Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ม.วลัยลักษณ์ ร่วมภาคีเครือข่ายจัดเสวนาทางวิชาการ เรื่องการปลูกสมุนไพรเชิงพาณิชย์และการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร

อัพเดท : 30/06/2566

592

ม.วลัยลักษณ์ โดยสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ร่วมภาคีเครือข่ายจัดเสวนาทางวิชาการ เรื่องการปลูกสมุนไพรเชิงพาณิชย์และการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร ภายในงานมหกรรมวิจัยส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 12 ประจำปี 2566 (Regional Research Expo 2023 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี กล่าวเปิดงาน โดยมีนักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษาและผู้สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ ห้อง 5301 อาคารเรียนรวม 5 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การบรรยายเรื่องการสร้างมุลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมสมุนไพร โดย คุณอัษฏาวุฒิ แสงนภาเพ็ญ กรรมการผู้จัดการบริษัท มัสเตอร์ โปร คอนซัลแท็นซ์ จำกัด การบรรยายเรื่อง การจัดการการปลูกสมุนไพรให้ได้มาตรฐานการผลิต โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ คุ้มชัย ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การบรรยายเรื่อง การแปรรูปวัตถุดิบและการเตรียมการสกัดสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.จักรพันธ์ จุลศรีไกรวัล หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การบรรยายเรื่อง กฎและระเบียบมาตรฐานต่างๆในการควบคุมผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดย เภสัชกรหญิง จิรารัตน์ เพิ่มภูศรี กลุ่มกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา การถ่ายทอดประสบการณ์ Best Practices ผู้ผลิตสมุนไพรที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ โดย นายมูฮำหมัดยูชุฟ บุญผล ชุมชนกลุ่มกระวาน ชุมชนบ้านเขาวัง วิสาหกิจรวมเกษตรแปรรูปสมุนไพรบ้านเขาวัง จ.นครศรีฯ การถ่ายทอดประสบการณ์ Best Practices Practices ผู้ผลิตสมุนไพรที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ โดย คุณเสาวลักษณ์ มณีทอง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรปลูกรัก จ.ตาก และการเสวนาวิชาการเรื่อง การพัฒนาสมุนไพรเชิงพาณิชย์ในทุกมิติ โดยคณะวิทยากร และ รองศาสตราจารย์ ดร.พจมาลย์ สุรนิลพงศ์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร เป็นผู้ดำเนินรายการ
     

ทั้งนี้ การปลูกสมุนไพรเชิงพาณิชย์และการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นอีกหนึ่งหัวข้อเสวนาทางวิชาการที่จัดขึ้นและมีความน่าสนใจ เนื่องจากสมุนไพรมีความสำคัญในระบบอุตสาหกรรมยา เวชสำอาง เครื่องดื่มและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีมูลค่าการตลาดสูงถึง 1 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังต้องพึ่งการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ เนี่องจากการผลิตภายในประเทศยังไม่ได้มาตรฐานปริมาณสารสำคัญในสมุนไพรที่ไม่สูงพอ เหตุด้วยกระบวนการปลูกและปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลอีกหลายประการ