ตั้งปอง ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ความสัมพันธ์กับ International partner นั้น อาจจะมาในรูปแบบของการเป็นที่ปรึกษา (Advisor) หรือเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) เป็น Visiting professor ทำวิจัย หรือทำความร่วมมือต่างๆ ( collaboration)  หรือการจัดประชุม (conference) ส่วนการทำ Mobility นั้น สามารถดำเนินกิจกรรมในรูปแบบของ short research training, post-doc research, professional research training, publication, academic activity ต่างๆ

ในการทำความร่วมมือกับต่างประเทศ ยังมีสิ่งที่ไม่ควรกระทำ (Don't) และพึงระมัดระวังด้วยเช่นกัน อาทิ มีความร่วมมือแล้ว แต่ไม่ได้ลงมือทำกิจกรรมใดๆ (no output) ทำลายความสัมพันธ์ที่ดี (broken relationship) สิ่งที่ควรทำ (Do) กับ partner เป็นอย่างยิ่ง คือ การเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีมิตรไมตรีที่อบอุ่น (hospitality and friendship) มีความสัมพันธ์ในระดับบุคคลและหน่วยงานที่ดี 

ทางด้าน รศ. ดร. ทนงศักดิ์ อิ่มใจ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ ได้บรรยายในในหัวข้อ How to win international co-authors for quality publications  ในหัวข้อนี้ ผู้เข้าร่วมได้รับข้อมูลเชิงลึก จากวิทยากรที่เป็นนักวิจัยตัวยของมหาวิทยาลัย ที่ท่านได้ถ่ายทอดความรู้และเทคนิคแนวทางในการการเขียนงานวิจัยให้สำเร็จในขณะที่จะต้องทำงานสอนและงานบริการวิชาการ ควบคู่ไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีแรงจูงใจบางอย่างที่ จะทำให้เป้าหมายหลายๆ เป้าหมายสำเร็จไปพร้อมๆ กัน และเป็นความสำเร็จในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ร่วมกับนักวิจัยนานาชาติเป็นจำนวนมากด้วย การหานักวิจัยต่างชาติ (international co-authors) และการหาทุนวิจัยภายนอก ต้องเริ่มอย่างไร รศ. ดร. ทนงศักดิ์ อิ่มใจ ได้เล่าให้ฟังว่า พื้นฐานของท่านอาจารย์ นั้น แม้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ไม่ได้มีพื้นฐานมาจากการเป็นอาจารย์ ดังนั้นในช่วงแรกๆ ของการทำงานที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะไม่มีเครือข่ายตรงนี้ ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ ทั้งหมด ใช้เวลา ประมาณ 3 ปี นับถึงปัจจุบัน (ท่านเริ่มงานที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2019) และภายในปี 2021 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองศาสตราจารย์ นับเป็นเส้นทางทางวิชาการที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว เป็น reviewer of journal มากกว่า 30 ชื่อ เป็น visiting professor, guest lecturer ให้กับมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ ประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น  ปัจจุบัน รศ. ดร. ทนงศักด์ อิ่มใจ มีเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัยในหลายประเทศ อาทิเช่น สหราชอาณาจักร อเมริกา สเปน โปรตุเกส ไซปรัส บราซิล จีน มาเลเซีย และอินเดีย

โอกาสนี้ รศ. ดร. ทนงศักดิ์ อิ่มใจ ได้เล่าให้ฟังว่าปัจจัยที่ทำให้การเขียนงานวิจัยให้สำเร็จในขณะที่จะต้องทำงานสอนและงานบริการวิชาการควบคู่ไปด้วย นั้น ประการแรกต้องพาตัวเองไปอยู่ใน research community ซึ่งเหมือนกับการไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีคนคิด และทำในเรื่องเดียวกัน ขณะเดียวกัน ต้องมีเครื่องมือบางอย่างเป็นตัวช่วย นั่นคือ ฐานข้อมูลวิจัยต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย ทั้ง Scopus, SciVal, SJR, Web of Science, Science Direct, PubMed และอื่นๆ อีกมากมาย   และการทำเพียงแค่นี้อาจจะยังไม่เพียงพอ ท่านจะต้องพาตัวเองไปให้โลกรู้ คือ ให้คนอื่นรู้จักเรา รู้จักผลงานของเรา และความสามารถ ความสนใจที่เรามี ผลง่านต่างๆ ที่เราทำสำเร็จมาแล้ว ท่านสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ที่ใดบ้าง เช่น งาน conference, seminar, งานที่เน้นแนว focus group, workshop ต่างๆ เพราะเป็นเวทีที่ดีเยี่ยมในการทำความรู้จักนักวิจัยใหม่ๆ ในสาขาของตนเอง หรือการเขียน Book Chapter การรับเป็น reviewer การ publish ใน conference/ Journal ทั้งในประเทศ และในต่างประเทศ  การสร้าง research community ของตนเอง การพานักศึกษาไปร่วมงานประชุมวิชาการ สนับสนุนผลงานของนักศึกษา เพื่อการต่อยอด และวางแผนการทำงานที่รัดกุม เพราะในฐานะอาจารย์ นักวิจัย ย่อมหนีไม่พ้นในการเผชิญกับสิ่งเหล่านี้ และการอยู่ในบรรยากาศเหล่านี้ ท่านจะได้เรียนรู้เทคนิคในการจับคู่วิจัย เพื่อไปสู่ Co-authorship ไปในตัว ซึ่งนักวิจัยหลายท่านอาจจะมีวิธีการตามแบบฉบับของตนเอง แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับตัววิทยากร นั้น ขอแนะนำให้ท่านเริ่มที่ตัวเองก่อน ใช้หลักการง่ายๆ ที่ทุกคนทำให้ คือ การให้ก่อนการรับ (Give before take) การให้ในที่นี้กว้างมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นการเริ่มต้นความสัมพันธื หรือ รู้จักกันเป็นครั้งแรก ท่านควรให้การดูแลที่ดี ให้ความเป็นเจ้าบ้าน (hospitality) ที่ใจกว้าง ไม่หยุดหงิด รำคาญ หรือไม่มีเวลา และลงมือกระทำด้วยตนเองให้เขาเห็น สิ่งเหล่านี้ จะสัมผัสได้ถึง ความตั้งใจ และความจริงใจ (sincerity) ต้องใช้เวลาสะสม ท่านไม่ต้องรีบกังวลเรื่องผลประโยชน์ หรือความได้เปรียบเสียเปรียบใดๆ นักวิจัยหลายท่านใจกว้างขนาดที่ยอมให้ใส่ชื่อวิจัยเป็นชื่อแรก เป็นต้น สุดท้ายท่านจะได้คู่ หรือได้ทีมวิจัย ที่มีแนวคิด มี style ในทางเดียวกัน หรือง่ายๆ อาจจะเรียกได้ว่า ได้คู่/ได้ทีม ที่ศีลเสมอกัน หากในกรณีที่ท่านเคยรู้จัก เคยร่วมงานกันมาก่อน ให้คงความต่อเนื่องเอาไว้ รักษามิตรภาพ และสภานภาพที่ดีต่อกัน email ติดต่อประสานงานกัน เมื่อถึงเวลา ท่านก็จะได้มีเพื่อoวิจัยที่ไม่ต้องใช้ความพยายามจากจุดเริ่มต้น นั่นเอง

ทางด้านแรงจูงใจในการทำวิจัย นั้น หลายท่านอาจจะมีแรงจูงใจในการทำวิจัย ที่เกิดจากความถนัด ความชอบ ความสนใจส่วนตัว เป็น passion ที่เปลี่ยนไม่ได้ แต่ยังมีอีกหลายท่านที่ต้องทำวิจัยเพราะ KPI ต่างๆ ที่ควบคุมอยู่ การประเมินผลงานที่เข้มงวด หรืออยากมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จด้านการวิจัย และการเป็นมหาวิทยาลัยในระดับโลก หรือ การได้รับการ promote ตำแหน่งทางวิชาการ เป็นความก้าวหน้าของสายวิชาการที่น่าภาคภูมิ เป็นต้น หรือแม้แต่ การได้รับรางวัล ค่าตอบแทนต่างๆ ที่มีตัวเลขที่น่าสนใจ ชื่อเสียงที่ได้มา  ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพราะด้วยแรงจูงใดๆ ก็ตาม ผลงานของท่านย่อมจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการ และต่อประเทศชาติ อย่างแน่นอน

สำหรับ เทคนิคในการหาคู่วิจัยที่มีประสิทธิภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ นั้น นอกจากการพาตัวเองไปสัมผัสบรรยากาศนานาชาติ หรือที่ประชุมวิชาการ-วิจัย ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ แล้ว อีกวิธีที่จะทำให้ท่านได้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว คือ นักวิจัยต้องมีความพร้อมสำคัญ คือ มีการเขียนร่าง manuscript ไว้สัก 2-3 เรื่อง ให้โครงเรื่องมีความก้าวหน้า 20% ขึ้นไป เมื่อถึงเวลาต้องใช้ ท่านจะได้มีงานในมือทันที  และเมื่อไหร่ก็ตามที่ท่านได้รับคำเชิญ ไปเป็น speaker, visiting professor, guest lecturer ในที่ต่างๆ ท่านควรตอบตกลงเข้าร่วม

ในการหาแหล่งทุนวิจัยที่เหมาะสม นั้น ท่านอาจจะต้องเริ่มจาก การศึกษาแหล่งทุนที่เหมาะสมกับงานของท่าน ทั้งแหล่งทุนในประเทศ และในต่างประเทศ ศึกษาการเขียน proposal ต่างๆ ที่เหมาะกับแหล่งทุน แหล่งทุนส่วนใหญ่ให้เวลาท่านในการเขียน proposal น้อย การที่ท่านมี manuscript หรือ มีโครงการ อยู่บ้างแล้ว ท่านจะสามารถส่ง proposal ได้ทันเวลา และถ้าท่านมีเครือข่าย ท่านสามารถเชิญเพื่อนๆ นักวิจัย จากหลายๆ ประเทศมาร่วมงานกับท่าน จะทำให้งานของท่านมีความน่าสนใจ เป็น proposal ที่ ได้ประโยชน์ในวงกว้าง เป็นต้น รศ. ดร. ทนงศักดิ์ อิ่มใจ ได้ทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจว่า แม้ว่าเราจะอยู่ในเส้นทางนักวิจัย เส้นทางสายวิชาการ เราควรมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ที่ชัดเจน การกำหนดเป้าหมาย ที่มีกรอบระยะเวลา จะทำให้ การทำงานไม่หลุด focus มีเส้นทางไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน สามารถ track ตัวเองได้ตรงแนวทาง ซึ่งเชื่อว่าทุกท่านมีเป้าหมายเหล่านี้ในใจอยู่แล้ว เช่นกัน



จิราพร กาฬสุวรรณ
ศูนย์กิจการนานาชาติ