Location

0 7567 3000

ผลงานและรางวัล

ทีม BAC-TECH ตัวแทนน.ศ.ม.วลัยลักษณ์ คว้ารางวัลชมเชย Research to Market ระดับประเทศ

อัพเดท : 05/02/2567

650

 

ทีม BAC-TECH นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประกอบด้วย นางสาวฮุสนา มะดอรอแม สาขานวัตกรรมยาและเครื่องสำอาง สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ นายสราวุฑ ราชเมืองฝาง สาขาเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ นายศุภชัย จันทร์คล้ายและนายกิตติพงศ์ เอื้อพัฒนพงศ์ สาขาการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ สำนักวิชาการจัดการ เจ้าของผลงานสเปรย์รักษาแผลเบาหวานจากสารสกัดแบคทริโอซิน คว้ารางวัลชมเชย โครงการ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market - R2M 11st)” ประจำปี 2566 ระดับประเทศ  โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 22 ทีม จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้าร่วม 

เวทีดังกล่าว ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการนักศึกษา WEDA สังกัดอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ ได้ส่งตัวแทนนักศึกษา 3 ทีมเข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 3 ทีม ได้แก่ ทีม Bactech ม.วลัยลักษณ์ จากสำนักวิชาเภสัชศาสตร์, สำนักวิชาสหเวชศาสตร์, สำนักวิชาการจัดการ ทีม Project sigma  ม.วลัยลักษณ์ จากสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี, สำนักวิชาเกษตรฯ และทีม Hevea  ม.วลัยลักษณ์ จากสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างวันที่ 2 – 4 กุมภาพันธ์ 2567 จัดขึ้น ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ผลปรากฏว่า ทีม BAC-TECH สามารถคว้ารางวัลชมเชยมาได้สำเร็จ

นางสาวฮุสนา มะดอรอแม หัวหน้าทีม BAC-TECH  กล่าวถึง  ผลงานสเปรย์รักษาแผลเบาหวานจากสารสกัดแบคทริโอซิน ว่า แบคเทอริโอซินหรือสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่ผลิตจากเชื้อแบคทีเรีย Brevibacillus laterosporus SA14 TISTR 2453 มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อทั้งแกรมบวกและแกรมลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อดื้อยา Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) ซึ่งเป็นสาเหตุการอักเสบบริเวณผิวหนัง 

โดยพบว่าสารดังกล่าวมีคุณสมบัติในการสมานแผลของเซลล์ผิวหนังใน 48 ชม. ไม่เป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติ อีกทั้งยังเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวบริเวณอักเสบ ส่งผลให้สามารถลดการอักเสบของแผลได้ดียิ่งขึ้น จึงถูกนำมา ประยุกต์ใช้เป็น active ingredient ของผลิตภัณฑ์นวัตกรรมBarrier Film Spray ที่มีลักษณะเป็นร่างแห ขนาดรูพรุนน้อยกว่า 0.2 ไมครอน 

ส่งผลให้ลดการติดเชื้อแบคทีเรียภายในอากาศ อีกทั้งยังเป็นพอลิเมอร์จากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง จึงเป็นผลให้สามารถรักษา แล และสมานแผลบริเวณผิวหนังที่เกิดการอักเสบได้เร็วขึ้น