Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคใต้ตอนบน จัดกิจกรรมนำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (Preliminary Research ประเด็นท้าทายตามบริบทพื้นที่บนฐานเศรษฐกิจ BCG และ Preliminary Research ประเด็นการศึกษานำร่อง 3 ประเด็น)

อัพเดท : 09/05/2566

444

          เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคใต้ตอนบน มมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย จัดกิจกรรมนำเสนอข้อเสนอโครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก เครือข่ายย่อย C2 และ โครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ เครือข่ายย่อย C8 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ขึ้นในวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2566 ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานของเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคใต้ตอนบน เครือข่ายย่อย C2 ฐานราก และ เครือข่ายย่อย C8  รัฐร่วมเอกชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

          นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประธานเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคใต้อตอนบน และผู้แทนผู้บริหารสมาชิกสถาบันอุดมศึกษาพื้นที่ภาคใต้ตอนบน จำนวน 11 แห่ง (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร มหาวิทยาลัยตาปี วิทยาลัยชุมชนพังงา วิทยาลัยชุมชนพังงา และวิทยาลัยชุมชนระนอง) นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก นางสาวกีรติ แก้วสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มขับเคลื่อนและพัฒนา อววน.3 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)  รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา มิ่งฉาย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองและคัดเลือกข้อเสนอโครงการ ตามข้อกำหนดโครงการ (TOR) ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการวิจัย
          ภายใต้การดำเนินเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคใต้ตอนบน  เครือข่ายย่อย C2     ฐานราก และ เครือข่ายย่อย C8     รัฐร่วมเอกชน จากการประกาศรับข้อเสนอ Preliminary Research  ประเด็นท้าทายตามบริบทพื้นที่บนฐานเศรษฐกิจ BCG   มีจำนวน 9 โครงการ ที่ขอรับการพิจารณาคัดเลือก

1.การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมด้วยการพัฒนานางรำประจำถิ่น หัวหน้าโครงการ/สถาบัน ผศ.นันธิดา จันทร์ศิริ ม.วลัยลักษณ์
2.ศึกษาสภาพกรงเลี้ยงและอาหารที่เหมาะสมต่อการผสมพันธุ์และวางไข่ของตัวเต็มวัยแมลงวันลายและเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในภาคใต้ที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเพื่อเป็นอาหารสัตว์ หัวหน้าโครงการ/สถาบัน รศ.ดร.วิกันดา รัตนพันธ์ ม.อ. วข.สุราษฎร์ธานี
3. การประเมินศักยภาพการผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุเศษเหลือทางการเกษตรในพื้นที่ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  หัวหน้าโครงการ/สถาบัน ผศ.ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์  มรภ.สุราษฎร์ธานี
4. การพัฒนาระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติของเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับสวนทุเรียนด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง หัวหน้าโครงการ/สถาบัน ผศ.ดร.วีระยุทร สุดสมบูรณ์ มรภ.นครศรีธรรมราช
5. การพัฒนาเครื่องตัดหญ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบควบคุมผ่านแอฟพลิเคชั่นสมาร์ทโฟน หัวหน้าโครงการ/สถาบัน   ผศ.ดร.วีระยุทร สุดสมบูรณ์  มรภ.นครศรีธรรมราช
6. การพัฒนาศักยภาพและการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งงทะเลนครศรีธรรมราช   หัวหน้าโครงการ/สถาบันอาจารย์สุนทร บุญแก้ว ม.วลัยลักษณ์
7. การยกระดับศักยภาพทุเรียนเทศ ไร่ทรัพย์ทวี บนฐานเศรษฐกิจ BCG หัวหน้าโครงการ/สถาบัน นางสุธิกาญจน์  แก้วคงบุญ  มทร.ศรีวิชัย วข.นครศรีธรรมราช
8. การพัฒนากระบวนการแปรรูปและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์โกโก้ท่าศาลาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม บนฐานเศรษฐกิจชีวภาพ หัวหน้าโครงการ/สถาบัน ผศ.ปุญญาเพชร เดชเพชรธรักษ์มรภ.นครศรีธรรมราช
9. ศึกษาความเป็นไปได้ของการผลิตปุ๋ยจากกากตะกอนระบบผลิตก๊าซชีวภาพของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน หัวหน้าโครงการ/สถาบัน  ผศ.ดร.นิรัติศัย รักมาก  ม.วลัยลักษณ์
          และ Preliminary Research  ประเด็นการศึกษานำร่อง 3 ประเด็น มีจำนวน 4  ชุดโครงการ ที่ขอรับการพิจารณากลั่นกรอง

ชุดโครงการ ที่ 1   การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและสิ่งแวดล้อมชุมชนปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช หัวหน้าโครงการ/สถาบัน ว่าที่ร.ต.จาตุรนต์ ชุติธรพงษ์ มรภ.นครศรีธรรมราช
     โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนากิจกรรมและเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ชุมชนเมืองปากพูน อำเภอเมือง จังวัดนครศรีธรรมราช
     โครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาศักยภาพสภาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนปากพูน อำเภอเมือง จังวัดนครศรีธรรมราช
     โครงการย่อยที่ 3 การเสริมสร้างการมีส่วนร่าวมและการวัดการกระจายรายได้ด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนเปากพูน อำเภอเมือง จังวัดนครศรีธรรมราช       

ชุดโครงการ ที่ 2  การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการหมักเมล็ดโกโก้เพื่อให้ได้โกโก้และน้ำมันคุณภาพสูงตามความต้องการของผู้บริโภคเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน หัวหน้าโครงการ/สถาบัน  อาจารย์รพี พงษ์พานิช ม.อ.สงขลานครินทร์ วข. สุราษฎร์ธานี
     โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนากระบวนการหมักโดยใช้ Fermenter และการศึกษาองค์ประกอบทางเคมี-กายภาพของกระบวนการหมักเมล็ดโกโก้
     โครงการย่อยที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการหมักเมล็ดโกโก้เพื่อให้ได้โกโก้และน้ำมันคุณภาพสูงตามความต้องการของผู้บริโภคกระบวนการหมัก
     โครงการย่อยที่ 3 พัฒนากระบวนการนำโกโก้บัตเตอร์จากกระบวนการผลิตไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องสำอาง เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร  

ชุดโครงการ ที่ 3 การพัฒนาโรงงานต้นแบบผลิตน้ำมันปาล์มแดงธรรมชาติและการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม หัวหน้าโครงการ/สถาบัน  รศ.ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ  ภาคเอกชน: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน
     โครงการย่อยที่ 1 กระพัฒนาเทคโนโลยีการแยกส่วนสำหรับโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มแดงชุมชน
     โครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมูลค่าเพิ่มจากน้ำมันปาล์มแดงบริสุทธิ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดพริกไทยด้วยเทคโนโลยีไฟโตโซมบรรจุแคปซูลนิ่ม
     โครงการย่อยที่ 3 การพัฒนานิโอโชมกักเก็บน้ำมันปาล์มแดงบริสุทธิ์เพื่อประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ความงาม
     โครงการย่อยที่ 4 การจัดการของเสียจากกระบวนการแปรรูปน้ำมันปาล์มแดงธรรมชาติด้วยกรรมวิธีแบบแห้ง      

ชุดโครงการ ที่ 4 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำมันปาล์ม : กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดกระบี่  หัวหน้าโครงการ/สถาบัน  ผศ. ดร.วีระยุทธ สุดสมบูรณ์ มรภ.นครศรีธรรมราช ภาคเอกชน : บริษัท นามหงส์น้ำมันปาล์ม จำกัด
     โครงการย่อยที่ 1 การประเมินและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตน้ำมันปาล์ม ภายใต้กรอบแนวคิดแบบลีนซิกซ์ซิกม่า
     โครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มโดยใช้วิธีการออกแบบการทดลอง
     โครงการย่อยที่ 3 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม     

บัดนี้ ผลการพิจารณากลั่นกรองเป็นอันสิ้นสุดแล้ว ทางเครือข่ายจึงขอขอบคุณนักวิจัยสังกัดภาคใต้ตอนบน ทั้ง 12 แห่ง ที่ให้ความสนใจยื่นข้อเสนอดังกล่าว ไว้ ณ โอกาสนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://cas.wu.ac.th/archives/20758